หลักการและเหตุผล
องค์การจะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง “คุณภาพ” ในสินค้าและบริการ ต้องมีกลยุทธ์หรือวิธีการในการพัฒนาบุคลากร มีขั้นตอนสำหรับการแก้ไขปัญหา และการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง หรือเรียกอีกชื่อว่า “กระบวนการแก้ไขปัญหาแบบคิวซีสตอรี่ (QC Story) เพื่อสร้างความพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งการพัฒนาให้ได้มาซึ่งคุณภาพนั้นสามารถทำได้โดยการลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วย “บุคลากร” อันหมายถึงการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะการทำงานของพนักงาน
กระบวนการแก้ไขปัญหาคุณภาพแบบคิวซีสตอรี่ (QC Story) มีขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และมีเหตุมีผล ในปัจจุบันนี้พบว่ามีแนวทางการแก้ปัญหาเกิดขึ้นหลายค่าย อุตสาหกรรมของประเทศไทยมีการใช้ตามความเหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์กร อย่างไรก็ตาม วิธีการของแต่ละค่ายมีขั้นตอนต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะมีความใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันเล็กน้อยในบางประเด็น สามารถแยกประเภทของกระบวนการแก้ปัญหาได้ดังนี้
- ตัวแบบ DISC ของ JURAN
- กระบวนการแก้ปัญหาที่สมเหตุสมผลของ Kepner – Tregoe
- วิธีการแก้ปัญหาแบบ Six Sigma ของ MOTOROLA
- คิวซีสตอรี่ของ JSA – Japan-ASEAN TQM Project
- คิวซีสตอรี่ของ JUSE - กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QC Circle
การวิเคราะห์ปัญหาและปรับปรุงคุณภาพ สามารถนำมาถอดบทเรียนเพื่อสร้างองค์ความรู้ภายในองค์กร (Knowledge Management) ด้วยแนวคิดของ “A3 Report” โดยการเรียนรู้แบบเทียบเคียงกับวงจร PDCA (Deming Circle) และกระบวนการแก้ปัญหาด้วยคิวซีสตอรี่ (QC Story) ของ JUSE ซึ่งการสร้างองค์ความรู้ด้วยแนวทางดังกล่าว นอกจากส่งเสริมให้บุคลากรเกิดทักษะการแก้ปัญหาแล้ว ยังส่งผลให้เกิดการสะสมความรู้หรือสร้างนวัตกรรมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เพื่อการเรียนรู้และต่อยอดองค์ความรู้ให้กับบุคลากรในองค์กรได้อีกด้วย
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมาย หลักการ และแนวคิดของการควบคุมคุณภาพ และแนวคิดของการบริหารงานสมัยใหม่
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคัดเลือกปัญหาคุณภาพได้อย่างเหมาะสมกับกลยุทธ์องค์กร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาคุณภาพแบบ QC Story ตามมาตรฐาน JUSE
- เพื่อให้ผู้เรียนฝึกแก้ปัญหาคุณภาพด้วยการใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพ (QC Tools)
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถถอดบทเรียนการแก้ปัญหาด้วย A3 Report
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 หลักการและแนวคิดของการควบคุมคุณภาพModule - 2 แนวคิดในการคัดเลือกปัญหาคุณภาพ
- แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- คุณภาพคืออะไร (What is Quality?)
- ความหมายของคุณภาพจากปรามาจารย์ 3 ท่าน
- หลักการของการควบคุมคุณภาพ
- แนวคิดของการควบคุมคุณภาพ (เชิงเทคนิคและเชิงจัดการ)
- แนวคิดของการบริหารงานสมัยใหม่
Management = Standardization + Improvement Activity
ความเป็นระบบ (System) และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (PDCA)
Module - 3 กระบวนการแก้ปัญหาคุณภาพแบบ QC Story
- ความหมายและประเภทของปัญหา (Sporadic & Chronic Problem)
ปัญหาคุณภาพในมิติของความบกพร่อง (Defect)
ปัญหาคุณภาพในมิติของความไม่ตรงข้อกำหนด (์NC-Nonconformity)- ปัญหาการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจระดับนโยบาย
- ปัญหาระดับการจัดการงานประจำวัน
- Activity I: ค้นหาปัญหาคุณภาพในกระบวนการ
- ความสัมพันธ์ของวงจร SDCA และ PDCA
Module - 4 เครื่องมือและเทคนิคของการแก้ปัญหาด้วย QC Story
- ความหมายของการแก้ปัญหาแบบ QC Story
- กระบวนการแก้ปัญหาคุณภาพแบบ QC Story 7 ขั้นตอน
การคัดเลือกหัวข้อ
การทำความเข้าใจกับสภานการณ์และตั้งเป้าหมาย
การวางแผนกิจกรรมแก้ไขปัญหา
การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
การพิจารณามาตรการตอบโต้และนำไปใช้
การยืนยันผลลัพธ์
การจัดทำมาตรฐานและกำหนดระบบควบคุมModule - 5 การพัฒนาองค์ความรู้ภายในองค์กร (Knowledge Management)
- เครื่องมือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ (QC Tools)
- เทคนิคแก้ปัญหา 5 Why, How-How, 3G & Brainstorming
- Activity II: การแก้ปัญหาคุณภาพแบบ QC Story (1)
- Activity III: การแก้ปัญหาคุณภาพแบบ QC Story (2)
- การถอดบทเรียนการแก้ปัญหาด้วย A3 Report
- องค์ประกอบ 7 ประการของ A3 Report
- A3 Report กับวงจร PDCA & QC Story
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)