หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันกันมากขึ้น การรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดขององค์กรให้คงอยู่ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการบริการที่ดีสามารถสร้างรายได้จากลูกค้าใหม่ และรักษาฐานลูกค้าเดิมได้ องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า นำไปสู่ความพึงพอใจในการใช้บริการ ดังนั้นการสร้างมาตรฐานและภาพลักษณ์ที่ดีของการให้บริการควรเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่องค์กรควรให้ความสำคัญ
การพัฒนาการให้บริการที่ดีมีองค์ประกอบที่ควรพิจารณาดังนี้
- ผู้รับบริการ - ผู้ให้บริการต้องให้ความสำคัญกับแนวคิดของความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าที่มาใช้บริการ เพื่อนำออกแบบ สร้างมาตรฐาน และเทคนิคการบริการให้เกิดความพึงพอใจ อันมีปัจจัยที่ควรคำนึงถึงดังนี้
- 1.ความสะดวกที่ได้รับจากการบริการ
- 2.การประสานงานของผู้ให้บริการ
- 3.กิริยามารยาทและความเอาใจใส่
- 4.ข้อมูลและข่าวสารในสินค้าและบริการ
- 5.คุณภาพของการบริการ
- 6.ค่าใช้จ่ายในสินค้าและบริการ
การผู้ให้บริการ – ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนเองเพื่อให้การบริการทุกครั้งเป็นที่พึงพอใจและเกิดความประทับใจ อันมีคุณสมบัติที่ควรพัฒนาดังนี้
- 1.ความรักในการให้บริการ
- 2.บุคลิกภาพและการแต่งกาย
- 3.มาตรฐานและเทคนิคในการให้บริการ
- 4.ความรู้ในผลิตภัณฑ์หรือบริการ
- 5.ความกระตือรือร้น
- 6.กิริยาวาจาสุภาพและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
- 7.ความคิดเชิงสร้างสรรค์
- 8.ทัศนคติเชิงบวกและความฉลาดทางอารมณ์
- สินค้าและบริการ – การให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ สินค้า สถานที่ การตกแต่ง ระบบอำนวยความสะดวกต่าง ๆ (จับต้องได้) เป็นพื้นฐานทั่วไปในการบริการ เนื่องจากทุกองค์กรสามารถทำได้ แต่การให้ความสำคัญกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น การเอาใจใส่ การช่วยแก้ปัญหา การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ การให้คำปรึกษา หรือความสนใจในรายละเอียดปลีกย่อย เป็นตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรได้อย่างแท้จริง (Key Competitive Indicator)
การบริการที่เป็นเลิศสามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ไม่ยาก โดยเริ่มต้นที่ใจของบุคลากรทุกคน บุคลากรต้องเห็นประโยชน์ของการบริการที่ส่งมอบให้กับลูกค้า และต้องตระหนักถึงความสำคัญของการบริการที่ดีเลิศ เสมือนหนึ่งว่าเราเป็นผู้รับบริการนั้นเอง (กฎแห่งความพึงพอใจของลูกค้า)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของการให้บริการที่ดีและมีคุณภาพ โดยเรียนรู้จาก “แบบทดสอบความต้องการรับบริการ”
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจจิตวิทยาบริการ หลักการความต้องการของลูกค้า และเทคนิคในการให้บริการสมัยใหม่ที่ได้ผล สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับงานบริการของตนเอง
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจระดับคุณภาพของการให้บริการด้วยการวิเคราะห์กรณีศึกษา และสามารถออกแบบระดับคุณภาพการให้บริการได้ด้วยตนเอง
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 การให้ความสำคัญกับการบริการที่เป็นเลิศModule - 2 กระบวนการพัฒนาการบริการที่เป็นเลิศ
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่ของสมองก่อนการเรียนรู้
- แบบทดสอบความต้องการรับบริการของคุณ
- ความหมายของจิตวิทยาบริการ
- แนวคิดสำคัญของ Service 1.0 – 2.0 – 3.0
- องค์ประกอบของการบริการสมัยใหม่
- Workshop I: การนิยามความหมายขององค์ประกอบการบริการ
Module - 3 มาตรฐานความต้องการและเทคนิคการบริการ
- ความตระหนักถึงความสำคัญของลูกค้า
- คำจำกัดความของลูกค้าในมุมมองอื่น ๆ
- กับดักทางความคิดเชิงลบปิดกั้นการบริการที่ดี
- ธรรมชาติของมนุษย์ (ความต้องการ) กับงานบริการ
- แนวความคิดที่ดีในการเพิ่มศักยภาพในการบริการ
- Workshop II: พัฒนาศักยภาพการบริการของตนเอง
Module - 4 แนวคิดของความคาดหวัง ความพึงพอใจ และความประทับใจ
- วงจรของระบบการสร้างบริการที่ดี
- ทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้า
- มาตรฐานและเทคนิคที่ได้ผลในการบริการสมัยใหม่
- บุคลิกภาพที่น่าชวนมองและไม่น่าชวนมอง
- ตัวอย่างความเอาใจใส่ตลอดการรับบริการ (เช่นระบบ Visual Control)
- Workshop III: การปรับปรุงระบบบริการขององค์กร
Module - 5 การพัฒนาตนเองเพื่อเป็นนักบริการที่เป็นเลิศ
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคาดหวังของลูกค้า
- การให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้า
- ความคาดหวังกับระดับคุณภาพของการให้บริการ
- วิวัฒนาการของลูกค้ากับการใช้บริการ
- วิเคราะห์กรณีศึกษาร่วมกัน (Case Study) - ระดับคุณภาพของการให้บริการ
- คุณสมบัติของผู้ให้บริการที่เป็นเลิศ
- ทัศนคติที่ดีและความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) กับการบริการ
- แนวคิด “Knowledge is not Understanding”
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)