หลักการและเหตุผล
ธุรกิจจะประสบความสำเร็จต้องอาศัยบุคลากรภายในองค์กรเป็นแรงขับเคลื่อน บุคลากรที่ทำงานร่วมกันต้องมีความเชื่อ ความคิด พฤติกรรม และอุปนิสัยที่สอดคล้องกันจึงจะทำงานร่วมกันได้ดี หรือเรียกว่ามีค่านิยมที่คล้ายคลึงกัน องค์กรทุกองค์กรมีค่านิยมหลัก (Core Values) ที่อยากให้บุคลากรทุกคนนำไปปฏิบัติอย่างชัดเจน เนื่องจากค่านิยมหลักที่กำหนดหรือสร้างสรรค์ขึ้นล้วนมีผลต่อคุณภาพของการปฏิบัติงานในทุกระดับ ถ้าทุกคนในองค์กรแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมหลักขององค์กร ย่อมส่งผลเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) และจะเป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการทำงานภายในองค์กรนั้น ๆ
ค่านิยม (Values) คือ “สิ่งที่มีคุณค่าแล้วบุคคลยอมรับไว้เป็นความเชื่อหรือรับไว้เป็นความรู้สึกนึกคิดของตนเอง และส่งผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรม” ดังนั้นแต่ละคนจะมีค่านิยมแตกต่างกัน แต่การทำงานร่วมกันภายในองค์กรหนึ่ง ๆ จำเป็นต้องมีค่านิยมหลัก (Core Values) เหมือนกัน เพื่อนำไปสู่การแสดงออกทางพฤติกกรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร และบุคลากรที่มีค่านิยมส่วนตนสอดคล้องกับค่านิยมหลักองค์กร มีแนวโน้มทำงานได้ดี มีความเครียดน้อย และมีความสุขในการทำงาน ส่วนบุคลากรที่มีค่านิยมไม่สอดคล้องจำเป็นต้องมีกระบวนการปรับเปลี่ยนค่านิยมอย่างต่อเนื่อง
ค่านิยมองค์กร (Core Value) เป็นเสมือนกรอบความคิดอย่างหนึ่ง (Mindset) ที่พนักงานต้องพัฒนาตนเองไปสู่ค่านิยมดังกล่าวให้ได้ เพื่อจะได้ทำงานอย่างมีความสุขและร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ในการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จขององค์กร ดังนั้นพนักงานต้องพยายามละทิ้งความเชื่อเดิมว่าตนเองไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หรือมีกรอบความคิดแบบตายตัว (Fixed Mindset) ไปสู่ความเชื่อใหม่ว่าตนเองสามารถพัฒนาได้ หรือมีกรอบความคิดแบบพัฒนาได้ (Growth Mindset)
กรอบความคิดแบบพัฒนาได้ (Growth Mindset) เน้นการเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาความสามารถให้เก่งขึ้น (Learning) และมาพร้อมกับการมีมุมมองที่ถูกต้องต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ (Point of View) ซึ่งทั้งสองอย่างจะนำไปสู่ผลลัพธ์คือการกระทำที่ถูกต้องของการพัฒนาตนเอง (Right Action) - โดยหลักการแล้วการกระทำซ้ำ ๆ จะนำไปสู่การสร้างนิสัย ดังนั้นความเป็นเลิศจึงไม่ได้อยู่ที่การกระทำ แต่ความเป็นเลิศอยู่ที่การมีนิสัยที่ดีหรือมีค่านิยมที่ดีนั่นเอง - หรืออาจกล่าวได้ว่า Growth Mindset ต้องการการกระทำที่ถูกต้องและสอดคล้องกับค่านิยม จนบ่มเพาะเป็นนิสัยที่ดี (Core Value)
การปรับค่านิยมส่วนตนให้สอดคล้องกับค่านิยมหลักขององค์กร จำเป็นต้องใช้กระบวนการปรับเปลี่ยนแนวคิดและการกระทำที่มีความต่อเนื่อง (Growth Mindset Process) เพื่อให้บุคลากรเรียนรู้และค่อย ๆ ซึมซับค่านิยมหลักที่องค์กรต้องการให้มี ซึ่งกระบวนการดังกล่าวมีขั้นตอนดังนี้
- เรียนรู้ค่านิยมและความสำคัญของค่านิยมหลักองค์กร (Core Values)
- สำรวจค่านิยมส่วนตน (Personal Values)
- ตรวจสอบความสอดคล้องค่านิยมส่วนตนกับค่านิยมหลัก
- การพัฒนาค่านิยมส่วนตนให้สอดคล้องค่านิยมหลัก
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกรอบความคิดแบบตายตัว (Fixed Mindset) และกรอบความคิดแบบพัฒนาได้ (Growth Mindset) ด้วยการเรียนรู้จากตัวอย่าง
- เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของค่านิยมองค์กร และสามารถแสดงพฤติกรรมในหน้าที่ให้สอดคล้องกับค่านิยมองค์กร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจองค์ประกอบและขั้นตอนของการสร้างค่านิยมองค์กร
- เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงพฤติกรรมที่จำเป็นของ Growth Mindset เพื่อบรรลุเป้าหมายองค์กร
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานของการพัฒนาตนเอง (Growth Mindset)
Module - 2 พื้นฐานของการพัฒนาตนเอง (Potential)
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- สำรวจ Mindset ของการพัฒนาตนเอง
- Mindset กับกระบวนการโค้ชตนเอง
- ตัวอย่างประกอบการเรียนรู้ Fixed Mindset
- ตัวอย่างประกอบการเรียนรู้ Growth Mindset
- ความหมายของ Fixed Mindset & Growth Mindset
Module - 3 การพัฒนาค่านิยมองค์กรด้วย Growth Mindset
- ศักยภาพกับการพัฒนาตนเอง
แนวคิด “คนเป็นจุดศูนย์กลางของวงกลมที่ไม่มีเส้นรอบวง”- ความเชื่อที่เป็นข้อจำกัด (Limiting Beliefs)
- Workshop I: ทบทวนศักยภาพของตนเอง
Module - 4 พฤติกรรมที่จำเป็นของ Growth Mindset เพื่อบรรลุเป้าหมายองค์กร
- ความสำคัญของค่านิยมองค์กร (Core Value)
- ทบทวนค่านิยมขององค์กร
- การเชื่อมค่านิยมส่วนตนกับค่านิยมองค์กร
- Workshop II: การแสดงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมองค์กร
- องค์ประกอบ 3 ประการของการสร้างค่านิยมองค์กร
- 6 ขั้นตอนการสร้างค่านิยมองค์กร
- Workshop III: ออกแบบแนวทางการรณรงค์ค่านิยมองค์กร
Module - 5 การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องแบบ Growth Mindset
- การกำหนดเป้าหมาย (Target)
- ความมีวินัย (Discipline)
- ความพยายาม (Effort)
- การฝึกฝนนำไปสู่ความเป็นเลิศ (Practice)
- 6 ขั้นตอนของการตั้งเป้าหมายแบบ Growth Mindset
- เป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนา Growth Mindset
- แนวคิด “Knowledge is not Understanding”
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)