หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันโลกของธุรกิจนอกจากจะมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงแล้ว สภาพแวดล้อมของธุรกิจยังมีความผันผวนและความไม่แน่นอนสูง ตลอดจนมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย จนยากเกินกว่าที่จะประมวลผล และมีความคลุมเครือของปัจจัยต่าง ๆ ในความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ซึ่งทำให้ยากต่อการตัดสินใจ หรือที่เรานิยมเรียกรวมกันว่า VUCA (Volatility, Uncertain, Complex and Ambiguous) ดังนั้นการที่องค์กรจะอยู่รอดภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็วเช่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำจะต้องรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ทบทวนตัวเอง และปรับตัวอย่างต่อเนื่อง
Agile เป็นกรอบแนวคิดในการทำงาน (Mindset) ที่นำมาใช้เพื่อให้องค์กรสามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงรุนแรงและรวดเร็ว โดยที่ Agile ไม่ใช่เครื่องมือหรือกระบวนการเพียงอย่างเดียว แต่เป็นกรอบแนวคิดที่ครอบคลุมเครื่องมือและกระบวนการ ดังนั้นการนำไปใช้งานต้องมีการปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร ในเบื้องต้น Agile มีแนวคิดหลักหรือคำประกาศอไจล์ (Agile Manifesto) ดังนี้ - [เครดิตข้อมูล: แอรี ฟาน เบนเนคุม (Arie van Bennekum) ผู้ร่วมคิดค้น Agile Manifesto และประธาน Agile Consortium International]
- แนวคิดที่ 1: คนและปฏิสัมพันธ์มากกว่าขั้นตอนและเครื่องมือ
(Individuals and interactions over processes and tools)
- แนวคิดที่ 2: ผลงานที่ใช้ได้จริงมากกว่าเอกสารที่สมบูรณ์
(Working software over comprehensive documentation)
- แนวคิดที่ 3: ร่วมมือทำงานกับลูกค้า มากกว่าการต่อรองตามสัญญา
(Customer collaboration over contract negotiation)
- แนวคิดที่ 4: การตอบรับกับการเปลี่ยนแปลง มากกว่าการทำตามแผนที่วางไว้
(Responding to change over following a plan)
การนำแนวทางการทำงานแบบ Agile ไปใช้ในองค์กร ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับบริบทและวัฒนธรรมขององค์กร (Culture) Agile ต้องการวัฒนธรรมการทำงานที่กระตุ้นให้ทุกคนสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอ กล้าทดลองสิ่งใหม่ ๆ แม้ยังไม่แน่ใจในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และพร้อมที่จะปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่อง (เชื่อในคุณค่ามนุษย์) ซึ่งประเด็นนี้เป็นหัวใจสำคัญที่สอดคล้องกับแนวคิดที่ 1 คือคนและปฏิสัมพันธ์มากกว่าขั้นตอนและเครื่องมือ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็วของโลกธุรกิจ (VUCA)
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายอไจล์ และแนวคิดหลักหรือคำประกาศอไจล์ (Agile Manifesto) ว่ามีจุดมุ่งหมายใดภายใต้แนวคิดหลักนั้น
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำแนวทางการทำงานในรูปแบบ Agile ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทและวัฒนธรรมขององค์กร (Culture)
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานของการปรับวิธีคิดและการทำงานแบบ Agile
Module - 2 แนวคิดหลัก 4 ประการของ Agile (Agile Manifesto)
- ประวัติและความเป็นมาของ Agile
- สำรวจแนวความคิดของการทำงาน (Mindset)
- ความหมายของการทำงานแบบ Agile
- VUCA กับการปรับตัวของธุรกิจ
- ตัวอย่างองค์กรที่ปรับตัวไม่ทัน
Module - 3 การปรับแนวทางการทำงานในรูปแบบ Agile
- แนวคิดที่ 1: คนและปฏิสัมพันธ์มากกว่าขั้นตอนและเครื่องมือ
- (Individuals and interactions over processes and tools)
- การให้อำนาจตัดสินใจกับคนที่อยู่ในกระบวนการ (Empowerment)
- การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (ลดความซับซ้อนและเสียเวลา)
- แนวคิดที่ 2: ผลงานที่ใช้ได้จริงมากกว่าเอกสารที่สมบูรณ์
- (Working software over comprehensive documentation)
- แนวคิดที่ 3: ร่วมมือทำงานกับลูกค้า มากกว่าการต่อรองตามสัญญา
- (Customer collaboration over contract negotiation)
- การสร้างคุณค่าและความพึงพอใจในสายตาของลูกค้า
- การรับ Feedback จากลูกค้าและการสร้าง Prototype
- แนวคิดที่ 4: การตอบรับกับการเปลี่ยนแปลง มากกว่าการทำตามแผนที่วางไว้
- (Responding to change over following a plan)
- Workshop I: การประยุกต์ใช้ Agile Manifesto
- การเปลี่ยนกรอบความคิดการทำงาน (Mindset)
- การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร (Agile Culture)
- การปรับเปลี่ยนตนเอง (Change yourself)
- หลักการทำงาน 6 ข้อ ในรูปแบบแบบ Agile
- กระบวนการ เครื่องมือ และเทคนิคในอไจล์
- เกณฑ์การวัดผลของการทำงานแบบ Agile
คุณค่าของงานที่ตอบสนองลูกค้าเพิ่มขึ้น (Value)
ความมีประสิทธิภาพของการทำงาน (Efficiency)
คุณภาพในกระบวนการทำงาน (Quality)- Workshop II: การปรับแนวทางการทำงานในรูปแบบ Agile
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)