รายละเอียดการติดต่อเรา

รายละเอียดการติดต่อ

ความคิดเชิงระบบเพื่อการแก้ปัญหาและตัดสินใจ
(Systems Thinking for Problem Solving and Decision Making - 2D)

Download Course Content  Download Brochure

หลักการและเหตุผล

ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งขององค์กรในปัจจุบันคือ บุคลากรขาดทักษะการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจที่ดีและถูกต้อง ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและการพัฒนาตนเอง ทำให้ผลผลิตโดยรวมขององค์กรลดลงอย่างมีนัยสำคัญ  ดังนั้นการพัฒนาทักษะการคิดให้กับบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะความคิดเชิงระบบ หรืออาจเรียกอีกอย่างว่าเป็น “วิธีคิดอย่างเป็นระบบ” (Systems Thinking) 

การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking) เป็นวินัยที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในวินัย 5 ประการ สำหรับการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ของปรมาจารย์แห่งการบริหารและการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้โลก ดร. ปีเตอร์ เอ็ม เซ็งเก้ (Peter M. Senge) ศาสตราจารย์แห่ง MIT Sloan School of Management โดยท่านกล่าวเน้นว่า “องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรที่ขยายขีดความสามารถ และเพิ่มศักยภาพเพื่อสร้างผลงาน และสร้างอนาคตอย่างต่อเนื่อง โดยผู้คนในองค์กรต่างก็เรียนรู้วิธีที่จะเรียนรู้ด้วยกันอย่างต่อเนื่อง (Learn How to Learn)”

หัวใจสำคัญของวิธีคิดอย่างเป็นระบบ (The Essence of Systems Thinking) คือ การให้ความสำคัญของวงจรการป้อนกลับ (Feedback Loops) โดยการป้อนกลับนี้อยู่บนพื้นฐานการเกิดขึ้นของเหตุและผลอย่างแท้จริง (Cause and Effect) นำไปสู่การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ต่าง ๆ (Emergent Properties) หรืออาจเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นพฤติกรรมของระบบ ซึ่งโครงสร้างของระบบประกอบด้วย

        1.องค์ประกอบ (Element)
        2.การเชื่อมโยง (Linkage)
        3.กลไกการทำงาน (Mechanism)
        4.ความสมดุลของระบบ (System Balance)

ประโยชน์ที่เกิดขึ้นของการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบมีดังนี้

  • ส่งเสริมให้บุคลากรคิดวิธีแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน เลือกแก้ปัจจัยที่มีผลกระทบสูงสุด ไม่ด่วนตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยแนวทางใดทางหนึ่ง อันอาจส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นตามมาในภายหลัง โดยใช้เครื่องมือ : ตารางการแก้ปัญหาและตัดสินใจ (PSDM Table) และการประยุกต์ใช้แผนที่ความคิด Mind Map กับความคิดเชิงระบบ
  • ส่งเสริมให้บุคลากรเกิด “การเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ (Learn How to Learn)” ผ่านวงจรแห่งการเรียนรู้แบบเชิงคู่หรือแบบเสริมสร้าง (Double Loop Learning or Generative Loop Learning) กระตุ้นให้ตั้งเป้าหมายเพื่อพัฒนาตนเอง ซึ่งส่งผลให้บุคลากรมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น อันมีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของ “ระบบ” และ “ความคิดเชิงระบบ” อย่างถูกต้อง โดยเรียนรู้ผ่านแนวคิดของวงจรป้อนกลับ (Feedback Loops) และวงจรป้อนกลับแบบเสริมแรงและแบบสมดุล (Reinforcing and Balancing Feedback Loop)
  • เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีหลักการวิเคราะห์ปัจจัยสู่ความสำเร็จและผลกระทบที่เกิดขึ้น ด้วยการใช้ตารางการแก้ปัญหาและตัดสินใจ (PSDM Table)
  • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ 3 รูปแบบการเรียนรู้ในความคิดเชิงระบบ พร้อมกับกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้แบบยกระดับ (Goal Setting Learning) และการตั้งคำถามเพื่อพัฒนาการเรียนรู้แบบยกระดับ (Coaching Question)

รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร

Module - 1 พื้นฐานของการคิดแก้ปัญหาเชิงระบบ
  • กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
  • หลักสำคัญของการคิดแก้ปัญหาเชิงระบบ
  • ความหมายของการคิดแก้ปัญหา
  • แบบทดสอบเบื้องต้นของความคิดเชิงระบบ
  • ความเชื่อ ค่านิยม พฤติกรรม และผลกระทบ
  • Systems Thinking & Systematic Thinking
  • ความคิดเชิงเส้นและความคิดเชิงระบบ (Linear & Systems Thinking)

      ผลกระทบที่เกิดขึ้น (Effect in the Systems)
      ปัจจัยสร้างความสำเร็จ (Factor in the System)

  • Activity I: สร้างแผนภาพผลกระทบและปัจจัย
  • ประเด็นสำคัญ 6 ประการของความคิดเชิงระบบ
Module - 2 ความหมายของระบบและความคิดเชิงระบบ (System Thinking)
  • ความหมายของระบบ (What is a Systems?)
  • คุณลักษณะสำคัญที่แสดงความเป็นระบบ
  • ความหมายของความคิดเชิงระบบ
  • แผนผังวงจรสาเหตุ (Causal Loop Diagram – CLD)
  • ธรรมชาติและปรากฏการณ์ของ Systems Thinking
  • Feedback Loops: หัวใจสำคัญของระบบ
  • ประเภทของวงจรป้อนกลับ

      วงจรการป้อนกลับแบบเสริมแรง (Reinforcing Feedback Loop)
      วงจรการป้อนกลับแบบสมดุล (Balancing Feedback Loop)

  • Activity II: แบบทดสอบวงจรการป้อนกลับ
Module - 3 รูปแบบการเรียนรู้ (Learn How to Learn) ในความคิดเชิงระบบ
  • ไม่มีการเรียนรู้ (No Learning)
  • การเรียนรู้เพื่อการปรับตัว (Adaptive Learning)
  • การเรียนรู้เพื่อการยกระดับ (Goal Setting Learning)
  • การตั้งคำถามเพื่อพัฒนาการเรียนรู้แบบยกระดับ (Coaching Question)
Module - 4 การคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน (Systematic Thinking)
  • ความหมายของ Systematic Thinking
  • ขั้นตอนการแก้ปัญหาและตัดสินใจเชิงระบบ
  • ตารางการแก้ปัญหาและตัดสินใจ (PSDM Table)
  • Activity III: กิจกรรมแก้ปัญหาด้วย PSDM Table

เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)

 sale@bananatraining.com

 080-626-9565

ฟอร์มติดต่อ

Engine by shopup.com