หลักการและเหตุผล
คุณธรรมจริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานที่คนในสังคมควรยึดถือ เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ทำให้การดำเนินชีวิตและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและถูกต้อง สร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างบุคลากรที่ต้องปฏิบัติงานร่วมกัน และความไว้วางใจระหว่างบุคลากรกับผู้รับบริการหรือลูกค้านั่นเอง
การดำเนินธุรกิจให้ก้าวหน้าย่อมต้องการการขับเคลื่อนด้วยบุคลากรภายในองค์กร ดังนั้นองค์กรจะเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ต้องเกิดจากบุคลากรที่มีความเก่งและความดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ในทุกส่วนของกระบวนการ แต่ความเก่งหรือการมีความสามารถเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืน ถ้าบุคลากรที่ปฏิบัติงานขาดคุณธรรมความดีและจริยธรรมที่ดีของพนักงาน อาจสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับหลาย ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หรือกล่าวว่า “สร้างความเสียหายต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร”
การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดขึ้นกับบุคลากร มีความเกี่ยวข้องกับจิตสำนึกและพื้นฐานทางด้านจิตใจเป็นสำคัญ การพัฒนาเรื่องดังกล่าวต้องกระทำอย่างต่อเนื่องผ่านการกำหนดคุณธรรมจริยธรรมและมาตรฐานพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน โดยสร้างเป็นค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กร (Value & Corporate Culture) บุคลากรต้องมองเห็นประโยชน์ของการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และเห็นโทษที่เกิดขึ้นกับตนเองและองค์กร หากละเลยเรื่องดังกล่าว
มาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องที่มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคลและสังคม แต่การแสดงออกพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมมีที่มาจากการเรียนรู้ ค่านิยม ทัศนคติ บุคลิกภาพ และการรับรู้ของแต่ละคน บุคลากรตัดสินใจแสดงหรือไม่แสดงพฤติกรรมอะไรบางอย่าง เริ่มต้นจากความคิดที่เกิดจากการทำงานของสมอง ซึ่งกระบวนการทำงานของสมองมีการเชื่อมต่อกับข้อมูลในจิตใต้สำนึก ดังนั้นถ้าบุคลากรมีวิธีการควบคุมความคิดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม จะส่งผลให้พฤติกรรมต่าง ๆ แสดงออกมาอย่างสร้างสรรค์และอยู่ในกรอบของคุณธรรมจริยธรรม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนมีแนวคิดที่ถูกต้องต่อคุณธรรมจริยธรรม (สัมมาทิฏฐิ) และมองเห็นประโยชน์ของการประพฤติปฏิบัติคุณธรรมจริยธรรม
- เพื่อให้ผู้เรียนมีหลักการของการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับตนเองในฐานะผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร
- เพื่อให้ผู้เรียนมีแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ผ่านการเรียนรู้จากแนวคิด “วงจรพฤติกรรม” และ “Knowledge is not Understanding”
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 คุณธรรมจริยธรรมคือรากฐานของความสำเร็จModule - 2 กระบวนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
- สำรวจแนวความคิดทางด้านคุณธรรมจริยธรรมของคุณ
- ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม
- ประโยชน์ของคุณธรรมจริยธรรม
- คุณธรรมและจริยธรรมของพนักงาน
- ค่านิยมหลักองค์กร VS คุณธรรมจริยธรรม
- ค่านิยมส่วนตน VS ค่านิยมหลักองค์กร
- Workshop I: การปรับค่านิยมส่วนตนให้สอดคล้องกับคุณธรรมจริยธรรม
Module - 3 คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)
- การทำงานของสมองกับข้อมูลในจิตใต้สำนึก
- หลุมพรางทางความคิดสกัดกั้นคุณธรรมจริยธรรม
- เทคนิคการเอาชนะหลุมพรางทางความคิด
- Workshop II: การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
Module - 4 การเปลี่ยนแปลงตนเองไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น
- ความหมายของความฉลาดทางอารมณ์
- แบบทดสอบความฉลาดทางอารมณ์
- ความฉลาดทางอารมณ์กับคุณธรรมจริยธรรม
- แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
- หลักคิดที่สำคัญขณะพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
- Workshop III: ประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของตนเอง
- แนวความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
- เป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
- สร้างนิสัยใหม่ด้วยแนวคิด “วงจรพฤติกรรม”
- แนวคิด “Knowledge is not Understanding”
- การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องคือ “กุญแจของความสำเร็จ”
- การให้ความสำคัญกับคำว่า “ปัจจุบัน”
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)