หลักการและเหตุผล
การคิดเชิงวิจารณญาณคือ “การคิดใคร่ครวญเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง โดยใช้ปัญญาคิดหาเหตุผล จนเกิดความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ และนำไปสู่การให้ความคิดเห็นหรือการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ” ดังนั้นการคิดเชิงวิจารณญาณจึงต้องมีความรอบคอบ พิจารณาทุกส่วนอย่างรอบด้าน และไม่ด่วนตัดสินในประเด็นต่าง ๆ จนกว่าจะได้รับข้อมูลและพิสูจน์อย่างถี่ถ้วน
ปัญหาต่างของการทำงานในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภายในองค์กรหรือนอกองค์กร ปัญหาต่าง ๆ จึงต้องใช้ทักษะการคิดแบบต่าง ๆ มาร่วมบูรณาการเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งการคิดเชิงวิจารณญาณนั้นสามารถนำทักษะการคิดแบบต่าง ๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสม และการคิดเชิงวิจารณญาณที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องมีองค์ประกอบ 8 ประการ ดังนี้
- มีความชัดเจน
- มีความถูกต้อง
- มีความแม่นยำ
- มีความเกี่ยวข้อง
- มีความลึก
- มีความกว้าง
- มีความเป็นเหตุเป็นผล
- มีความยุติธรรม
แม้ว่าความคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นการคิดค่อนข้างเป็นไปทางนามธรรม (Soft skill) แต่ทักษะทางความคิดนี้เป็นไปเพื่อการให้ความคิดเห็นและการตัดสินใจแก้ปัญหา ดังนั้นย่อมต้องมีกระบวนการหรือขั้นตอนแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสามารถปรับใช้เครื่องใช้บางชนิดได้อย่างเหมาะสมกับปัญหา โดยขั้นตอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณมีดังนี้
- Empathize – ข้อมูล + เข้าใจ
- Define – กำหนดขอบเขตปัญหา + เป้าหมาย
- Ideate – ระดม “ความคิด” (ทุกความคิด “เป็นไปได้”)
- Prototype – ลงมือทำตามแบบจำลอง
- Test – ทดสอบ + ปรับปรุงและพัฒนา
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณสามารถปรับใช้ได้ตั้งแต่เรื่องเล็ก ในระดับการมองปรากฎการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แล้วมีความคิดเห็นอย่างไร ไปจนถึงระดับใหญ่ขึ้น เช่น การแก้ปัญหาขององค์กร การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น โดยส่วนที่ยากที่สุดของขั้นตอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือ Empathize ซึ่งเป็นการหาและมองข้อมูลให้ครบถ้วน เช่น พนักงานในองค์กรต้องการอะไร, อะไรเป็น Pain point ของลูกค้า เป็นต้น ซึ่งขั้นตอน Empathize นี้อยู่ภายใต้องค์ประกอบ 8 ประการ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการทำงานของสมองในการแก้ปัญหาและความหมายการคิดเชิงวิจารณญาณ
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
- เพื่อให้ผู้เรียนฝึกสร้างนิสัยการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานความเข้าใจการคิดเชิงวิจารณญาณ
Module - 2 องค์ประกอบของการคิดเชิงวิจารณญาณ
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- การทำงานของสมองในการแก้ปัญหา
- อุปสรรคของการคิดเชิงวิจารณญาณ
- ความหมายของการคิดเชิงวิจารณญาณ
- Activity I: ฝึกฝนการคิดวิจารณญาณ
- ทำไมต้องคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Module - 3 ความคิดสนับสนุนให้เกิดความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
- มีความชัดเจน
- มีความถูกต้อง
- มีความแม่นยำ
- มีความเกี่ยวข้อง
- มีความลึก
- มีความกว้าง
- มีความเป็นเหตุเป็นผล
- มีความยุติธรรม
Module - 4 ขั้นตอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
- ความคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ
- ความคิดเชิงวิเคราะห์
- ความคิดเชิงเหตุผล
- ความคิดเชิงระบบ
- Activity II: การตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ
- เครื่องมือช่วยจัดระเบียบความคิด
Module - 5 เรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ
- Empathize – ข้อมูล + เข้าใจ
- Define – กำหนดขอบเขตปัญหา + เป้าหมาย
- Ideate – ระดม “ความคิด” (ทุกความคิด “เป็นไปได้”)
- Prototype – ลงมือทำตามแบบจำลอง
- Test – ทดสอบ + ปรับปรุงและพัฒนา
Module - 6 การสร้างนิสัยการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
- ตัวอย่างเรียนรู้: Dream workplace
- ตัวอย่างเรียนรู้: เด็กสมัยนี้
- Activity III: ช่วยแก้ปัญหาเด็กสมัยนี้
- Activity IV: แก้ปัญหาองค์กรอย่างมีวิจารณญาณ (ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงของผู้เรียน)
- คำพูดที่มักปิดกั้นความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
- Growth mindset ของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)