รายละเอียดการติดต่อเรา

รายละเอียดการติดต่อ

การควบคุมกระบวนการผลิตโดยกลวิธีเชิงสถิติ
(Statistical Process Control)

Download Course Content

หลักการและเหตุผล

องค์การจะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง “คุณภาพ” ของสินค้าและบริการ และความเป็นจริงของการให้ความหมายคำว่า “คุณภาพ” เป็นสิ่งที่ค่อนข้างกว้าง โดยขึ้นอยู่กับบริบทที่ต้องการสื่อความหมาย เช่น คุณภาพกับการประกันคุณภาพ, คุณภาพกับการบริหารคุณภาพ, คุณภาพกับวิศวกรรมคุณภาพ เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะสื่อความหมายอยู่ในบริบทไหนก็ตาม ผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ไปถึงผู้บริโภคควรตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้สูงสุด 

แนวทางการบริหารจัดการเพื่อให้ได้สินค้าคุณภาพตามต้องการเรียกว่า “หลักการควบคุมคุณภาพ” (Principles of Quality Control) ซึ่งมี 3 หลักการใหญ่ ๆ ดังนี้

  • แนวความคิดของการควบคุมคุณภาพ (Concept)
  • วิธีการควบคุมคุณภาพ (QC Methodology)
  • กลวิธีการควบคุมคุณภาพ (QC Techniques)

การควบคุมคุณภาพของกระบวนการ (Process Quality Control) เป็นหนึ่งในหลายแนวทางของวิธีการควบคุมคุณภาพ (QC Methodology – QC Story, Root Cause Analysis, QC Circle, Product QC & Process QC) และกลวิธีการควบคุมคุณภาพ (QC Technique) สำหรับการควบคุมคุณภาพของกระบวนการที่ได้รับความนิยมและการยอมรับอย่างแพร่หลายคือ “การควบคุมกระบวนการผลิตโดยกลวิธีเชิงสถิติ” (Statistical Process Control)

จากแนวคิดข้างต้นจึงเกิดเครื่องมือที่สำคัญมากของ SPC คือ แผนภูมิควบคุมกระบวนการ (Control Chart) ที่เกิดจากแนวคิดของชิวฮาร์ท (Walter A. Shewhart) ที่ต้องเริ่มต้นจากการทำกระบวนการให้เป็นมาตรฐาน (Standardization) ก่อนการควบคุมกระบวนการ หลังจากนั้นจึงควบคุมกระบวนการด้วยการแยกความผันแปร (Variation) จากสาเหตุที่ผิดธรรมชาติของข้อมูลออกจากความผันแปร (Variation) จากสาเหตุโดยธรรมชาติของข้อมูล โดยผ่านกลไกสำคัญคือ พิกัดควบคุมของแผนภูมิ (Control Limit) และนำไปสู่ขั้นตอนสำคัญคือ การตีความหมายของแผนภูมิควบคุมจากตัวแบบของแผนภูมิควบคุม เพื่อทำความเข้าใจความผันแปร (Variation) ของกระบวนการ 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจพื้นฐานการควบคุมคุณภาพของกระบวนการโดยกลวิธีการทางสถิติ เข้าใจประเภทของความผันแปร (Variation) ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในกระบวนการ
  • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการควบคุมคุณภาพของกระบวนการด้วยแผนภูมิควบคุม (Control Chart) สามารถตีความหมายของแผนภูมิผ่านตัวแบบ และสามารถประยุกต์ใช้แผนภูมิควบคุมได้อย่างถูกต้องกับประเภทของข้อมูล

รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร

Module - 1 พื้นฐานการควบคุมคุณภาพของกระบวนการ
  • กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
  • แนวความคิดการควบคุมคุณภาพของกระบวนการ
  • ทบทวนสถิติพื้นฐานสำหรับการควบคุมคุณภาพ

      ประชากร (Population) & พารามิเตอร์ (Parameter)
       ตัวอย่าง (Sample) & ค่าสถิติ (Statistics)
       รูปทรงข้อมูล (Skewness & Kurtosis)
       ค่าแนวโน้มสู่ศูนย์กลาง – ค่าเฉลี่ย (Mean)
       ค่าการกระจาย - พิสัย (Range) / ความแปรปรวน (Variance) / ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

  • ประเภทความผันแปร (Variation) ในกระบวนการ
  • แนวคิดของระบบการควบคุมกระบวนการโดยสถิติ
  • สภาวะของกระบวนการ (ภายใต้การควบคุมและมีความสามารถ)
  • Activity I: แบบทดสอบความเข้าใจการควบคุมคุณภาพกระบวนการ
Module - 2 พื้นฐานการควบคุมกระบวนการด้วยแผนภูมิควบคุม (Control Chart)
  • ความหมายและแนวความคิดของแผนภูมิควบคุม (Shewhart’s Control Chart)
  • แนวทางการกำหนดค่า LCL & UCL
  • หลักการพื้นฐาน 5 ประการของแผนภูมิควบคุม
  • ประเภทและการเลือกใช้แผนภูมิควบคุม
  • Activity II: แบบทดสอบความเข้าใจเบื้องต้นของแผนภูมิควบคุม
Module - 3 การประยุกต์ใช้แผนภูมิควบคุมสำหรับการควบคุมกระบวนการ
  • แผนภูมิควบคุมแบบผันแปร (Variable Control Chart)

      แผนภูมิ X – R / X – S / X - MR

  • ขั้นตอนการสร้างแผนภูมิควบคุมแบบผันแปร

      ระยะที่ 1 การพิจารณากระบวนการว่าอยู่ภายใต้การควบคุมหรือไม่
       ระยะที่ 2 การควบคุมกระบวนการที่ได้มาจากการทบทวนพิกัดควบคุมอย่างต่อเนื่อง
       ตัวอย่างแผนภูมิควบคุมสำหรับค่าวัด (Continuous Data) และใบคำนวณค่าวัดแผนภูมิ X – R / X – S / X - MR

  • การตีความหมายของแผนภูมิควบคุม

      หลักการสำคัญ การอ่านค่าเพื่อทำความเข้าใจความผันแปรของกระบวนการ (Variation)
       ความเข้าใจ 13 ตัวแบบของแผนภูมิควบคุม

  • วิธีการอ่านตัวแบบของแผนภูมิควบคุม

      หลักการสุ่ม – ค่ารัน (Run) / การเกิดแนวโน้ม (Tend) / การเกิดวัฏจักร (Cycle)
       ความเป็นปกติ (Normal Pattern)
       ความสม่ำเสมอของความผันแปร

  • Activity III: สร้างและวิเคราะห์แผนภูมิควบคุมจากตัวอย่างจริง
Module - 4 การศึกษาความสามารถของกระบวนการ (Process Capability) - Introduction 

เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)

 sale@bananatraining.com

 080-626-9565

ฟอร์มติดต่อ

Engine by shopup.com