หลักการและเหตุผล
ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งขององค์กรในปัจจุบันคือ บุคลากรขาดทักษะการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจที่ดีและถูกต้อง หรืออาจมองปัญหาได้ไม่รอบด้าน ทำให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพต่ำลง ตลอดจนขาดหลักการของวิธีคิดต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้การแก้ปัญหาแบบองค์รวมได้ผล โดยที่กล่าวมาย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและการพัฒนาตนเอง ทำให้ผลผลิตโดยรวมขององค์กรลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการพัฒนาทักษะการคิดให้กับบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะความคิดแบบองค์รวม หรืออาจเรียกอีกอย่างว่าเป็น “วิธีคิดแบบองค์รวม” (Holistic Thinking)
การคิดแบบองค์รวม (Holistic Thinking) เป็นวิธีการมองเชิงภาพรวม (Big Picture) ของเป้าหมาย ปัญหา หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยตระหนักถึงองค์ประกอบ (Element) ย่อยที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งในแง่องค์ประกอบที่ทำให้เป้าหมายสำเร็จ หรือในแง่สาเหตุต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหา ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจบางอย่าง เป็นการมองรอบด้านให้ได้ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ให้ครบถ้วนมากที่สุด เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือทำให้เป้าหมายสำเร็จ โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่
หลักการสำคัญ 6 ประการของการคิดแบบองค์รวม เป็นหลักการหรือ Principle ของการพัฒนาทักษะการคิดแบบองค์รวม (Holistic Thinking) และในแต่ละหลักการยังมีเทคนิคและเครื่องมือที่สนับสนุน โดยหลักการสำคัญ 6 ประการประกอบด้วย
- การกำหนดปัญหา (สาเหตุ) ให้ชัดเจน
- การเลือกวิธีแก้ปัญหาด้วยการวิเคราะห์ Possibility & Result
- การพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อเป้าหมาย
- การป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้น
- ประสบการณ์เรียนรู้ของผู้แก้ปัญหา
- ความสามารถในการจัดระบบของผู้แก้ปัญหา
ประโยชน์ที่เกิดขึ้นของการพัฒนาทักษะการคิดแบบองค์รวมมีดังนี้
- ส่งเสริมให้บุคลากรคิดวิธีแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน “เลือกใช้ปัจจัยที่มีผลลัพธ์สูงสุด” ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ เกิดความคิดรอบด้านในการแก้ปัญหา ไม่ด่วนตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยแนวทางใดทางหนึ่ง อันอาจส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นตามมาในภายหลัง โดยใช้เทคนิคการบรูณาการความคิด (Integration Technique) ด้วยตารางการแก้ปัญหาและตัดสินใจ (PSDM Table)
- ส่งเสริมให้บุคลากรเกิด “การเรียนรู้เพื่อการยกระดับ (Goal Setting Learning)” กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางความคิด ซึ่งส่งผลให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น อันมีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กร
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของ “ความคิดแบบองค์รวม” อย่างถูกต้อง (Holistic Thinking) โดยเรียนรู้ผ่านหลักการสำคัญ 6 ประการ ของการคิดแบบองค์รวม
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และมองปัญหาอย่างรอบด้าน และมีกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking) ด้วยการใช้ตารางการแก้ปัญหาและตัดสินใจ (PSDM Table)
- เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงการเรียนรู้แบบองค์รวม 3 ประเภท และใช้การแก้ปัญหากระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางความคิดแบบ “การเรียนรู้เพื่อการยกระดับ (Goal Setting Learning)
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานความคิดแบบองค์รวม (Holistic Thinking)
Module - 2 หลักการสำคัญ 6 ประการของการคิดแบบองค์รวม
- ความหมายของความคิดแบบองค์รวม
- หลักการสำคัญ 6 ประการของการคิดแบบองค์รวม
- ตัวอย่าง : การมองปัญหาและการพัฒนาวิธีแก้ปัญหา
- Holistic Thinking & Systematic Thinking
- การฝึกมองแบบองค์รวมด้วยการเชื่อมโยงคำถาม
- การพัฒนาวิธีแก้ปัญหาแบบเป็นขั้นตอน (Systematic Thinking)
- Activity I: ตัดสินใจและวางแผนอย่างไรดี?
Module - 3 การพัฒนาประสบการณ์เรียนรู้แบบองค์รวม
- การกำหนดปัญหา (สาเหตุ) ให้ชัดเจน
- การเลือกวิธีแก้ปัญหาด้วยการวิเคราะห์ Possibility & Result
- การพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อเป้าหมาย
- การป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้น
- ประสบการณ์เรียนรู้ของผู้แก้ปัญหา
- ความสามารถในการจัดระบบของผู้แก้ปัญหา
Module - 4 เครื่องมือแก้ปัญหาที่ช่วยจัดระบบการคิดแบบองค์รวม
- Activity II: แบบทดสอบการจัดระบบของผู้แก้ปัญหา
- ไม่มีการเรียนรู้ (No Learning)
- การเรียนรู้เพื่อการปรับตัว (Adaptive Learning)
- การเรียนรู้เพื่อการยกระดับ (Goal Setting Learning)
- การตั้งคำถามเพื่อพัฒนาการเรียนรู้แบบยกระดับ (Coaching Question)
- Activity III: การพัฒนาความคิดแบบองค์รวมกับตนเอง
Module - 5 การพัฒนาความคิดแบบองค์รวมอย่างยั่งยืน
- วิธีคิดที่สนับสนุนการคิดแบบองค์รวม
- ตัวอย่าง : เครื่องมือแก้ปัญหาแบบองค์รวม
- เทคนิคการบรูณาการความคิด (Integration Technique)
- การประยุกต์ใช้ตารางการแก้ปัญหาและตัดสินใจ (PSDM Table)
- Activity IV: การแก้ปัญหาด้วยความคิดแบบองค์รวม (ปัญหาผู้เรียน)
- แนวคิดการเรียนรู้ทำให้เกิดการเรียนรู้ในหลายมิติ
- องค์ประกอบ 3H 1D &1T สู่การคิดแบบองค์รวม
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)