รายละเอียดการติดต่อเรา

รายละเอียดการติดต่อ

เทคนิคการควบคุมคุณภาพในการทำงาน
(Quality Control Techniques in Operation)

Download Course Content 

หลักการและเหตุผล

องค์การจะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง “คุณภาพ” ในสินค้าและบริการ ต้องมีกลยุทธ์หรือวิธีการในการพัฒนาบุคลากร มีขั้นตอนในการแก้ไขปัญหา การปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้บุคลการต้องเข้าใจ “แนวคิดและหลักการควบคุมคุณภาพ” (Quality Control Principle) และที่สำคัญต้องมีจิตสำนึกการเพิ่มผลผลิตและการควบคุมคุณภาพ ผ่านการเรียนรู้ด้วยการยกระดับจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ (Ownership Quotient) เพื่อนำไปสู่การลดต้นทุนภายในกระบวนการของผลิตภัณฑ์

ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) สามารถนำมาใช้ได้ผลทั้งในส่วนของการควบคุมคุณภาพ, การปรับปรุงคุณภาพ และการเพิ่มผลผลิตให้กับองค์การ หนึ่งในความรู้ทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการคือ 7 เครื่องมือควบคุมคุณภาพ (7 QC Tools) และเครื่องมืออื่น ๆ ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการควบคุมและปรับปรุงคุณภาพภายในกระบวนการ ผลิตภาพตลอดกระบวนการผลิต (Productivity) สามารถเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม “ถ้าบุคลากรเข้าใจวัตถุประสงค์การใช้งานของแต่ละเครื่องมือ” และสามารถเชื่อมโยงการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมกับ “ปัญหาคุณภาพ” ภายในกระบวนการผลิต

เครื่องมือและเทคนิคควบคุมคุณภาพ มีดังนี้

  • แผ่นตรวจสอบ (Check Sheet)
  • แผนภูมิกราฟ (Graph)
  • แผนผังพาเรโต (Pareto Diagram)
  • แผนผังสาเหตุและผล (Cause & Effect Diagram
  • เทคนิคการทำไคเซ็นระดับบุคคล
  • การควบคุมคุณภาพด้วยกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC
  • หลักการแก้ปัญหาโดยอาศัยข้อเท็จจริง (3G)
  • การควบคุมคุณภาพด้วยเทคนิค ECRS
  • การควบคุมคุณภาพด้วยระบบ Poka Yoke

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและแนวคิดของคุณภาพ
  • เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกความเป็นเจ้าของกับการควบคุมคุณภาพ
  • เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องมือและเทคนิคของการควบคุมคุณภาพได้จริงในงานของตนเอง โดยการฝึกทำกิจกรรมของแต่ละเครื่องมือภายในชั้นเรียน

รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร

Module - 1 พื้นฐานเทคนิคการควบคุมคุณภาพในการทำงาน
  • กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
  • แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
  • กรณีศึกษา: ความตระหนักในการควบคุมคุณภาพ
  • จิตสำนึกความเป็นเจ้าของกับการควบคุมคุณภาพ
Module - 2 ความหมายและแนวความคิดของคุณภาพ
  • ความหมายของคุณภาพและคุณภาพตามมิติต่าง ๆ
  • ความหมายของการควบคุมคุณภาพ
  • แนวความคิดของการควบคุมคุณภาพ
  • หลักการของการควบคุมคุณภาพ
  • ความหมายและประเภทของปัญหา (Sporadic & Chronic Problem)
Module - 3 เครื่องมือและเทคนิคของการควบคุมคุณภาพ
  • แผ่นตรวจสอบ (Check Sheet)
  • Activity I: กิจกรรมฝึกออกแบบแผ่นตรวจสอบ
  • แผนภูมิกราฟ (Graph)
  • Activity II: กิจกรรมฝึกสร้างแผนภูมิกราฟประเภทต่างๆ
  • แผนผังพาเรโต (Pareto Diagram)
  • Activity III: การประยุกต์ใช้แผนผังพาเรโต
  • แผนผังสาเหตุและผล (Cause & Effect Diagram)
  • ข้อกำหนด 10 ประการของการวิเคราะห์รากสาเหตุ
  • ประเภทของแผนผังสาเหตุและผล

       การวิเคราะห์การกระจาย (Dispersion Analysis)
       การจำแนกตามกระบวนการผลิต (Process Classification)
       การกำหนดรายการสาเหตุ (Cause Enumeration)

  • Activity IV: การประยุกต์ใช้ร่วมกันของ 4 เครื่องมือ
  • เทคนิคการทำไคเซ็นระดับบุคคล
  • การควบคุมคุณภาพด้วยกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC
  • หลักการแก้ปัญหาโดยอาศัยข้อเท็จจริง (3G)
  • การควบคุมคุณภาพด้วยเทคนิค ECRS
  • การควบคุมคุณภาพด้วยระบบ Poka Yoke
  • Activity V: กิจกรรมทบทวนระบบ Poka Yoke

เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)

 sale@bananatraining.com, bananatraining11@gmail.com

 080-626-9565

ฟอร์มติดต่อ

Engine by shopup.com