หลักการและเหตุผล
ในสภาวะการแข่งขันสูงในปัจจุบัน องค์กรต้องรักษาความสามารถและความได้เปรียบในการแข่งขัน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมความสามารถและความได้เปรียบดังกล่าว โดยการพัฒนาบุคลากรมีหลากหลายวิธีการ เช่น การฝึกอบรม การมอบหมายงาน การหมุนเวียนงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การโค้ชงาน หรือการใช้ระบบพี่เลี้ยง เป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมาอยู่ภายใต้การพัฒนาบนพื้นฐาน 70 : 20 : 10 Model นั่นเอง โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลกรที่มีประสิทธิภาพมากคือ การเป็นโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยง (Coach and Mentor) ซึ่งอยู่ในส่วน 20% ของโมเดล
การพัฒนาทักษะการโค้ชอย่างเป็นระบบ (Systematic Coaching) ผู้เป็นโค้ชต้องเข้าใจองค์ประกอบและมีแนวความคิดที่ถูกต้องของการเป็นโค้ช ซึ่งทำให้โค้ชเชื่อว่าผู้รับการโค้ช (โค้ชชี่ - Coachee) มีศักยภาพในตนเอง การยอมรับและการเปลี่ยนแปลงต้องเกิดจากโค้ชชี่เอง กระบวนการโค้ชมุ่งเน้นที่วิธีการแก้ปัญหา ไม่เน้นที่ตัวปัญหา และสุดท้ายโค้ชมีความเชื่อว่าโค้ชชี่มีวิธีการอันเหมาะสมในการบรรลุเป้าหมายของตนเอง โดยต้องอาศัยทักษะสำคัญของการโค้ช (Coaching Skill) ดังนี้
- การใช้คำถามทรงพลัง (Powerful Questioning)
- การรับฟังอย่างตั้งใจ (Listening)
- การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก (Positive Feedback)
- การสร้างแรงจูงใจ (Motivation)
- การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน (Set Goal)
ระบบพี่เลี้ยงที่มีคุณภาพช่วยให้น้องเลี้ยง (Mentee) สามารถเรียนรู้ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการทำงานจากพี่เลี้ยง (Mentor) ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตสูงขึ้นและได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ตนเองสามารถทำงานได้ดีที่สุด ดังนั้นพนักงานจึงอยู่กับองค์กรได้นาน (Retention) และลดปัญหาการลาออก การเป็นพี่เลี้ยงที่ดี พี่เลี้ยงต้องมีทักษะสำคัญของการเป็นพี่เลี้ยง (Competency for Mentor) พร้อมด้วยปัจจัย 7 ประการที่ทำให้ระบบพี่เลี้ยงประสบความสำเร็จ โดยกระบวนการพัฒนาระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) มีดังนี้
- การเตรียมความพร้อมและอบรม
- การกำหนดคุณสมบัติพี่เลี้ยงน้องเลี้ยง
- การกำหนดสิทธิประโยชน์จูงใจ
- การติดตามและประเมินผล
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความแตกต่างระหว่างการเป็นโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยง
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการพัฒนาทีมงานด้วยการโค้ช และสามารถสร้างแนวทางการโค้ชได้ด้วยตนเอง
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการพัฒนาทีมงานด้วยระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) และสามารถประยุกต์แนวคิดต่าง ๆ ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานของการโค้ชและระบบพีเลี้ยงModule - 2 การพัฒนาทีมงานด้วยการโค้ชและระบบพี่เลี้ยง
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- สำรวจแนวคิดการพัฒนาศักยภาพทีมงาน
- ความแตกต่างระหว่าง Coaching กับ Mentoring
- การพัฒนาทีมงานด้วย TAPS Model
- การประยุกต์ Skill – Will Matrix กับ TAPS Model
Module - 3 การพัฒนาทีมงานด้วยการโค้ชอย่างเป็นระบบ (Systematic Coaching)
- Case Study I: บอกเล่าประสบการณ์ Coaching & Mentoring
- นิยามของการโค้ช (Definition of Coaching)
- จุดประสงค์ของการโค้ช (Objective of Coaching)
- จุดประสงค์ของระบบพี่เลี้ยง (Objective of Mentoring)
- Workshop I: การเตรียมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการโค้ชและพี่เลี้ยง
Module - 4 การพัฒนาทีมงานในฐานะพี่เลี้ยง
- 11 สมรรถนะของโค้ช (เครดิตข้อมูล: International Coach Federation – ICF)
- องค์ประกอบของการโค้ชงาน
- แนวความคิดที่ถูกต้องของการเป็นโค้ช
- เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์
- ตัวอย่างคำถามสร้างสรรค์ในการโค้ช
- ทักษะสำคัญของการโค้ช (Coaching Skill)
- การโค้ชด้วย Grow Model & Insight Loop (วงจรแห่งปัญญา)
- กระบวนการโค้ชอย่างเป็นระบบ (Systematic Coaching Process)
- Case Study II: สร้างแนวทางการโค้ชจากกรณีศึกษา
- Case Study III: เรียนรู้การเป็นพี่เลี้ยงจากกรณีศึกษา
- ความสำคัญของระบบพี่เลี้ยง
- การพัฒนาระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System)
การเตรียมความพร้อมและอบรม
การกำหนดคุณสมบัติพี่เลี้ยงน้องเลี้ยง
การกำหนดสิทธิประโยชน์จูงใจ
การติดตามและประเมินผล- ทักษะสำคัญของการเป็นพี่เลี้ยง (Competency for Mentor)
- ปัจจัย 7 ประการที่ทำให้ระบบพี่เลี้ยงสำเร็จ
- Workshop II: สรุปสิ่งที่เรียนรู้และนำไปปฏิบัติ
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)