หลักการและเหตุผล
องค์การจะประสบความสำเร็จได้ต้องเกิดจากบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่องค์การปัจจุบันควรกระทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้นำระดับต้นและระดับกลางเปรียบได้กับ “หัวหน้างาน” ที่มีความใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ดังนั้นถ้าหัวหน้างานมีทักษะหรือความสามารถในการบริหารปกครองลูกน้องเพิ่มขึ้น จะส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงานของทีมงาน
หัวหน้างานที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่ ซึ่งมาจากพนักงานระดับปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญในงานสูง ส่วนใหญ่มักไม่มีการเตรียมตัวมาก่อน เมื่อขึ้นมาดำรงหัวหน้างานใหม่ มักจะประสบปัญหาการวางตัวและปัญหาการดูแล ปกครอง บริหารลูกน้อง ส่งผลต่อการทำงานในมิติของหลักเกณฑ์ หรือหลักปฏิบัติของหัวหน้างานบกพร่อง ผลลัพธ์ที่ตามมาอีกคือ กระทบต่อผลการปฏิบัติงานโดยรวม และความสูญเสียกำลังใจและความมั่นใจของหัวหน้างานใหม่ ถ้าปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขจะเกิดการสูญเสียบุคลากร ดังคำกล่าวว่า “เราตัดสินใจเลื่อนตำแหน่งให้ แทนที่จะเพิ่มผลงานให้องค์กร กลับได้หัวหน้างานแย่ ๆ ขึ้นมา 1 คน และสูญเสียพนักงานปฏิบัติการดี ๆ 1 คน”
จากแนวคิดข้างต้น หัวหน้างานจึงมีความสำคัญต่อองค์กรมาก เพราะเป็นผู้นำนโยบายจากฝ่ายบริหารไปสู่การปฏิบัติให้สำเร็จ การคัดเลือกพนักงานขึ้นมาดำรงตำแหน่งหัวหน้างาน จึงควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะรับบทบาทและหน้าที่ใหม่ ซึ่งความสามารถหรือทักษะที่ควรเตรียมและพัฒนาให้เกิดขึ้น ได้แก่
- ทักษะในการแก้ปัญหา (ความชำนาญในงาน)
- ทักษะในการสอนงานหรือพัฒนาผู้อื่น
- ทักษะในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน
- ทักษะในการสร้างกลุ่มทำงานที่มีประสิทธิผล
- ทักษะในการสื่อสารสร้างพลังงานเชิงบวก
- ทักษะในการวางแผนและมอบหมายงาน
- ทักษะในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของตำแหน่งหัวหน้างาน ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความสำเร็จขององค์กร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจบทบาทและความรับผิดชอบของหัวหน้างาน และเรียนรู้พฤติกรรมที่มีผลต่อการสร้างความน่าเชื่อถือในตัวหัวหน้างาน (กรณีศึกษา)
- เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักการ ทักษะ และคุณลักษณะสำคัญของการนำผู้อื่นในฐานะหัวหน้างาน
- เพื่อให้ผู้เรียนมีหลักการและแนวทางในการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ โดยเรียนรู้จาก 4 - Dimensional Leadership Development Model (4 มิติของการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ)
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานการเตรียมความพร้อมก่อนก้าวสู่หัวหน้างาน
Module - 2 การพัฒนาความสามารถในการนำตนเองก่อนนำผู้อื่น
- การเปลี่ยนบทบาทจากลูกน้องไปสู่หัวหน้า
- หัวหน้าแบบ “ตำแหน่ง” กับหัวหน้าแบบ “ผู้นำ
- “ความน่าเชื่อถือ” หรือ “ความศรัทธา” กุญแจของผู้นำ
- หลักการสำคัญ 2 ประการของการสร้าง “ความน่าเชื่อถือ”
- ความหมายของภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership)
- 4 - Dimensional Leadership Development Model
Module - 3 ทักษะที่จำเป็นของตำแหน่งหัวหน้างานระดับต้น
- ความสามารถในการนำตนเอง (Leading yourself)
- ข้อคิด 5 ประการของการสร้างความเชื่อมั่น
- ตัวอย่างเรียนรู้ของความสามารถในการนำตนเอง
- ตัวอย่างพฤติกรรมที่ทำลาย “ความน่าเชื่อถือ” ของผู้นำ
- Workshop I: การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ
- บทสรุปของการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ
Module - 4 กฎเหล็กแห่งการพัฒนาทักษะของหัวหน้างาน
- กรอบของการพัฒนาทักษะของหัวหน้างาน
- กรณีศึกษา: ความสำคัญของการพัฒนาทักษะหัวหน้างาน
- ทักษะในการแก้ปัญหา (ความชำนาญในงาน)
- ทักษะในการสอนงานหรือพัฒนาผู้อื่น
- ทักษะในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานทุกระดับ
- ทักษะในการสร้างกลุ่มทำงานที่มีประสิทธิผล
- ทักษะในการสื่อสารสร้างพลังงานเชิงบวก
- ทักษะในการวางแผนและมอบหมายงาน
- ทักษะในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- Workshop II-III: การพัฒนาทักษะของหัวหน้างานระดับต้น
Module - 5 การพัฒนาทักษะของหัวหน้างานอย่างยั่งยืน
- กฎแห่งการสะสม (The Law of Process)
- กฎแห่งการฝึกฝน (The Law of Practice)
- เรียนรู้ธรรมชาติของการพัฒนาภาวะผู้นำ
- เป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนาภาวะผู้นำ
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)