หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันสูง องค์กรต้องปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด กลยุทธ์ที่สามารถทำได้ผลดีคือ “การลดต้นทุนด้วยการมุ่งลดความสูญเปล่าในกระบวนการ” ซึ่งความสูญปล่าสามารถเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า การทำงานใด ๆ ที่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับสินค้าและบริการ ซึ่งแนวคิดหนึ่งในการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพคือ “Lean Management” โดยมีตัวเลขทางสถิติน่าสนใจได้กล่าวว่า “ความสูญเปล่าในกระบวนการของอุตสาหกรรมหนึ่งต่อปีมีประมาณ 10% - 35%” ตัวเลขดังกล่าวนับว่าสูงมาก ดังนั้นการบริหารจัดการความสูญเปล่าอย่างมีประสิทธิภาพย่อมส่งผลต่อต้นทุนรวม (Total Cost) ของสินค้าอย่างแน่นอน
การบริหารต้นทุนเชิงประสิทธิภาพด้วยแนวคิด Lean Management มีต้นกำเนิดจากอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing Industry) การระบุความสูญเปล่าในกระบวนการสามารถระบุได้โดยง่าย เนื่องจากกระบวนการทำงานเป็นสิ่งที่จับต้องได้ชัดเจน (Tangible Work) แต่การทำงานในส่วนอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง เช่น ธนาคาร สุขภาพ บัญชี หรืองานราชการ เป็นต้น ที่ได้นำแนวคิด Lean ไปประยุกต์ใช้ อาจมีบางมิติที่ไม่สามารถระบุความสูญเปล่าได้ชัดเจน เนื่องจากเป็นกระบวนการทำงานกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Work) จึงจำเป็นต้องใช้การเรียนรู้จากตัวอย่าง “ความสูญเปล่าในสำนักงาน (งานบริการ) 7 ประการ” โดยมีองค์ประกอบดังนี้
- 1.การผลิตที่มากเกินไปในระบบสำนักงาน (Overproduction)
- 2.ภาวะการรอคอยในกระบวนการ (Waiting in Process)
- 3.การเคลื่อนไหวภายในและภายนอก (Internal & External Motion)
- 4.การขนย้ายที่ไม่สร้างมูลค่าของระบบเอกสาร (Non-Added Value Transportation)
- 5.กระบวนการทำงานซ้ำซ้อน (Excessive Processing)
- 6.รูปแบบของสินค้าคงคลังในระบบสำนักงาน (Inventory in Office)
- 7.ความบกพร่องของการปฏิบัติงานในสำนักงาน (Defect on Document and Service)
การลดความสูญเปล่าในกระบวนการของสำนักงาน โดยปกติแล้วทำได้ง่ายกว่าในอุตสาหกรรมการผลิต แต่ “มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์” (Economic Value of Waste) อาจระบุได้ไม่ชัดเจน จึงมีความจำเป็นต้องกำหนดมูลค่าความสูญเสียที่กระทบต่อต้นทุน ในรูปแบบของตัวเลขที่เกิดจากการวิเคราะห์ในแต่ละประเด็นของความสูญเปล่า (Identifying Waste) เพื่อจูงใจให้กำจัดความสูญเปล่า
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการบริหารต้นทุนด้วยแนวคิด “Lean Management” และเกิดจิตสำนึกความมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ (Ownership Quotient) ในการลดต้นทุนการทำงานของตนเอง
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถระบุความสูญเปล่าในสำนักงาน 7 ประการ (Identifying Waste) และกำหนดแนวทางในการกำจัดความสูญเปล่าด้วยตนเอง
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานและแนวคิดการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานModule - 2 หลักการสำคัญของการลดต้นทุนในกระบวนการ
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่ของสมองก่อนการเรียนรู้
- แนวคิดการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- กรณีศึกษา: เพื่อสร้างจิตสำนึกในการลดต้นทุน
- จิตสำนึกความเป็นเจ้าของกับการลดต้นทุน (Ownership Quotient)
- Operation Management กับการลดต้นทุนในองค์กร
- Activity I: สำรวจความมีประสิทธิภาพของกระบวนการ
Module - 3 เครื่องมือและเทคนิคเพื่อลดความสูญเปล่าในงานบริการ
- แนวความคิดของ Toyota Production System
- การบริหารต้นทุนด้วยแนวคิด Lean Management
- กรอบทางความคิดของ Lean กับการระบุความสูญเปล่า
- การวิเคราะห์มูลค่าความสูญเปล่าด้วยแนวคิดเศรษฐศาสตร์
- ตัวอย่าง: ความสูญเปล่าในสำนักงาน (งานบริการ) 7 ประการ
การผลิตที่มากเกินไปในระบบสำนักงาน (Overproduction)
ภาวะการรอคอยในกระบวนการ (Waiting in Process)
การเคลื่อนไหวภายในและภายนอก (Internal & External Motion)
การขนย้ายที่ไม่สร้างมูลค่าของระบบเอกสาร (Non-Added Value Transportation)
กระบวนการทำงานซ้ำซ้อน (Excessive Processing)
รูปแบบของสินค้าคงคลังในระบบสำนักงาน (Inventory in Office)
ความบกพร่องของการปฏิบัติงานในสำนักงาน (Defect on Document and Service)- Activity II: ค้นหาความสูญเปล่าในสำนักงาน 7 ประการ
Module - 4 การค้นหาและลดความสูญเปล่าอย่างยั่งยืน
- การวิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติการ (Process Analysis)
Flow Process Chart & Flow Process Diagram
- การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure)
- การประยุกต์ใช้ระบบการควบคุมด้วยสายตา (Visual Management)
- การประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์กับผู้ปฏิบัติงาน (Ergonomics)
- Activity III: การประยุกต์ใช้เครื่องมือเพื่อลดต้นทุนความสูญเปล่า
- ความสูญเปล่าสำคัญลำดับที่ 8 (8th Waste in Process)
- แนวคิด “Knowledge is not Understanding”
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)