หลักการและเหตุผล
องค์กรในปัจจุบันต้องการให้พนักงานมีจิตสำนึกรักองค์กร ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องปกติทั่วไปของแนวคิดดังกล่าวนี้ เพราะว่าถ้าปลูกจิตสำนึกรักองค์กรให้กับพนักงานได้นั่นย่อมหมายความว่า องค์กรนั้น ๆ มีโอกาสเติบโตได้อย่างยั่งยืน ภายในองค์กรมีความสามัคคีปรองดองกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และพนักงานรู้สึกว่าองค์กรเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเขา เปรียบเสมือนเป็นบ้านหลังที่สองของตนเอง ซึ่งต้องดูแลถนอมบ้านหลังนี้
การปลูกจิตสำนึกรักองค์กรคงไม่สามารถทำได้แค่เพียงออกนโยบาย หรือเป็นคำสั่งของหัวหน้าแล้วให้พนักงานปฏิบัติตาม แต่สิ่งดังกล่าวต้องเกิดขึ้นจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยปัจจัยภายในนั้นเกิดจากการสร้าง “ความรักในงาน” ที่ทำอยู่ ซึ่งความรักในงานเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้พนักงานทุ่มเทแรงกายแรงใจทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ซึ่งแรงจูงใจดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้พนักงานต้องมีทัศนคติถูกต้องต่องาน มองเห็นคุณค่าของงาน และที่สำคัญคือทัศนคติต่อตนเอง
การมองเห็นคุณค่าในงานที่ทำและตระหนักในคุณค่าของตนเอง จะก่อให้เกิดการใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ส่งผลดีต่อตนเองโดยตรง พร้อมกันนี้จะต้องมองเห็นว่างานที่ทำอยู่เป็นโอกาสแห่งการพัฒนาตนเองในทุก ๆ ด้านของชีวิต มิใช่แค่เพียงการพัฒนาด้านทักษะ (Skill) ในการทำงานเท่านั้น อันได้แก่ การพัฒนามนุษยสัมพันธ์, การเสียสละ และความอดทน เป็นต้น ซึ่งเป็นการพัฒนาทางด้านการยกระดับจิตใจ (Mind) อีกด้วย
การปลูกจิตสำนึกรักองค์กรต้องสร้างปัจจัยภายนอกให้เกิดขึ้น พนักงานจะมีความรักและความผูกพันกับองค์กรเพราะการได้มีส่วนร่วม มีส่วนได้รับผิดชอบ หรือการรู้สึกว่ามีส่วนได้เป็นเจ้าของ (Ownership Quotient) นั่นเอง ความรู้สึกนี้ต้องสร้างผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่พนักงานต้องมีส่วนร่วมในการคิดและการตัดสินใจ ต้องรู้สึกว่าตนเองก็เป็นคนสำคัญคนหนึ่งเช่นกัน เป็นต้น ดังนั้นผลลัพธ์จากการสร้างเหตุปัจจัยภายในและภายนอกคือ “ความรักในองค์กร” จะเกิดขึ้นอัตโนมัติโดยไม่ต้องมีใครบังคับ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนมีแนวคิดที่ถูกต้องต่อการปลูกจิตสำนึกรักองค์กรของตนเอง สามารถบ่มเพาะจิตสำนึกรักองค์กรผ่านการมองเห็นคุณค่าในงาน การเพิ่มศักยภาพตนเอง และยกระดับจิตใจ
- เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจจิตสำนึกรักองค์กร ผ่านการกิจกรรมการทำงานเป็นทีม (Teamwork Activity) และสรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีจิตสำนึกรักองค์กรมากขึ้น ผ่านการเรียนรู้บนพื้นฐานของคำว่า “Personal Accountability” และทัศนคติเชิงบวก 360 องศา
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานความเข้าใจในการปลูกจิตสำนึกรักองค์กรModule - 2 กระบวนการพัฒนาการปลูกจิตสำนึกรักองค์กร
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่ของสมองก่อนการเรียนรู้
- สำรวจแนวความคิดทางด้านจิตสำนึกรักองค์กร
- ความหมายของจิตสำนึก & องค์กร
- ความหมายของจิตสำนึกรักองค์กร
- “Personal Accountability” ระดับจริยธรรมที่สูงขึ้น
- ปัจจัยที่สำคัญของการปลูกจิตสำนึกรักองค์กร
ปัจจัยภายใน (คุณค่าของงาน, เพิ่มศักยภาพ พัฒนาจิตใจ และ OQ)
ปัจจัยภายนอก (ความรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ)- คำสำคัญ (Keywords) เพื่อการพัฒนาตนเองให้มีจิตสำนึกรักองค์กร
- Workshop I: เขียนสิ่งที่คุณอยากพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
Module - 3 การเรียนรู้จิตสำนึกรักองค์กรผ่าน Teamwork Activity
- กับดักทางความคิดสกัดกั้นจิตสำนึกรักองค์กร
- แนวคิดที่ดีเพื่อเอาชนะกับดักทางความคิด
- Workshop II: กระบวนการพัฒนาจิตสำนึกรักองค์กร
Module - 4 การเปลี่ยนแปลงตนเองไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น
- ทักษะสำคัญของการปลูกจิตสำนึกรักองค์กร
- Activity I: คุณว่าทำงานแบบไหนเร็วกว่ากัน
- สรุปข้อคิดของ Activity I
- Activity II: ความสำเร็จขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคน
- สรุปข้อคิดของ Activity II
- Activity III: การนิยามการทำงานเป็นทีม
- การวิเคราะห์คุณสมบัติบุคลากรของทีม
- บทสรุปของทีมมหัศจรรย์
- จิตสำนึกรักองค์กรกับทัศนคติเชิงบวก 360 องศา
- แนวคิด “Knowledge is not Understanding”
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยทฤษฎี “ICEBERG”
- การให้ความสำคัญกับคำว่า “ปัจจุบัน”
- คำถามสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่การปลูกจิตสำนึกรักองค์กร
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)