หลักการและเหตุผล
ธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงขึ้นทั้งในส่วนของการบริการและการผลิต ดังนั้นคำว่า “คุณภาพ” (Quality) ในสินค้าและบริการ จึงเป็นสิ่งที่องค์กรไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ มีข้อเท็จจริงว่า “การปฏิบัติงานของพนักงานทุกระดับในองค์กรมีผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์” ดังนั้นการฝึกอบรมให้พนักงานมีความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามมาตรฐานปฏิบัติงาน หรือ Work Instruction จึงเป็นสิ่งองค์กรควรให้ความใส่ใจอย่างยิ่ง นอกจากนี้แล้วการฝึกอบรมในงาน On The Job Training ยังมีส่วนช่วยในการลดความสูญเสีย (Wastes) ที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตได้อีกด้วย
การฝึกอบรมในงานหรือการฝึกงานในหน้าที่ (On The Job Training) มีขอบเขตที่ควรทำดังนี้
- การมอบหมายงานให้กับพนักงานใหม่ที่เข้ามาร่วมงานกับองค์กร
- พนักงานปัจจุบัน (เก่า) ที่มีการปรับไปสู่ตำแหน่งใหม่
- การพัฒนาพนักงานเมื่อพิจารณาแล้วว่ามีความบกพร่องในงาน
- เป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่สามารถบรรลุได้
- พนักงานขาดความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
- ความรับผิดชอบและลักษณะงานแตกต่างไปจากเดิม (ตำแหน่งเดิม)
- องค์กรต้องพัฒนาคนให้เก่งขึ้นและลดต้นทุนความสูญเปล่า (Waste or Muda)
- มีเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาในองค์กร
การฝึกอบรมในงาน On The Job Training ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดเรียกว่า “การสอนแบบสาธิตและปฏิบัติ” (Demonstration and Performance) การสอนลักษณะนี้มีแนวทางก่อให้เกิดความรู้ (Knowledge), ความเข้าใจ (Understand), ทักษะความชำนาญ (Skill) และทัศนคติที่ดี (Attitude) หรือที่เรียกว่าเป็นการสอนให้เกิด KUSA ได้ชัดเจนที่สุด ซึ่งมีองค์ประกอบของการสอนดังนี้
- การอธิบาย (Explanation)
- การสาธิต (Demonstration)
- ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของพี่เลี้ยง (Mentor)
- การประเมินผลในการปฏิบัติงาน (Evaluation)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของการฝึกอบรมในงานหรือการฝึกงานในหน้าที่ (OJT - On The Job Training) ว่ามีผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และมีส่วนช่วยลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตได้
- เพื่อให้ผู้เรียนมีขั้นตอน เครื่องมือ และรูปแบบ (Format) ที่จำเป็นต่อการฝึกอบรมในงาน ผ่านการฝึกฝนทำกิจกรรมในชั้นเรียน และสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรม
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการสอนงานแบบ “การสอนแบบสาธิตและปฏิบัติ” (Demonstration and Performance) ที่มีผลครอบคลุม Knowledge, Understand, Skill and Attitude (KUSA)
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานของการพัฒนาบุคลากรในองค์กรModule - 2 การพัฒนาการฝึกอบรมในงานอย่างเป็นรูปธรรม
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่ของสมองก่อนการเรียนรู้
- แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- จิตสำนึกความเป็นเจ้าของกับการสอนงาน (Ownership Quotient)
- กรณีศึกษา: คุณภาพการปฏิบัติงานกับการสอนงาน
- แนวคิดของการฝึกอบรมภายในอุตสาหกรรม (TWI)
- องค์ประกอบของการฝึกอบรมภายในอุตสาหกรรม
การสอนงาน (On The Job Training)
วิธีการทำงาน (JM – Job Method)
ความสัมพันธ์ในงาน (Job Relations)
การพัฒนาโครงการ (Program Development)- ภาวะผู้นำของหัวหน้างานกับการสอนงาน
- ความหมายและวัตถุประสงค์ของการสอนงาน
- การฝึกอบรมในงานกับมาตรฐาน ISO 9001
- ลักษณะงานที่เหมาะสมกับการฝึกอบรมในงาน
Module - 3 การพัฒนาการฝึกอบรมในงานอย่างยั่งยืน
- ขั้นตอนของการพัฒนาการฝึกอบรมในงาน
สำรวจความเกี่ยวข้องของการฝึกอบรมในงาน
จัดทำรายการความรู้ (Knowledge) และทักษะ (Skill)
การวัดผลและประเมินผลเชิงรูปธรรม (Measurement & Evaluation)
กำหนดโปรแกรมการฝึกอบรมในงาน
การจัดทำคู่มือการฝึกอบรมในงาน (เอกสารระเบียบปฏิบัติงาน / SOP / WI / Work Manual)
การจัดทำระบบรายงานของพนักงาน- ตัวอย่างเอกสารประกอบการฝึกอบรมในงาน
- การทำ OJT ด้วยการสอนแบบสาธิตและปฏิบัติ (Demonstration & Performance)
การอธิบาย (Explanation)
การสาธิต (Demonstration)
ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของพี่เลี้ยง (Mentor)
การประเมินผลในการปฏิบัติงาน (Evaluation)- หลักปฏิบัติของการสอนงานของ On The Job Training
การแตกงานทั้งกระบวนการเป็นองค์ประกอบย่อย
บ่งชี้จุดสำคัญและเหตุผลของจุดสำคัญ
แสดงให้เห็นขณะอธิบายในแต่ละองค์ประกอบย่อย
ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติและให้คำชี้แนะตลอดกระบวนการActivity I: แสดงบทบาทสอนงานและเขียน WI (Work Instruction)
- แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- คุณสมบัติของผู้ฝึกสอนงานที่ดี
- แนวคิด “Knowledge is not Understanding”
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)