หลักการและเหตุผล
ผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีศักยภาพสูงเป็นที่ต้องการขององค์กรในปัจจุบัน ดังนั้นหัวหน้างานหรือผู้บริหารยุคใหม่ควรให้ความสำคัญกับทักษะการโค้ช (Coaching Skill) เนื่องจากทักษะดังกล่าวสามารถพัฒนาลูกน้องให้มีผลการปฏิบัติงานดีขึ้น ทำงานผิดพลาดน้อยลง สามารถใช้ความคิดและศักยภาพภายในตนเอง นำไปแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพมากขึ้น ดังนั้นองค์กรควรพัฒนาหัวหน้าและผู้จัดการให้มีทักษะการโค้ชหรือการเป็นผู้นำแบบโค้ช (Leader as Coach) ซึ่งจะส่งผลต่อผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นขององค์กร
กระบวนการโค้ชชิ่ง (Coaching Process) มีขั้นตอนอย่างเป็นระบบ (Systematic Approach) เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์อยู่ในกระบวนการ สามารถเรียนรู้เชิงทฤษฎีได้ไม่ยาก แต่การมีทักษะสำคัญต่าง ๆ ของการโค้ชต้องเกิดจากการลงมือปฏิบัติเท่านั้น โค้ชที่ดีต้องเข้าใจกลไกการทำงานของสมองในมิติของ “การโค้ชโดยใช้สมองเป็นฐาน” (Brain Base Coaching) เนื่องจากสมองทำหน้าที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ผ่านระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Brain Activity Response) และหนึ่งในทักษะสำคัญของการโค้ชคือ “การถามคำถามทรงพลัง” (Powerful Question) ดังนั้นการใช้คำพูดและคำถามที่เหมาะสมมีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนหน้า (Pre – Frontal Cortex) และสมองส่วนการทำให้ชีวิตอยู่รอด (Limbic System)
การพัฒนาทักษะการโค้ชอย่างเป็นระบบ (Systematic Coaching) ผู้เป็นโค้ชต้องเข้าใจองค์ประกอบและมีแนวความคิดที่ถูกต้องของการเป็นโค้ช ซึ่งทำให้โค้ชเชื่อว่าผู้รับการโค้ช (โค้ชชี่ - Coachee) มีศักยภาพในตนเอง การยอมรับและการเปลี่ยนแปลงต้องเกิดจากโค้ชชี่เอง กระบวนการโค้ชมุ่งเน้นที่วิธีการแก้ปัญหา ไม่เน้นที่ตัวปัญหา และสุดท้ายโค้ชมีความเชื่อว่าโค้ชชี่มีวิธีการอันเหมาะสมในการบรรลุเป้าหมายของตนเอง โดยต้องอาศัยทักษะสำคัญของการโค้ช (Coaching Skill) ดังนี้
- การใช้คำถามทรงพลัง (Powerful Questioning)
- การรับฟังอย่างตั้งใจ (Listening)
- การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก (Positive Feedback)
- การสร้างแรงจูงใจ (Motivation)
- การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน (Set Goal)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพทีมงานด้วยทักษะการโค้ช (Coaching Skill) แบบการโค้ชโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Base Coaching)
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการโค้ชอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีการเรียนรู้เชิงทฤษฎีและการจำลองสถานการณ์การโค้ช พร้อมกับเตรียมข้อมูลและแสดงบทบาทการโค้ชด้วยตนเอง
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานการโค้ชกับการพัฒนาศักยภาพทีมงานModule - 2 การทำงานของสมองกับการโค้ชผลการปฏิบัติงาน
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่ของสมองก่อนการเรียนรู้
- ศักยภาพกับผลการปฏิบัติงาน (Potential & Performance)
- การแสดงออกของผู้นำกับ TAPS Model
- การพัฒนาศักยภาพด้วย Skill – Will Matrix
- Workshop I: สำรวจวิธีการพัฒนาศักยภาพทีมงาน
- นิยามของการโค้ช (Definition of Coaching)
- จุดประสงค์ของการโค้ช (Objective of Coaching)
- ความหมายของการโค้ชผลการปฏิบัติงาน
- Workshop II: การเตรียมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการโค้ช
Module - 3 การพัฒนาทักษะการโค้ชอย่างเป็นระบบ (Systematic Coaching)
- การโค้ชโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Coaching)
- การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นของสมอง (Brain Activity Response)
- เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์
- ตัวอย่างชุดคำถามสร้างสรรค์การทำงานของสมอง
- Activity I: การฝึกถามด้วย Characteristic Questions
Module - 4 การพัฒนาทักษะการโค้ชอย่างยั่งยืน
- องค์ประกอบของการโค้ชผลการปฏิบัติงาน
- แนวความคิดที่ถูกต้องของการเป็นโค้ช
- ทักษะสำคัญของการโค้ช
การใช้คำถามทรงพลัง (Powerful Questioning)
การรับฟังอย่างตั้งใจ (Listening)
การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก (Positive Feedback)
การสร้างแรงจูงใจ (Motivation)
การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน (Set Goal)- การโค้ชด้วย Grow Model & Insight Loop (วงจรแห่งปัญญา)
- กระบวนการโค้ชอย่างเป็นระบบ (Systematic Coaching Process)
- จำลองสถานการณ์ (กรณีศึกษา) : การโค้ชผลการปฏิบัติงาน
- Role Playing: เตรียมข้อมูลและแสดงบทบาทการโค้ชงาน
- แนวคิด “Knowledge is not Understanding”
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)