หลักการและเหตุผล
การพัฒนาบุคลากรในองค์กรมีหลายวิธี การฝึกอบรม (Training) เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่ช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาบุคลากร ทำให้บุคลากรมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น และทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ ตลอดจนสามารถใช้การฝึกอบรมกับการพัฒนาทักษะด้านอ่อน (Soft Skill or Soft Side) ให้กับบุคลากรในองค์กร เช่น ทัศนคติ ความฉลาดทางอารมณ์ หรือภาวะความเป็นผู้นำ เป็นต้น เพื่อสร้างและปรับแนวคิด ไปสู่การเปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรมในการทำงาน และการร่วมกันทำงานเป็นทีมอย่างมีความสุขได้
วิทยากรภายในองค์กรและ/หรือหัวหน้าตามสายปฏิบัติงานที่ต้องรับผิดชอบฝึกอบรมพนักงานให้มีประสิทธิภาพ ควรมีการวางแผนและเตรียมการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Training) มีความสามารถในการนำเสนอหรือถ่ายทอดอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีคุณสมบัติที่ดีในการเป็นวิทยากร และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของวิทยากร หรือเรียกว่ามี “Mindset of Trainer” ที่ถูกต้องต่อวิชาชีพวิทยากรฝึกอบรม
การวางแผนและเตรียมการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพควรใช้หลักการ 6P ดังนี้
- P1: Purpose การกำหนดวัตถุประสงค์ฝึกอบรม
- P2: People คำถามสำหรับการวิเคราะห์ผู้ฟัง
- P3: Period เนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับเวลา
- P4: Point เนื้อหาสาระที่ต้องการนำเสนอ
- P5: Provide สอนอย่างไรจึงเหมาะสมและดีที่สุด
- P6: Progress การประเมินผลของการฝึกอบรม
การพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากร (Train The Trainer) ให้กับบุคลากรในหน่วยงานเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้การฝึกอบรมบรรลุเป้าหมายของการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ การฝึกอบรมจะไม่น่าเบื่อ สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้จริง เพียงแต่วิทยากรผู้ฝึกอบรมต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในหลักการ 6P และให้ความสำคัญกับการฝึกฝนการถ่ายทอด (Delivery Skill) สม่ำเสมอ ซึ่งประโยชน์ที่เกิดขึ้นล้วนตกอยู่กับองค์กร และนำไปสู่การพัฒนาองค์กรได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้บุคลากรมีพื้นฐานแนวคิดที่ถูกต้องของการเป็นวิทยากรฝึกอบรม
- เพื่อให้บุคลากรเข้าใจหลักการ 6P ของการฝึกอบรม และสามารถสร้างวิธีการที่เหมาะสมในการฝึกอบรมในหลักสูตรของตนเองได้
- เพื่อให้บุคลากรได้ออกแบบและฝึกการสร้างหลักสูตรด้วยตนเอง และจำลองเหตุการณ์สำหรับการฝึกปฏิบัติจริงในห้องเรียน พร้อมกับร่วมกันเป็นกรรมการติชมการฝึกปฏิบัติ
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
การพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรมืออาชีพ Day I
Module - 1 พื้นฐานที่ถูกต้องของการเป็นวิทยากรมืออาชีพModule - 2 การพัฒนาทักษะการจัดวางเนื้อหาอย่างมีระบบ
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่ของสมองก่อนการเรียนรู้
- Mindset of Trainer ในความคิดของคุณ
- ความหมายและบทบาทของวิทยากร
- องค์ประกอบของการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ
- ความหมายของการนำเสนออย่างมืออาชีพ
- Workshop I: กิจกรรมอุ่นเครื่องวิทยากร
- หลักการ 6P สำหรับการเตรียมแผนการสอน
Purpose การกำหนดวัตถุประสงค์การฝึกอบรม
People คำถามสำหรับการวิเคราะห์ผู้ฟัง
Period เนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับเวลา
Point เนื้อหาสาระที่ต้องการนำเสนอ
Provide สอนอย่างไรจึงเหมาะสมและดีที่สุด
Progress การประเมินผลของการฝึกอบรมModule - 3 เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพของการฝึกอบรม
- โครงสร้างของการฝึกอบรมแบบมืออาชีพ
- แนวคิด “ทฤษฎีช้าง” กับเทคนิคการวางเนื้อหาสาระ
- องค์ประกอบของการนำเสนอในแต่ละช่วง
- เทคนิคการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ (Provide)
- เทคนิคการฝึกอบรมแบบจุดศูนย์กลางการเรียนรู้ (วิทยากร/ผู้เรียน/อุปกรณ์)
- ตัวอย่างการเตรียมแผนการสอนด้วย “แบบฟอร์มโครงสร้างแผนการสอน”
- Workshop II: การเตรียมแผนการสอน
Module - 4 เตรียมสไลด์และโครงสร้างแผนการสอนของ Workshop II (การบ้าน)
- Slide ประเภทต่าง ๆ และการประยุกต์ใช้
- การประยุกต์ใช้ Slide ประเภทแผนภาพ
- การเตรียมสื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
- 7 อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการนำเสนอ
- ปัจจัยส่งเสริมความน่าเชื่อถือของผู้นำเสนอ
การใช้น้ำเสียงสำหรับการนำเสนอ
อำนาจของภาษากายมีผลต่อการนำเสนอ
ภาษากายที่ควรหลีกเลี่ยงของนักนำเสนอ- การพัฒนาสู่วิทยากรมืออาชีพด้วยแนวคิด Content / Delivery Skill / Attitude
- เทคนิคการจัดการความประหม่าและความเครียด
- แนวทางในการจัดการข้อซักถาม
การพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรมืออาชีพ Day II
Module - 5 การฝึกปฏิบัติการเป็นวิทยากร
**********ส่งโครงสร้างแผนการสอนและไฟล์นำเสนอ
- กำหนดกรอบในการควบคุมเวลา
- กำหนดมาตรฐานการประเมินผลการฝึกปฏิบัติการ (แบบฟอร์มการประเมินการสอน)
- Activity I: การฝึกปฏิบัติการเป็นวิทยากร
- การประเมินผลการฝึกปฏิบัติการเป็นวิทยากรโดยผู้เรียน
- การประเมินผลการฝึกปฏิบัติการเป็นวิทยากรโดยอาจารย์
- แชร์ความรู้สึกร่วมกัน
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)