หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันสูง องค์กรต้องปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโต บริษัทระดับโลกอย่างโตโยต้า (Toyota) ก็เช่นเดียวกัน โดยโตโยต้านั้นได้ผ่านมาวิกฤตมาหลากหลาย ผ่านการล้มลุกคลุกคลาน ตลอดจนผ่านความสำเร็จมาอย่างมากมาย แต่ไม่ว่าเศรษฐกิจโลกจะผันผวนอย่างไร บริษัทโตโยต้าก็ยังคงยืนหยัดในวิธีคิดและวิธีปฏิบัติเดิมอยู่เสมอ และยังคงใช้หลักปฏิบัติเดียวกันนี้ นำมาพัฒนาแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา จนสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างงดงาม ตลอดจนมีหลายองค์กรนำระบบการผลิตแบบโตโยต้าไปปรับใช้กับองค์กรของตนเองจนประสบความสำเร็จเช่นกัน
ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System – TPS) มุ่งเน้นเป้าหมายการผลิตที่ได้คุณภาพสูงสุด ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด และด้วยเวลาผลิตที่สั้นที่สุด (Goal : Highest Quality, Lowest Cost and Shortest Lead Time) โดยอยู่บนเสาหลัก 2 เสา ดังนี้
- Pillar 1: ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-In-Time)
- Pillar 2: การสร้างคุณภาพสู่กระบวนการด้วย JIDOKA (Built-in Quality)
ระบบการผลิตแบบโตโยต้า มีระบบการบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยม เกิดการเรียนรู้ในการพัฒนาและเปลี่ยนระบบการผลิต การพัฒนาทักษะบุคลากรให้มีความสามารถในหลาย ๆ ทักษะ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทุกองค์กรสามารถนำมาปรับใช้ได้คือการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต ซึ่งมีรายละเอียดสำคัญดังนี้
- การขจัดความสูญเปล่า 7 ประการ
- การผลิตแบบทันเวลาพอดี (JIT)
- ระบบการผลิตแบบดึง (Pull System)
- บัตรคัมบัง (Kanban)
- การเฉลี่ยและการปรับเรียบการผลิต (Heijunka)
- การทำให้เป็นมาตรฐาน (Standardization)
- การผลิตแบบไหลผ่าน (Single-piece flow)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแนวคิดของระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System – TPS) โดยเรียนรู้จาก Toyota Production System House
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ระบบการผลิตขององค์กรโดยเทียบกับระบบการผลิตแบบโตโยต้า
- เพื่อให้ผู้เรียนทบทวนวิธีการดำเนินกิจกรรมการผลิตขององค์กรโดยเทียบกับระบบการผลิตแบบโตโยต้า
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและฝึกคำนวณ Takt Time และ Cycle Time อย่างง่าย
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานระบบการผลิตแบบโตโยต้าModule - 2 การบริหารจัดการระบบ TPS
- ความพิเศษของระบบการผลิตแบบโตโยต้า
- จิตสำนึกความเป็นเจ้าของ (OQ) กับ TPS
- ต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของ Toyota
- Toyota Production System House
- 2 เสาหลักของระบบการผลิตแบบโตโยต้า
ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-In-Time)
การสร้างคุณภาพสู่กระบวนการด้วย JIDOKA (Built-in Quality)- Activity I: การเปรียบเทียบ TPS House กับองค์กร
- การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต
สายการผลิตแบบสายพานลำเลียง
สายการผลิตรูปตัว U
สายการผลิตแบบ Cell Line
มาตรฐานของเครื่องจักรและชิ้นส่วน- Activity II: การวิเคราะห์ระบบการผลิต
- การเปลี่ยนแปลงบุคลากร
การพัฒนาพนักงานหลายทักษะ
ความยืดหยุ่นในการใช้บุคลากร- การเปลียนแปลงวิธีการผลิต
การขจัดความสูญเปล่า 7 ประการ
การผลิตแบบทันเวลาพอดี (JIT)
ระบบการผลิตแบบดึง (Pull System)
บัตรคัมบัง (Kanban)
การเฉลี่ยและการปรับเรียบการผลิต (Heijunka)
การทำให้เป็นมาตรฐาน (Standardization)
การผลิตแบบไหลผ่าน (Single-piece flow)- Activity III: การทบทวนวิธีการผลิต
- Activity IV: กิจกรรมคำนวณ Takt Time และ Cycle Time
- การเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร
PDCA หัวใจของวิถีแห่งโตโยต้า
การฝึกอบรมภายในอุตสาหกรรม
การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (To Learn by Doing)
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)