หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีการแข่งขันกันรุนแรง ผู้บริหารต้องบริหารธุรกิจให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) เพื่อนำพาให้องค์กรอยู่รอดและได้รับชัยชนะ การสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันให้เหนือกว่าคู่แข่ง นับว่ามีความจำเป็นอย่างมากในทุกยุคทุกสมัยของการดำเนินธุรกิจ การได้มาซึ่งข้อได้เปรียบดังกล่าวต้องเกิดจากความสามารถในการบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Performance Management) อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบโจทย์การแข่งขันในปัจจุบัน
การบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Performance Management) เป็นกระบวนการที่ทำอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลการปฏิบัติงานระดับองค์กรได้รับการถ่ายโอนสู่การปฏิบัติงานระดับหน่วยงานหรือทีมงาน จนถึงระดับตัวบุคคล โดยมีกระบวนการทบทวนผลการปฏิบัติงานในทุกระดับ เพื่อมั่นใจว่าผลการปฏิบัติงานมีความสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาองค์กร และนำไปสู่การเป็นองค์กรในอนาคต โดยการดำเนินการใช้การวัดผลงานในทุกระดับเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา (Learning and Development) ทั้งนี้การบริหารผลการปฏิบัติงานมีความเชื่อมโยงกับระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาความก้าวหน้าในงาน การจ่ายค่าตอบแทน การให้การยกย่อง การให้รางวัลทั้งในระดับบุคคลและทีมงาน เพื่อให้บุคลากรคงความสามารถและความผูกพันต่อองค์กร (เครดิตข้อมูล : การบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ เครื่องมือพัฒนาองค์กร - ศ.ดร.จิรประภา อัครบวร)
กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ ต้องผ่านการวิเคราะห์ให้เกิดความเชื่อมโยง สอดคล้อง และสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง ในทุกระดับตั้งแต่องค์กร หน่วยงาน และบุคคล (Alignment & Cascading) โดยมีกระบวนการหลัก ดังนี้
- การพัฒนากลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy)
- การตั้งเป้าหมายและกำหนดตัววัดผล
- การถ่ายทอดกลยุทธ์และเป้าหมายด้วยตัววัดผล
- การสร้างและพัฒนาระบบสมรรถนะบุคลากร
- การบริหารผลการปฏิบัติงานกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจภาพรวมของกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management Process)
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการออกแบบตัววัดผล (KPIs) ในระดับองค์กร หน่วยงาน และบุคคล
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการกำหนดสมรรถนะหลัก สมรรถนะตามตำแหน่งงาน และสมรรถนะบริหาร (Core, Functional and Managerial Competency) ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการเชื่อมโยงการบริหารผลการปฏิบัติงานกับระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 กระบวนการพัฒนากลยุทธ์และออกแบบตัววัดผล
Module - 2 การสร้างและพัฒนาระบบสมรรถนะบุคลากร
- กระบวนการพัฒนากลยุทธ์และออกแบบตัววัดผลภายใต้ PM Model
- การทำความชัดเจนในวิสัยทัศน์ (Vision Clarification)
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในภายนอก (SWOT Analysis)
- การพัฒนากลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy)
- แนวทางการสร้างตัวผลการปฏิบัติงาน
จากวัตถุประสงค์หลักและปัจจัยวิกฤติ (Objective & CSF)
จากระบบการวัดผลองค์กรแบบสมดุล (BSC)- เทคนิคการถ่ายทอดกลยุทธ์ด้วยตัววัดผล
KPI ระดับองค์กร (Corporate Level)
KPI ระดับหน่วยงาน (Dept./Team Level)
KPI ระดับบุคคล (Individual Level)- ลักษณะของตัววัดผลการปฏิบัติงานที่ดี
- เทคนิคการตั้งค่าเป้าหมายของตัววัดผล
- ตัวอย่าง: การบันทึกตัววัดผลด้วย “KPI Cascading Template” (Excel Form)
Module - 3 การบริหารผลการปฏิบัติงานกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- สมรรถนะหลัก (Core Competency)
- สมรรถนะตามตำแหน่งงาน (Functional Competency)
- สมรรถนะทางการบริหาร (Managerial Competency)
- แนวทางการประเมินสมรรถนะด้วยความถี่ของการแสดงพฤติกรรม (Frequency Level : FL)
- แนวทางการประเมินสมรรถนะด้วยระดับความชำนาญ (Proficiency Level : PL)
- การเขียนความหมายของสมรรถนะแบบ FL และระบุพฤติกรรมที่คาดหวัง
- การเขียนความหมายของสมรรถนะแบบ PL และรายละเอียดพฤติกรรมที่คาดหวัง
- การปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน (Performance Improvement)
- การพัฒนาความก้าวหน้าในงาน (Career Management)
- การจ่ายค่าตอบแทน (Total Rewards)
- การให้การยกย่อง (Recognition)
Module - 4 การบรรยาย 60% และ Workshop 40%
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)