หลักการและเหตุผล
ในแต่ละประเทศมีวัฒนธรรมการทำงานแตกต่างกัน ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่คนในประเทศนั้นเจอ ทั้งหมดล้วนหล่อหลอมให้เกิดรูปแบบการทำงานขึ้นมา จนกลายเป็นวัฒนธรรมการทำงานของคนในชาตินั้น วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นมีความชัดเจน ไม่เหมือนชาติอื่นในโลก มีการทำงานที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีหลักการ และมีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุต่าง ๆ เช่น การแก้ปัญหาในกระบวนการผลิตด้วย QC Story หรือมีการวิเคราะห์รากสาเหตุของปัญหา (Root Cause Analysis) เป็นต้น นอกจากนี้ วัฒนธรรมในการทำงานเน้นการทำงานเป็นทีม การให้ความสำคัญกับระบบอาวุโส ระเบียบวินัย ระบบแก้ไขความผิดปกติด้วยหลักการ หยุด เรียก รอ (TYM = Tomeru-Yobu-Matsu) และการใช้ระบบ Ho Ren So
ระบบ Ho Ren So มีความสำคัญมากในกระบวนการผลิต และเป็นหัวใจสำคัญในการทำงาน Ho Ren So จะทำให้การทำงานของเราเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ติดปัญหา โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เราไม่เข้าใจ เกิดความผิดปกติ หรือมีข้อผิดพลาดขึ้น ถ้าเราไม่มีการรายงาน แล้วตัดสินใจแก้ปัญหาเอง อาจส่งผลเสียมากกว่าที่เราคาดคิดได้ โดยสามารถใช้ร่วมกับระบบแก้ไขความผิดปกติที่เรียกว่า “หยุด เรียก รอ” (TYM = Tomeru-Yobu-Matsu) ได้อย่างดี นอกจากการรายงานความผิดปกติแล้ว ระบบ Ho Ren So ยังเอื้อให้เราได้ใช้ประโยชน์จากหัวหน้า ผ่านการของคำปรึกษาได้อีกด้วย ทำให้เราสามารถพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
การแก้ไขความผิดปกติด้วยหลักการ “หยุด เรียก รอ” (TYM = Tomeru-Yobu-Matsu) ต้องมีขั้นตอนและมาตรฐานการปฏิบัติงานให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจ โดยสามารถทำในรูปแบบ Flow diagram เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ โดย TYM มีหลักการดังนี้
- หยุด (Tomeru) เมื่อพบปัญหาหรือความผิดปกติในกระบวนการ
- เรียก (Yobu) หัวหน้าหรือผู้เกี่ยวข้องมารับทราบปัญหาและตรวจสอบสิ่งผิดปกติ
- รอ (Matsu) จนปัญหาได้รับการแก้ไขเสร็จ หรือจนแน่ใจว่าปลอดภัย
องค์ประกอบของระบบ Ho Ren So มีดังนี้
- การรายงาน (Ho – Houkoku - โฮโคคุ)
- การติดต่อ (Ren – Renraku - เรนราคุ)
- การปรึกษา (So – Soudan - โซดัง)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารและรายงานในสายการผลิต
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการสื่อสารแบบ Ho Ren So (โฮ เรน โซ)
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการแก้ไขความผิดปกติด้วยหลักการ หยุด เรียก รอ (TYM)
- เพื่อให้ผู้เรียนปรับปรุงการปฏิบัติงานด้วย Ho Ren So และ TYM
- เพื่อให้ผู้เรียนวิเคราะห์กรณีศึกษาด้วยองค์ความรู้ Ho Ren So และ TYM
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นและ Ho Ren So (โฮ เรน โซ)Module - 2 การแก้ไขความผิดปกติด้วยหลักการ หยุด เรียก รอ (TYM)
- สำรวจรูปแบบการสื่อสารและแก้ความผิดปกติในองค์กร
- ความสำคัญของการสื่อสารและรายงานในสายการผลิต
- วัฒนธรรมในการทำงานแบบญี่ปุ่น
ทำงานเป็นทีมและระเบียบวินัย
การให้ความสำคัญกับระบบอาวุโส
การใช้ระบบ Ho Ren So
การใช้ระบบ (TYM = Tomeru-Yobu-Matsu)- ความหมายของ Ho Ren So
- Ho Ren So หัวใจสำคัญของการทำงาน
Module - 3 การประยุกต์ใช้การสื่อสารและแก้ความผิดปกติแบบ Ho Ren So
- หยุด (Tomeru) เมื่อพบปัญหาหรือความผิดปกติในกระบวนการ
- เรียก (Yobu) หัวหน้าหรือผู้เกี่ยวข้องมารับทราบปัญหาและตรวจสอบสิ่งผิดปกติ
- รอ (Matsu) จนปัญหาได้รับการแก้ไขเสร็จ หรือจนแน่ใจว่าปลอดภัย
- ตัวอย่างเรียนรู้ของระบบหยุด เรียก รอ (TYM)
- Activity I: ทบทวนการปฏิบัติงานด้วย Ho Ren So และ TYM
- สถานการณ์ที่จำเป็นต้องใช้ Ho Ren So
- วิธีการใช้ Ho Ren So ภายในแผนกผลิต
- การใช้ 5W1H ในการสื่อสารแบบ Ho Ren So
- 1) การรายงาน (Ho – Houkoku - โฮโคคุ)
- หลักการสำคัญ 2 ประการของการรายงาน Houkoku
- องค์ประกอบของการรายงาน Houkoku
ผลลัพธ์ ข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น
- การใช้หลักการหยุด เรียก รอ (TYM) กับการรายงาน
- 2) การติดต่อ (Ren – Renraku - เรนราคุ)
- สถานการณ์ที่จำเป็นต้องติดต่อ
ติดต่อทันที – เกิดปัญหาที่ส่งผลต่อการทำงาน
สม่ำเสมอ – Update ความคืบหน้าของงาน
เรื่องเร่งด่วน - รายงานแบบ Face to Face- 3) การปรึกษา (So – Soudan - โซดัง)
- องค์ประกอบสำคัญของการปรึกษา
เรื่องงาน หรือ เรื่องส่วนตัว
ให้ความสำคัญการนัดหมาย (มารยาท)
เตรียมไอเดียส่วนตัวก่อนการปรึกษา- Case Study: วิเคราะห์และแก้ปัญหาในกรณีศึกษาด้วย Ho Ren So & TYM
- Activity II: ปรับปรุงการปฏิบัติงานด้วย Ho Ren So และ TYM
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)