หลักการและเหตุผล
องค์การจะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง “คุณภาพ” ในสินค้าและบริการ ต้องมีกลยุทธ์หรือวิธีการในการพัฒนาบุคลากร มีขั้นตอนสำหรับการแก้ไขปัญหา และการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง หรือเรียกอีกชื่อว่า “กระบวนการแก้ไขปัญหาแบบคิวซีสตอรี่ (QC Story) เพื่อสร้างความพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งการพัฒนาให้ได้มาซึ่งคุณภาพนั้นสามารถทำได้โดยการลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วย “บุคลากร” อันหมายถึงการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะการทำงานของพนักงาน
ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) สามารถนำมาใช้อย่างได้ผลทั้งในส่วนของการปรับปรุงคุณภาพ, การปรับปรุงงาน และการเพิ่มผลผลิตให้กับองค์การ หนึ่งในความรู้ทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการคือ เครื่องมือควบคุมคุณภาพ (Quality Control Tools – QC Tools) อันเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมากต่อการปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งถูกนำมาใช้ใน “กิจกรรมกลุ่มคุณภาพคิวซีเซอร์เคิล (QC Circle – QCC)” บนพื้นฐานของจิตสำนึกการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (PDCA) หรือที่เรียกว่า “ไคเซ็น (Kaizen)”
การพัฒนากิจกรรมกลุ่มคุณภาพให้ประสบความสำเร็จ องค์กรต้องมีขั้นตอนดำเนินการอย่างชัดเจนอันประกอบด้วย การตั้งชื่อกลุ่ม การจดทะเบียนกลุ่ม ให้ความรู้ และประโยชน์ของการทำ QCC แก่สมาชิก สร้างขั้นตอนการแก้ปัญหาที่เป็นระบบ (QC Story) สร้างระบบจูงใจให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรม มีนโยบายส่งเสริมกิจกรรมชัดเจนจากฝ่ายบริหาร พร้อมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมจากฝ่ายบริหาร เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดสามารถรวมเรียกได้ว่า “การบริหารเพื่อคุณภาพโดยรวม (TQM – Total Quality Management)”
กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC ต้องอาศัยเครื่องมือควบคุมคุณภาพช่วยคัดเลือกและแก้ปัญหา (QC Tools) ซึ่งแต่ละเครื่องมือมีวัตถุประสงค์การใช้แตกต่างกันไป โดยเราสามารถนำแต่ละเครื่องมือมาผูกโยงหาความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม และใช้พร้อมกับเทคนิคที่ส่งเสริมการวิเคราะห์ปัญหาคือ การถามทำไม 5 ครั้ง เพื่อหาสาเหตุรากเหง้า (5 Why Technique) และหลักการ 3 จริง บนพื้นฐานของ 2 ทฤษฎี (Genba, Genbutsu, Genjisu + Genri, Gensoku)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงคุณภาพ เข้าใจความหมายของการควบคุมคุณภาพ เห็นประโยชน์จากการสร้างและพัฒนากิจกรรมกลุ่มคุณภาพ (QCC)
- เพื่อให้ผู้เรียนมีขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ และมีกระบวนการแก้ปัญหาเป็นระบบ เป็นขั้นตอน ด้วยคิวซีสตอรี่ (QC Story) ที่มีความสอดคล้องกับวงจร PDCA
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจวัตถุประสงค์ของเครื่องมือคุณภาพแต่ละชนิด โดยเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ (Activity) จากปัญหาคุณภาพของผู้เรียน
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานและแนวคิดของการควบคุมคุณภาพ
Module - 2 การพัฒนากิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC
- แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- ความหมายของคุณภาพ (What is Quality?)
- ความหมายของการควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
- แนวความคิดของการควบคุมคุณภาพ (เชิงเทคนิคและเชิงจัดการ)
- หลักการของการควบคุมคุณภาพ (QC Principle)
Module - 3 แนวคิดและหลักการของกระบวนการแก้ปัญหาคุณภาพ
- ความหมายของกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ
- กิจกรรมกลุ่มคุณภาพกับระดับของไคเซ็น
- วัตถุประสงค์และประโยชน์ของ QCC
Module - 4 เครื่องมือและเทคนิคสำหรับกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC
- กระบวนการแก้ปัญหาแบบต่าง ๆ
- กระบวนการแก้ปัญหาแบบคิวซีสตอรี่ (QC Story)
- ความสัมพันธ์ของวงจร SDCA และ PDCA
- แนวคิดของการบริหารงานสมัยใหม่
Management = Standardization + Improvement Activity
ความเป็นระบบ (System) และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (PDCA)- ความหมายและประเภทของปัญหา (Sporadic & Chronic Problem)
ปัญหาคุณภาพในมิติของความบกพร่อง (Defect)
ปัญหาคุณภาพในมิติของความไม่ตรงตามข้อกำหนด (NC-Nonconformity)- ปัญหาการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจระดับนโยบาย
- ปัญหาระดับการจัดการงานประจำวัน
- Activity I: ค้นหาปัญหาคุณภาพในกระบวนการ
- กระบวนการแก้ปัญหาคุณภาพแบบ QC Story 7 ขั้นตอน
- เครื่องมือคุณภาพที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ (QC Tools)
- เทคนิคแก้ปัญหา 5 Why, How-How, 3G & Brainstorming
- เรียนรู้ตัวอย่างการแก้ปัญหาแบบ QC Story
- Activity II: การแก้ปัญหาคุณภาพแบบ QC Story (1)
- Activity III: การแก้ปัญหาคุณภาพแบบ QC Story (2)
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)