หลักการและเหตุผล
องค์การจะประสบความสำเร็จได้ต้องเกิดจากบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่องค์การควรลงมือดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้นำระดับต้นและระดับกลางเปรียบได้กับ “หัวหน้างาน” ที่มีความใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ดังนั้นถ้าหัวหน้างานมีภาวะความเป็นผู้นำสูงขึ้น ย่อมส่งผลให้การบริหารปกครองลูกน้องทำได้ง่ายขึ้น และส่งผลโดยตรงต่อผลการปฏิบัติงานของทีมงานและความสำเร็จขององค์กร
การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำของหัวหน้างานนั้น องค์กรควรให้ความสำคัญ และหัวหน้างานควรตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว อันจะส่งผลให้ตนเองได้รับ “ความน่าเชื่อถือ” หรือ “ความศรัทธา” จากผู้ใต้บังคับบัญชา โดยภาระความสำคัญดังกล่าวเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- หัวหน้างานเป็นผู้รับมอบหมายงานและนโยบายจากฝ่ายบริหารไปสู่การปฏิบัติให้สำเร็จ ดังนั้นหัวหน้างานจึงเปรียบเสมือนตัวแทนของบริษัท
- หัวหน้างานเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์และอำนวยความสะดวกในการทำงานให้กับทีมงาน ดังนั้นหัวหน้างานจึงเปรียบเสมือนตัวแทนของลูกน้อง
- หัวหน้างานเป็นผู้เกี่ยวข้องกับบุคลากรหลายฝ่ายและหลายระดับ (ประสานงาน 360 องศา) ดังนั้นหัวหน้างานจึงสร้างผลกระทบในการทำงานได้ในวงกว้างมากกว่าระดับปฏิบัติการ
- หัวหน้างานเป็นผู้ที่ลูกน้องมองเป็นตัวอย่างในแบบอย่างและพฤติกรรมต่าง ๆ
- หัวหน้างานเป็นผู้ขับเคลื่อนการทำงานให้ก้าวหน้าผ่านการมอบหมายงานและบริหารทีมงาน
- หัวหน้างานเป็นผู้รับผิดชอบการพัฒนาลูกน้องให้มีผลการปฏิบัติงานสูงขึ้น
ผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีศักยภาพสูงเป็นที่ต้องการขององค์กรในปัจจุบัน ดังนั้นหัวหน้างานหรือผู้บริหารยุคใหม่ควรปรับตัวให้เป็นหัวหน้างานแบบ “โค้ช” และควรให้ความสำคัญกับทักษะการโค้ช (Coaching Skill) เนื่องจากทักษะดังกล่าวสามารถพัฒนาลูกน้องให้มีผลการปฏิบัติงานดีขึ้น ทำงานผิดพลาดน้อยลง โดยใช้ความคิดและศักยภาพภายในตนเอง นำไปแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพมากขึ้น ดังนั้นองค์กรควรพัฒนาหัวหน้างานให้มีทักษะการโค้ชหรือการเป็นผู้นำแบบโค้ช (Leader as Coach) ซึ่งจะส่งผลต่อผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นขององค์กร
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของตำแหน่งหัวหน้างานและผู้นำแบบโค้ช ซึ่งส่งกระทบผลโดยตรงต่อความสำเร็จของทีมงานและองค์กร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจบทบาทและความรับผิดชอบของหัวหน้างาน อันมีผลต่อการวางตัวและการปฏิบัติตัวเพื่อให้เกิด “ความน่าเชื่อถือ” และ “ความศรัทธา” ของลูกน้อง
- เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้การเป็นผู้นำแบบโค้ช และเรียนรู้ทักษะสำคัญของการโค้ช (Coaching Skill) ซึ่งมีผลต่อผลการปฏิบัติงานของลูกน้อง
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานการเป็นหัวหน้า (ผู้นำ) สไตล์โค้ชModule - 2 การโค้ชกับการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำระดับ 3 & 4
- หัวหน้าแบบ “ตำแหน่ง” กับหัวหน้าแบบ “ผู้นำสไตล์โค้ช”
- “ความน่าเชื่อถือ” หรือ “ความศรัทธา” กุญแจของผู้นำ
- หลักการสำคัญ 2 ประการของการสร้าง “ความน่าเชื่อถือ”
- ความหมายของภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership)
- Workshop I: สำรวจภาวะความเป็นผู้นำในตนเอง
Module - 3 การเพิ่มประสิทธิภาพผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยกระบวนการโค้ชชิ่ง (Coaching Process)
- การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ 5 ระดับ
- ความหมายของภาวะผู้นำระดับที่ 3 & 4
- กระบวนการโค้ชชิ่ง (Coaching Process) สำคัญอย่างไร?
- ศักยภาพกับผลการปฏิบัติงาน (Performance) ของผู้ใต้บังคับบัญชา
- นิยามของการโค้ชและจุดประสงค์ของการโค้ช
- เรียนรู้ความแตกต่างของการพัฒนาลูกน้องด้วย TAPS Model
- ความหมายของการโค้ชผลการปฏิบัติงาน (Performance Coaching)
- Workshop II: สำรวจการพัฒนาลูกน้องของตนเอง
- การโค้ชงานด้วยแนวทาง Brain Base Coaching
- องค์ประกอบของการโค้ชงาน
- แนวความคิดที่ถูกต้องการเป็นโค้ชสอนงาน
- ทักษะสำคัญของการโค้ช (Coaching Skill)
การใช้คำถาม (Questioning)
การรับฟังอย่างตั้งใจ (Listening)
การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก (Positive Feedback)
การสร้างแรงจูงใจ (Motivation)
การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน (Set Goal)Module - 4 การพัฒนาหัวหน้า (ผู้นำ) ต้องเป็นโค้ชอย่างยั่งยืน
- การโค้ชผลการปฏิบัติงานด้วย GROW Model
- ความเข้าใจอย่างชัดเจนด้วย Insight Loop
- คลิปวีดีโอจำลองสถานการณ์ : การโค้ชงานการเพื่อเพิ่มผลการปฏิบัติงาน
- Workshop III: ออกแบบและฝึกปฏิบัติการโค้ช
- เรียนรู้ธรรมชาติของการพัฒนาภาวะผู้นำ
- เป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนาภาวะผู้นำ
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)