หลักการและเหตุผล
การวิเคราะห์ปัญหาด้วย 5 Why Technique & 3G คือ “การวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นต้นเหตุที่แท้จริง (Root Cause) ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบหรือปรากฏการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น (Effect) ด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน โดยไม่เกิดสภาพการณ์ตกหล่นและซ้ำซ้อน และไม่จินตนาการเอง ด้วยการใช้หลักการของความจริง 3 ประการ” ดังนั้น 5 Why Technique & 3G เปรียบเสมือนการมองเห็น “ผลกระทบ” และ “สาเหตุ” ในบางประเด็น แต่ยังไม่ด่วนสรุปทันทีว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่พยายามค้นหาข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและสอดคล้องเพื่อค้นหาว่า “สาเหตุที่แท้จริงคืออะไร”
กระบวนการวิเคราะห์ปัญหาของสมองและพฤติกรรมแก้ปัญหาส่วนบุคคล (Individual Problem Solving) มีผลต่อการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา การปรับกระบวนทัศน์และค่านิยมของการแก้ปัญหาใหม่ ส่งผลกระทบต่อแนวทางแก้ปัญหาอย่างมาก โดยเฉพาะความเข้าใจถึงหลักการสำคัญของ 5 Why Technique ในมิติของ “สาเหตุและผลกระทบ” (Cause & Effect), “ความมีเหตุผล” (Reasonableness) และ “ความเป็นของเทียม” (Artificial Root) อย่างถูกต้อง ย่อมส่งผลถึงประสิทธิภาพการแก้ปัญหาโดยตรง
เทคนิคที่มีส่วนสำคัญและนิยมใช้อย่างมาก เพื่อประกอบการวิเคราะห์ปัญหาคือ “การพิสูจน์ความจริงด้วยหลักการ 3G” ซึ่งพัฒนามาเพื่อป้องกันการกำหนดมาตรการแก้ปัญหาที่ไม่สมเหตุผล และเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของ 5 Why Technique จึงมีข้อกำหนด 7 ประการ ประกอบการวิเคราะห์ปัญหา ดังนี้
- ข้อกำหนดที่ 1: ความชัดเจนกับปัญหา (Specification) และไม่เป็นนามธรรม
- ข้อกำหนดที่ 2: การวิเคราะห์ต้องดูพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง (3G)
- ข้อกำหนดที่ 3: ต้องระวังรากสาเหตุเทียมหรือไม่สมเหตุสมผล
- ข้อกำหนดที่ 4: ต้องพิจารณาปัญหา (สาเหตุ) ให้รอบด้าน
- ข้อกำหนดที่ 5: หลีกเลี่ยงสาเหตุจากสภาพจิตใจ (Emotional Cause)
- ข้อกำหนดที่ 6: รากสาเหตุทต้องนำมากำหนดเป็นมาตรการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำ
- ข้อกำหนดที่ 7: ไม่นิยมนำมาตรการแก้ปัญหามากำหนดเป็นรากสาเหตุ
- ข้อกำหนดที่ 8: ต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ด้วย MECE Technique
- ข้อกำหนดที่ 9: พิจารณาว่าสาเหตุใดควรเป็นรากสาเหตุสุดท้าย
- ข้อกำหนดที่ 10: คำนึงถึงเป้าหมายสำคัญของการวิเคราะห์
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการแก้ปัญหาด้วย 5 Why & 3G Technique โดยเรียนรู้จากโมเดลการวิเคราะห์ปัญหา (Root Cause Analysis Model)
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ปัญหาและสามารถระบุรากสาเหตุได้อย่างถูกต้อง ด้วยข้อกำหนด 10 ประการของการวิเคราะห์รากสาเหตุ
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานและแนวคิดการวิเคราะห์ปัญหาModule - 2 การปรับกระบวมทัศน์ใหม่ต่อการแก้ปัญหา
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- กรณีศึกษา: เรียนรู้จิตสำนึกการลดต้นทุน
Module - 3 ข้อกำหนด 10 ประการของการวิเคราะห์ปัญหาด้วย 5 Why Technique
- ค่านิยมของการแก้ปัญหาที่หน้างานของญี่ปุ่น (Genba)
- กระบวนการทำงานของสมองและพฤติกรรมแก้ปัญหา
- ตัวอย่าง: ความผิดพลาดของการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ 5 Why Technique
- ความหมายของการแก้ปัญหาแบบ 5 Why Technique
- หัวใจสำคัญของการวิเคราะห์ด้วย 5 Why Technique
ความสัมพันธ์ของสาเหตุกับผลกระทบ (Cause & Effect)
ความมีเหตุผล (Reasonableness)Module - 4 การพิสูจน์รากของสาเหตุด้วยหลัก 3G
- ข้อกำหนดที่ 1: ความชัดเจนกับปัญหา (Specification) และไม่เป็นนามธรรม
- ข้อกำหนดที่ 2: การวิเคราะห์ต้องดูพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง (3G)
- ข้อกำหนดที่ 3: ต้องระวังรากสาเหตุเทียมหรือไม่สมเหตุสมผล
- ข้อกำหนดที่ 4: ต้องพิจารณาปัญหา (สาเหตุ) ให้รอบด้าน
- ข้อกำหนดที่ 5: หลีกเลี่ยงสาเหตุจากสภาพจิตใจ (Emotional Cause)
- ข้อกำหนดที่ 6: รากสาเหตุทต้องนำมากำหนดเป็นมาตรการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำ
- ข้อกำหนดที่ 7: ไม่นิยมนำมาตรการแก้ปัญหามากำหนดเป็นรากสาเหตุ
- ข้อกำหนดที่ 8: ต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ด้วย MECE Technique
- ข้อกำหนดที่ 9: พิจารณาว่าสาเหตุใดควรเป็นรากสาเหตุสุดท้าย
- ข้อกำหนดที่ 10: คำนึงถึงเป้าหมายสำคัญของการวิเคราะห์
- Activity I: การวิเคราะห์ 5 Why ปัญหาของผู้เรียน
Module - 5 เครื่องมือกำหนดวิธีการแก้ปัญหาหลังการทำ 5 Why
- ความจำเป็นของหลักการ 3G ในการแก้ปัญหา
- เทคนิคการพิสูจน์ด้วยหลัก 3 จริง (Genba, Genbutsu & Genjitsu)
- แผนผังต้นไม้ประเภท How – How Diagram
- Activity II: การกำหนดวิธีแก้ปัญหาหลังการทำ Activity I
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)