หลักการและเหตุผล
องค์การจะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง “คุณภาพ” ในสินค้าและบริการมากขึ้น ต้องมีกลยุทธ์หรือวิธีการในการพัฒนาบุคลากร มีขั้นตอนสำหรับการแก้ไขปัญหาและการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง หรือเรียกอีกชื่อว่า “กระบวนการแก้ไขปัญหาแบบคิวซีสตอรี่ (QC Story)” เพื่อสร้างความพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งการพัฒนาให้ได้มาซึ่งคุณภาพตามต้องการนั้นสามารถทำโดยลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วย “บุคลากร” อันหมายถึงการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะการทำงานของพนักงาน
แนวคิดของการแก้ไขปัญหาและการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องต้องอยู่บนพื้นฐานของจิตสำนึกไคเซ็น (Kaizen Mind) ระดับกลุ่มกิจกรรมคุณภาพ (QCC) ซึ่งอาศัยกระบวนการแก้ปัญหาแบบ QC Story ดังกล่าวข้างต้น โดยใช้เครื่องมือและเทคนิคหลากหลายที่มีประสิทธิภาพ อันได้แก่
- 7 เครื่องมือคุณภาพ (7 QC Tools)
- 5 Why Technique เพื่อค้นหาและวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา (Root Cause Analysis)
- การพิสูจน์ข้อเท็จจริงด้วยหลัก 3G (Genba, , Genbutsu, Genjitsu)
- การระดมสมองเพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไข (Brainstorming)
- วงจร SDCA & PDCA แบบฉบับของเดมมิ่ง (Deming Cycle)
- การประยุกต์ใช้ตัวแบบ SIPOC กับปัญหาคุณภาพ
การแก้ปัญหาและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพระดับกลุ่ม “QCC (Quality Control Circle )” ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่มีขั้นตอนอย่างเป็นระบบ (Systematic) และตัวแบบปัญหามีความสลับซับซ้อนมากขึ้นมากกว่าไคเซ็นระดับบุคคล ดังนั้นการจัดตั้งกลุ่มกิจกรรมคุณภาพอย่างเป็นทางการ โดยการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจังจากฝ่ายบริหารจึงเป็นสิ่งจำเป็น มีการจัดองค์กรและลงทะเบียนกลุ่ม กำหนดกิจกรรมให้ความรู้ กำหนดเป็นนโยบายแก้ไขปัญหาและปรับปรุง การจัดทำรายงานและการนำเสนอผลงานอย่างเป็นทางการ และการจูงใจด้วยระบบการให้รางวัล ซึ่งทั้งหมดจะกลายเป็นวัฒนธรรมเชิงบวกสำหรับการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องขององค์กร (Organizational Culture)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมาย หลักการ และแนวคิดของการควบคุมคุณภาพ และแนวคิดของการบริหารงานสมัยใหม่
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคัดเลือกปัญหาคุณภาพได้อย่างเหมาะสมกับกลยุทธ์องค์กร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาและปรับปรุงคุณภาพแบบ QC Story ตามมาตรฐาน JUSE
- เพื่อให้ผู้เรียนฝึกแก้ปัญหาและปรับปรุงคุณภาพด้วยการใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพ (QC Tools)
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 หลักการและแนวคิดของการควบคุมคุณภาพModule - 2 แนวคิดในการคัดเลือกปัญหาคุณภาพ
- แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- คุณภาพคืออะไร (What is Quality?)
- ความหมายของคุณภาพจากปรามาจารย์ 3 ท่าน
- หลักการของการควบคุมคุณภาพ
- แนวคิดของการควบคุมคุณภาพ (เชิงเทคนิคและเชิงจัดการ)
- แนวคิดของการบริหารงานสมัยใหม่
Management = Standardization + Improvement Activity
ความเป็นระบบ (System) และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (PDCA)
Module - 3 กระบวนการแก้ปัญหาคุณภาพแบบ QC Story
- ความหมายและประเภทของปัญหา (Sporadic & Chronic Problem)
ปัญหาคุณภาพในมิติของความบกพร่อง (Defect)
ปัญหาคุณภาพในมิติของความไม่ตรงข้อกำหนด (์NC-Nonconformity)- ปัญหาการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจระดับนโยบาย
- ปัญหาระดับการจัดการงานประจำวัน
- Activity I: ค้นหาปัญหาคุณภาพในกระบวนการ
- ความสัมพันธ์ของวงจร SDCA และ PDCA
Module - 4 เครื่องมือและเทคนิคของการแก้ปัญหาด้วย QC Story
- ความหมายของการแก้ปัญหาแบบ QC Story
- กระบวนการแก้ปัญหาคุณภาพแบบ QC Story 7 ขั้นตอน
การคัดเลือกหัวข้อ
การทำความเข้าใจกับสภานการณ์และตั้งเป้าหมาย
การวางแผนกิจกรรมแก้ไขปัญหา
การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
การพิจารณามาตรการตอบโต้และนำไปใช้
การยืนยันผลลัพธ์
การจัดทำมาตรฐานและกำหนดระบบควบคุม
- เครื่องมือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ (QC Tools)
- เทคนิคแก้ปัญหา 5 Why, How-How, 3G & Brainstorming
- Activity II: การแก้ปัญหาคุณภาพแบบ QC Story (1)
- Activity III: การแก้ปัญหาคุณภาพแบบ QC Story (2)
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)