หลักการและเหตุผล
มนุษย์ทุกคนบนโลกล้วนมีเวลาเท่ากันคือ 24 ชั่วโมงต่อวัน ทุก ๆ คนต้องการประสบความสำเร็จในจุดที่ตนเองคาดหวัง จึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่ต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่นำไปสู่การบรรลุความสำเร็จ บางครั้งหลาย ๆ คนยุ่งมาก มีกิจกรรมทำทั้งวัน แต่กลับไม่ค่อยมีผลงานตามที่ต้องการ หมดเวลาไปกับกิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ผลงาน หรือเรียกได้อีกอย่างว่าเกิดความไม่มีประสิทธิภาพขึ้น ทั้งในมิติการตอบสนองความต้องการขององค์กรและตนเองได้อย่างมีประสิทธิผล
เวลาคือ ชีวิต ความสำเร็จของชีวิตจึงเกี่ยวข้องกับเวลาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คนที่มุ่งหาความสำเร็จต้องมีความสามารถในการบริหารเวลา โดยเริ่มต้นที่เป้าหมายที่ต้องการบรรลุความสำเร็จ แล้วทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายนั้น และอยู่บนหลักการพิจารณา “จัดลำดับและความเร่งด่วน” ว่าอะไรที่คุ้มค่ากับการลงมือทำ โดยการทบทวนเสมอว่า “ทำไม” เราจึงทำสิ่งเหล่านั้น งานนี้มีความสำคัญหรือไม่ มันมีความจำเป็นหรือไม่ มีความเร่งด่วนหรือไม่ ถ้าไม่ทำสิ่งนั้นเลยจะเกิดความเสียหายอะไรหรือเปล่า
เราอยากบรรลุความสำเร็จในทุกกิจกรรม (เป้าหมาย) แต่ในความจริงเรามีเวลาไม่พอ ดังนั้นการสร้างรายการความคิด (Mental Inventory) และแยกเป็น “สิ่งที่ทำอยู่ สิ่งที่ควรทำ และสิ่งที่อยากทำ” จึงเป็นขั้นแรกของการควบคุมการใช้เวลาก่อนการพิจารณาจัดลำดับและความเร่งด่วน ว่าอะไรเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงมือทำ และตามมาด้วยการใช้เครื่องมือการบริหารเวลาต่าง ๆ โดยในท้ายที่สุดการลงมือบริหารเวลาให้เกิดประสิทธิภาพต้องอยู่บนพฤติกรรมที่ดี ได้แก่ ความมีวินัย ความฉลาดทางอารมณ์ การลงมือทำทันที และการเปลี่ยนแปลงตนเอง
การบริหารเวลาด้วยวิธีบันทึกแบบบูโจ (The Bullet Journal Method) เป็นเครื่องมือการบริหารเวลารูปแบบหนึ่ง ที่มีประสิทธิภาพและช่วยให้งานต่าง ๆ สำเร็จ โดยมีขั้นตอนการสร้างดังนี้
- 1.สร้างหน้าดัชนี
- 2.สร้างบันทึกอนาคต
- 3.สร้างบันทึกประจำเดือน
- 4.สร้างบันทึกประจำวัน
- 5.ทบทวนรายการความคิด
- 6.ย้ายข้อมูลจากรายการความคิด
- 7.สร้างคอลเล็กชั่นพิเศษ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักและมีความคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารเวลา
- เพื่อให้ผู้เรียนสำรวจพฤติกรรมการใช้เวลาในชีวิตประจำวันของตนเอง
- เพื่อให้ผู้เรียนกระบวนการและเทคนิคในการบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพ
- เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักเครื่องมือการบริหารเวลาด้วยวิธีบันทึกแบบบูโจ (The Bullet Journal Method)
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 ความสำคัญของชีวิตกับการบริหารเวลา
Module - 2 กระบวนการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- กรณีศึกษา: ความสำคัญของการบริหารเวลา
- ข้อคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารเวลา
- ข้อแตกต่างของบุคคล 2 ประเภทที่ต้องบริหารเวลา
- ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารเวลา
- สำรวจพฤติกรรมของการใช้เวลาในชีวิตประจำวัน
Module - 3 การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการบริหารเวลา
- องค์ประกอบพื้นฐาน 7 ประการของการบริหารเวลา
- แนวคิดการกำหนดงานสำคัญและเร่งด่วน
- ประสิทธิภาพของการใช้สมองกับ Time Duration
- เครื่องมือพื้นฐานของการบริหารเวลา
- Workshop I: สร้างแนวทางการบริหารเวลาของตัวคุณเอง
Module - 4 การบริหารเวลาด้วยวิธีบันทึกแบบบูโจ (The Bullet Journal Method)
- การบริหารจัดการกับสิ่งที่ทำให้เสียเวลา
- เทคนิคในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
- ไอเดียการตั้งเป้าหมาย 5 4 3 2 1
- การทบทวนตนเอง (Reflection) 2 รูปแบบ
- การพัฒนานิสัยที่ส่งเสริมการใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพ
- Workshop II: การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเวลา
Module - 5 การพัฒนาทักษะการบริหารเวลาอย่างยั่งยืน
- วิธีการสร้าง Bullet Journal
สร้างหน้าดัชนี
สร้างบันทึกอนาคต
สร้างบันทึกประจำเดือน
สร้างบันทึกประจำวัน
ทบทวนรายการความคิด
ย้ายข้อมูลจากรายการความคิด
สร้างคอลเล็กชั่นพิเศษ- ประเภทของรายการที่บันทึก
สิ่งที่ต้องทำ – งาน (Task)
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น – เหตุการณ์ (Event)
ข้อมูลที่ต้องจดไว้กันลืม – โน้ต (Note)- ประโยชน์ของการบริหารเวลาด้วยวิธีบันทึกแบบบูโจ
- แนวคิด “Knowledge is not Understanding”
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)