หลักการและเหตุผล
องค์การจะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง “คุณภาพ” ในผลิตภัณฑ์สูงขึ้น ต้องมีกลยุทธ์หรือวิธีการในการพัฒนาบุคลากร ต้องมีขั้นตอนการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างเป็นรูปธรรม หรือมีลักษณะของการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic Problem Solving) ซึ่งทั้งหมดมีวัตถุประสงค์เพื่อ “ลดต้นทุนและปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์” โดยแนวทางที่นิยมใช้มากในอุตสาหกรรมคือ “การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วยวงจร PDCA” หรือที่เราคุ้นเคยในชื่อ “วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle)”
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วยวงจร PDCA เป็นกระบวนการของการเชื่อมต่อกิจกรรม ที่คำนึงถึง “สิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิมเสมอ” ด้วยการใช้กิจกรรมแก้ปัญหาเพื่อปรับปรุงคุณภาพ (Improvement Activity) มาเป็นตัวขับเคลื่อนวงจร และวงจร PDCA ยังเป็นส่วนหนึ่งของแนวความคิดของการบริหารงานสมัยใหม่ ที่มีวัตถุประสงค์ให้แต่ละแผนกปฏิบัติงานด้วย “มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standardization)” ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การปฏิบัติงานมีความเป็นระบบ (System) มากขึ้น ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาคุณภาพขึ้นในกระบวนการ การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาจึงสามารถใช้รูปแบบ วิธีการ หรือขั้นตอนแก้ปัญหาที่มีความเหมือนกันกับบริบทของปัญหาที่เปลี่ยนไป
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วยวงจร PDCA มีองค์ประกอบและขั้นตอนดังนี้
- Plan (การวางแผน) มีรายละเอียดดังนี้
1.การนิยามปัญหา – เพื่อการเลือกปัญหาและระบุปัญหาให้ชัดเจน
2.การวิเคราะห์ปัญหาและตั้งเป้าหมาย – เพื่อกำหนดขอบเขตและตั้งเป้าหมายของการแก้ปัญหา
3.การวิเคราะห์สาเหตุ – เพื่อค้นหารากสาเหตุที่แท้จริง (Root Cause Analysis)
4.กำหนดมาตรการแก้ไข – เพื่อค้นหาแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุด- Do (การลงมือปฏิบัติ) – 5.การนำมาตรการแก้ไขไปใช้
- Check (การตรวจสอบ) – 6.การตรวจสอบเพื่อยืนยันผลลัพธ์
- ACT (การปฏิบัติการแก้ไข) – 7.การป้องกันการเกิดซ้ำของปัญหาด้วยการปรับมาตรฐาน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของการลดต้นทุนและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในมิติของวงจร PDCA
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วยวงจร PDCA ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานสมัยใหม่
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้วงจร PDCA กับเครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ โดยเรียนรู้จากการแก้ปัญหาจริงของผู้เรียน
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานการควบคุมคุณภาพและปรับปรุงคุณภาพModule - 2 เครื่องมือและเทคนิคของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- แนวคิดของการบริหารงานสมัยใหม่
Management = Standardization + Improvement Activity
หลักการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (PDCA)
หลักการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic Problem Solving)- ความหมายของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- ความหมายและประเภทของปัญหา (Sporadic & Chronic Problem)
ปัญหาคุณภาพในมิติของความบกพร่อง (Defect)
ปัญหาคุณภาพในมิติของความไม่ตรงตามข้อกำหนด (NC-Nonconformity)- การควบคุมคุณภาพของกระบวนการด้วยวงจร SDCA
- การปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการด้วยวงจร PDCA
- ความสัมพันธ์ของวงจร SDCA และวงจร PDCA
- Activity I: ค้นหาปัญหาเรื้อรัง (Chronic Problem) ในกระบวนการ
Module - 3 ขั้นตอนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของวงจร PDCA
- เครื่องมือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ (QC Tools)
- เทคนิคแก้ปัญหา 5 Why, How-How, 3G & Brainstorming
- มาตรการแก้ปัญหาคุณภาพและปรับปรุงกระบวนการ
การทำให้ถูกต้อง (Correction)
การปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action : C/A)
การปฏิบัติการป้องกัน (Preventive Action : P/A)
- Plan (การวางแผน)
1.การนิยามปัญหา
2.การวิเคราะห์ปัญหาและตั้งเป้าหมาย
3.การวิเคราะห์สาเหตุ
4.กำหนดมาตรการแก้ไข- Do (การลงมือปฏิบัติ) – 5.การนำมาตรการแก้ไขไปใช้
- Check (การตรวจสอบ) – 6.การตรวจสอบเพื่อยืนยันผลลัพธ์
- ACT (การปฏิบัติการแก้ไข) – 7.การป้องกันการเกิดซ้ำของปัญหาด้วยการปรับมาตรฐาน
- ความสัมพันธ์ของวงจร PDCA กับกระบวนการ QC Story
- Activity II-III: การปรับปรุงคุณภาพด้วยวงจร PDCA
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)