หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันสูง องค์กรต้องปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด กลยุทธ์ที่สามารถนำมาปรับใช้และเกิดผลลัพธ์ที่ดีคือ “การปรับปรุงประสิทธิภาพธุรกิจบริการด้วยลีน (Lean Production)” โดย Lean Production คือ แนวคิดการผลิตที่มุ่งเน้นไปที่การระบุและการกำจัดความสูญเปล่าในกระบวนการธุรกิจ ซึ่งความสูญเปล่าสามารถเรียกอย่างง่ายว่า การทำงานใด ๆ ที่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม (Non-Value Added : NVA) ให้กับสินค้า นอกจากนี้ยังมีตัวเลขทางสถิติน่าสนใจกล่าวว่า “ความสูญเปล่าในกระบวนการของอุตสาหกรรมหนึ่งต่อปีมีประมาณ 10% - 35%” ตัวเลขดังกล่าวนับว่าสูงมาก ดังนั้นการกำจัดความสูญเปล่าย่อมส่งผลต่อต้นทุนรวม (Total Cost) ของสินค้าอย่างแน่นอน
การก้าวสู่การผลิตแบบลีน นอกจากต้องเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของลีน (Lean Thinking) ที่เน้นการแปรเปลี่ยนความสูญเปล่าไปสู่การสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยคุณค่าเพิ่มของสินค้าต้องอยู่ในมุมมองของลูกค้าเท่านั้น (Lean thinking is the endless transformation of waste into value from customer’s perspective) องค์กรที่นำการผลิตแบบลีนไปประยุกต์ใช้ต้องบริหารด้วยหลักการสำคัญ 5 ประการของการผลิตแบบลีนดังนี้
- หลักการข้อที่ 1: การกำหนดคุณค่าของสินค้ามุมมองลูกค้า (Value)
- หลักการข้อที่ 2: กระบวนการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า (Value Stream)
- หลักการข้อที่ 3: สร้างการไหลของกระบวนการโดยกำจัดความสูญเปล่า (Flow)
- หลักการข้อที่ 4: การตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยระบบดึง (Pull System)
- หลักการข้อที่ 5: ความมุ่งมั่นสู่ความสมบูรณ์แบบ (Perfection)
การผลิตแบบลีนจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเครื่องมือ (Lean Tools) ที่เหมาะสมและสนับสนุนหลักสำคัญ 5 ประการ เครื่องมือจะสร้างให้เกิดการไหลของกระบวนการโดยปราศจากการหยุดชะงัก ซึ่งการผลิตแบบลีนมีเครื่องมือพื้นฐานหลักดังนี้
- การผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time : JIT)
- การสร้างคุณภาพสู่กระบวนการด้วย JIDOKA (Built-in Quality)
- การปรับเรียบการผลิต (Heijunka)
- กระบวนการที่เป็นมาตรฐานและมีความเสถียร (Standardized Work)
- การควบคุมจัดการพื้นที่ด้วยสายตา (Visual Control)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของลีน (Lean Thinking) และหลักการสำคัญ 5 ประการของการผลิตแบบลีน (Lean Production)
- เพื่อให้ผู้เรียนมีมุมมองต่อการระบุคุณค่าของสินค้าในสายตาลูกค้า (Value) และสร้างเส้นทางการไหลของกระบวนการที่ปราศจากการหยุดชะงัก (Flow) โดยการกำจัดความสูญเปล่าในกระบวนการ (Waste)
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเครื่องมือหลักพื้นฐานของการผลิตแบบลีน ที่นำไปใช้สร้างการไหลของกระบวนการอย่างต่อเนื่อง (Continuous Flow)
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 วิวัฒนาการและแนวคิดพื้นฐานการผลิตแบบลีนModule - 2 ก้าวสู่กระบวนการผลิตแบบลีน (Lean Production)
- แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- จิตสำนึกความเป็นเจ้าของ (OQ) กับการผลิตแบบลีน
- จาก Mass Production สู่ TPS และ Lean Production
- อะไรคือแนวคิดแบบลีน (What is Lean Thinking?)
- หลักสำคัญ 5 ประการของการผลิตแบบลีน
Module - 3 เครื่องมือลีนสู่การสร้างการไหลของกระบวนการ (Lean Tools)
- หลักการข้อที่ 1: การกำหนดคุณค่าของสินค้ามุมมองลูกค้า (Value)
- ตัวอย่าง: Customer value in manufacturing
- หลักการข้อที่ 2: กระบวนการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า (Value Stream)
- ตัวอย่าง: Value Stream Mapping
- หลักการข้อที่ 3: สร้างการไหลของกระบวนการโดยกำจัดความสูญเปล่า (Flow)
- แนวคิดของการไหลทีละชิ้น (One-Piece Flow)
- ตัวอย่าง: ความสูญเปล่า 7 ประการ
ความสูญเปล่าจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction)
ความสูญเปล่าจากสินค้าคงคลัง (Inventory)
ความสูญเปล่าจากการรอคอย (Waiting)
ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหว (Motion)
ความสูญเปล่าจากการขนส่ง (Transportation)
ความสูญเปล่าจากผลิตภัณฑ์บกพร่อง (Defects)
ความสูญเปล่าจากกระบวนการมากเกินไป (Overprocessing)- Activity I: กำหนดคุณค่าของสินค้าในมุมมองของลูกค้า
- Activity II: ค้นหาความสูญเปล่าในกระบวนการธุรกิจ
- หลักการข้อที่ 4: การตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยระบบดึง (Pull System)
- ความแตกต่างระหว่าง Pull VS Push System
- หลักการข้อที่ 5: ความมุ่งมั่นสู่ความสมบูรณ์แบบ (Perfection)
- การผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time : JIT)
- การสร้างคุณภาพสู่กระบวนการด้วย JIDOKA (Built-in Quality)
- การปรับเรียบการผลิต (Heijunka)
- กระบวนการที่เป็นมาตรฐานและมีความเสถียร (Standardized Work)
- การควบคุมจัดการพื้นที่ด้วยสายตา (Visual Control)
- Activity III: การกำจัดความสูญเปล่าในกระบวนการธุรกิจ
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)