หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันธุรกิจแข่งขันกันมากขึ้น และต้นทุนในการดำเนินธุรกิจมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มราคาสินค้าคงไม่ใช่แนวคิดที่ดีของการรักษาส่วนแบ่งกำไรให้คงอยู่ระดับเดิม องค์กรควรมีแนวคิดของการปรับปรุงการทำงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในแง่ของ “การลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิต และการกำจัดความสูญเสีย (ความสูญเปล่า) ต่าง ๆ ในการทำงาน” ดังนั้นการสร้างและการบริหารกิจกรรม 5ส ให้เกิดผลในเชิงปฏิบัติ จึงเป็นพื้นฐานที่องค์กรควรให้ความสำคัญ
หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการบริหารกิจกรรม 5ส คือ การตรวจประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งก่อนการตรวจประเมิน องค์กรควรให้ความสำคัญกับความเข้าใจ 5ส อย่างถูกต้องของผู้ตรวจประเมิน และสร้างความตระหนักถึงเป้าหมายที่แท้จริงของการทำ 5ส ให้เกิดกับผู้ปฏิบัติงานทุกคน นอกจากนี้แล้วการกำหนดคุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจประเมินเป็นสิ่งที่จำเป็น อันมีผลสืบเนื่องต่อการเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเองในฐานะผู้ตรวจประเมิน
การตรวจประเมินอย่างเป็นระบบเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ในมิติของศิลป์เน้นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ถูกประเมิน การเขียนข้อเสนอแนะการปรับปรุงเชิงบวก เพื่อสร้างความรู้สึกดีกับการมีส่วนร่วมการปรับปรุงพื้นที่ปฏิบัติงานของผู้ถูกประเมิน ส่วนในมิติของศาสตร์นั้นการตรวจประเมินต้องมีเครื่องมือและเทคนิคดังนี้
- เทคนิคการตรวจประเมิน ส แต่ละตัว
- แบบฟอร์มการตรวจประเมินผลการดำเนินงาน 5ส
- หลักเกณฑ์การตรวจประเมินและการให้คะแนน
- มาตรฐานการตรวจสอบของโรงงานและสำนักงาน
- ระบบควบคุมด้วยสายตา (Visual Control) กับกิจกรรม 5ส
- เทคนิคและขั้นตอนการปรับปรุงพื้นที่ (5ส) ด้วยภาพถ่าย (VFP : Visual Feedback Photography)
Roadmap 4 ขั้นตอนสู่การตรวจประเมินเชิงประสิทธิภาพ เป็นวงจรการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Kaizen & PDCA) ต้องมีการวางแผน (Plan) ต้องลงมือปฏิบัติ (Do) ต้องมีระบบการตรวจสอบและประเมินผล (Check) และการติดตามผลและสร้างมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง (Act)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงเป้าหมายที่แท้จริงของกิจกรรม 5ส และเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจประเมินอันมีผลต่อการดำเนินกิจกรรม 5ส ให้ประสบความสำเร็จ
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผนการตรวจอย่างเป็นระบบ มีเทคนิคและหลักเกณฑ์การตรวจประเมิน ส แต่ละตัว การให้คะแนน การสร้างมาตรฐาน การปรับปรุงพื้นที่ด้วยเทคนิคภาพถ่าย (VFP : Visual Feedback Photography) และการเขียนข้อเสนอแนะปรับปรุงเชิงบวก
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 กรอบแนวคิดที่ถูกต้องของการทำกิจกรรม 5สModule - 2 เครื่องมือและเทคนิคการตรวจประเมินอย่างเป็นระบบ
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่ของสมองก่อนการเรียนรู้
- ทบทวนความเข้าใจ 5ส ของผู้เรียน
- แนวคิดของการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- จิตสำนึกความเป็นเจ้าของกับกิจกรรม 5ส (Ownership Quotient)
- เป้าหมายของการทำกิจกรรม 5ส
การลดต้นทุน (Cost Reduction)
การเพิ่มผลผลิต (Productivity)- Activity I: ค้นหาข้อเท็จจริงและสาเหตุจากการตรวจประเมิน
Module - 3 การวางแผนการตรวจประเมิน 5ส อย่างเป็นระบบ
- ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม 5ส
ความเข้าใจความหมาย 5ส อย่างถูกต้องของผู้ปฏิบัติงาน
ทัศนคติและการรับรู้ประโยชน์ของ 5ส ของผู้ปฏิบัติงาน
ความร่วมมือในกิจกรรม 5ส ของผู้ปฏิบัติงานด้วยกลยุทธ์การมีส่วนร่วม
คุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจประเมิน
บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจประเมิน
ระบบบริหารจัดการกิจกรรม 5ส อย่างเป็นรูปธรรมเทคนิคในการตรวจประเมิน ส แต่ละตัว
- แบบฟอร์มการตรวจประเมินผลการดำเนินงาน 5ส
หัวข้อการตรวจประเมิน
หลักเกณฑ์การตรวจประเมินและการให้คะแนน- มาตรฐานการตรวจสอบของโรงงานและสำนักงาน
มาตรฐานส่วนกลาง (Central)
มาตรฐานในแต่ละพื้นที่ (Operation Area)- ระบบควบคุมด้วยสายตา (Visual Control) กับกิจกรรม 5ส
- เทคนิคและขั้นตอนการปรับปรุงพื้นที่ (5ส) ด้วยภาพถ่าย (VFP : Visual Feedback Photography)
- Activity II: วิเคราะห์และปรับปรุงระบบการตรวจประเมิน
- Roadmap 4 ขั้นตอนสู่การตรวจประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 1: การเตรียมการก่อนลงพื้นที่ตรวจ (Plan)
ขั้นตอนที่ 2: การลงพื้นที่ตรวจประเมิน (Do)
ขั้นตอนที่ 3: การประเมินผลการตรวจประเมิน (Check)
ขั้นตอนที่ 4: การติดตามผลการตรวจประเมินและสร้างมาตรฐาน (Act)แนวทางการให้คำแนะนำและติชมขณะตรวจพื้นที่
- แนวทางการเขียนข้อเสนอแนะการปรับปรุงเชิงบวก
- Activity III: ฝึกเขียนข้อเสนอแนะจากกรณีศึกษาการตรวจประเมิน
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)