หลักการและเหตุผล
นวัตกรรม (Innovation) คือ “สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจจะมีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ หรือกระบวนการใหม่ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม (เครดิตข้อมูล: วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 33 ฉบับที่ 128 ตุลาคม-ธันวาคม 2553) – ถ้าจะกล่าวในระดับองค์กร ความหมายของนวัตกรรมข้างต้น มีประเด็นของการสร้างความแตกต่าง (Differentiation) การตอบโจทย์ความต้องการ (Needs) และปัญหาขององค์กรนั่นเอง (Pain Point)
การสร้างนวัตกรรมในองค์กร อาจเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลให้กับพนักงาน เนื่องจากมองว่าเป็นเรื่องการใช้เทคโนโลยีหรือต้องประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ แต่ในความเป็นจริง การสร้างนวัตกรรมไม่ใช่เรื่องซับซ้อนและน่ากังกวลจนเกินไป เนื่องจากเป็นการคิดแก้ปัญหาในกระบวนการทำงานที่เป็นอยู่ (Pain Point) หรือการคิดแก้ปัญหาในสิ่งที่ยังไม่ตอบสนองความต้องการหน่วยงาน (Needs) โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคิดถึงในสิ่งที่แตกต่าง (Differentiation) ที่ทำให้ประสบความสำเร็จ เนื่องจากวิธีการเดิมไม่สามารถแก้ปัญหาได้นั่นเอง
การสร้างนวัตกรรมสามารถทำได้ในระดับบุคคลและหน่วยงาน ในระดับบุคคล มีขั้นตอนการสร้างอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การกำหนดงานในความรับผิดชอบ (What) และวิเคราะห์ว่ากระบวนการทำงานอย่างไร (How) เพื่อกำหนดว่าควรมีงานใดบ้างต้องนำปรับปรุง หลังจากนั้นจึงใช้ทักษะ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ สร้างทางเลือกหรือนวัตกรรมใหม่เพื่อแก้ปัญหา (Which) และนำนวัตกรรมใหม่ไปใช้และประเมินผลอย่างเป็นระบบ (Implement) - ในระดับหน่วยงานสามารถใช้เทคนิคการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) มาช่วยสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ภายในองค์กร ซึ่งมีแนวคิดเหมือนกันในเรื่องสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการและปัญหาขององค์กร (Needs & Paint Point) เช่นเดียวกัน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและองค์ประกอบของนวัตกรรรม (Innovation) และมีแนวคิด (Mindset) ที่ถูกต้องต่อการสร้างนวัตกรรม
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการคิดและสร้างนวัตกรรมในระดับบุคคล สามารถนำงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่มาสร้างนวัตกรรมใหม่ได้
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการคิดและสร้างนวัตกรรมในระดับหน่วยงานหรือองค์กร โดยการใช้เทคนิคการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา (Case Study)
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานการคิดเพื่อการสร้างนวัตกรรม
Module - 2 การค้นหาปัญหาในกระบวนการเพื่อสร้างนวัตกรรม
- กิจกรรมตัวต่ออเนกประสงค์ (ก่อนฝึกอบรม)
- เหตุผลสำคัญที่สนับสนุนให้เกิดการคิด
- การทำงานของสมองซีกซ้ายและซีกขวา
- แบบทดสอบการคิดเพื่อสร้างนวัตกรรม
- Growth Mindset ของการคิดเพื่อสร้างนวัตกรรม
- แนวคิดของการสร้างนวัตกรรมด้วย Design Thinking
Module - 3 กระบวนการคิดและสร้างนวัตกรรมระดับบุคคล
- ความหมายของนวัตกรรม (What is Innovation?)
ความแตกต่าง (Differentiation)
ตอบโจทย์ความต้องการ (Needs)
ตอบโจทย์ปัญหา (Pain Point)- องค์ประกอบของนวัตกรรม
- แนวทางค้นหาปัญหาเพื่อนำมาสร้างนวัตกรรม
- Activity I: ค้นหาปัญหาเพื่อนำมาสร้างนวัตกรรม
Module - 4 กระบวนการคิดและสร้างนวัตกรรมระดับหน่วยงาน
- ขั้นตอนการสร้างนวัตกรรม
กำหนดงานในความรับผิดชอบ (What)
วิเคราะห์งานที่จำเป็นต้องสร้างนวัตกรรม (How)
การสร้างและประเมินทางเลือก (Which)
การนำนวัตกรรมไปใช้และประเมินผล (Implement)- ตัวอย่างเรียนรู้: การสร้างนวัตกรรมในการทำงาน
- การใช้ตัววัดผลมากำหนดในนวัตกรรม
- Activity II: สร้างนวัตกรรมในการทำงาน
- เทคนิคสร้างนวัตกรรมด้วย Design Thinking
การทำความเข้าใจปัญหา (Empathize)
การกำหนดขอบเขตของปัญหา (Define)
การระดมความคิด (Ideate)
ลงมือทำแบบจำลองความคิด (Prototype)
ทดลองใช้จริง (Test)- กรณีศึกษา: การใช้ Design Thinking ของบาบีคิวพลาซ่าสร้าง HR Innovation
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)