หลักการและเหตุผล
องค์การจะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน บุคลากรต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง “คุณภาพ” ของผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิต ดังนั้นองค์กรต้องมีวิธีการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้บุคลากรมีแนวทางการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ปัญหาในกระบวนการอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมเรียกว่า “กระบวนการแก้ปัญหาแบบคิวซีสตอรี่ (QC Story) ตามมาตรฐาน JUSE” ซึ่งเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่หน้างาน (Genba) อย่างเป็นขั้นตอนและมีความเป็นวิทยาศาสตร์ (Scientific Problem Solving)
ในเบื้องต้นก่อนการแก้ปัญหา ผู้ปฏิบัติงานที่หน้างานต้องเข้าใจถึงประเด็นสำคัญของคุณภาพที่ต้องการควบคุม และรับรู้ว่าใครคือลูกค้าในกระบวนการที่ได้รับผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหา นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจมิติของปัญหาคุณภาพที่ผลิตภัณฑ์ในกระบวนการกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้
- ความผิดปกติ (Abnormality) คือ ความไม่เป็นไปตามธรรมชาติของกระบวนการที่เคยเป็นมา เช่น การออกนอกพิกัดควบคุมของแผนภูมิควบคุม (Control Chart)
- ความไม่ตรงข้อกำหนด (Nonconformity) คือ ความไม่เป็นไปตามความต้องการที่ระบุของผลิตภัณฑ์ (Specified requirement)
- ความบกพร่อง (Defect) คือ ความไม่เป็นไปตามความต้องการในการใช้งานผลิตภัณฑ์ของลูกค้า (Non – Fulfillment of a usage requirement)
กระบวนการแก้ปัญหาจะเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ บุคลากรต้องระบุได้อย่างชัดเจนถึงประเภทของปัญหา (ปัญหาชั่วคราว / ปัญหาเรื้อรัง) และสามารถนิยามปัญหาในรูปอาการเป็นเชิงปริมาณและเฉพาะเจาะจง ไม่ควรนิยามปัญหาเชิงนามธรรม ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงได้ นอกจากนี้ไม่ควรนิยามปัญหาใหญ่เกินไป ควรแยกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อการหาสาเหตุที่แท้จริงในแต่ละส่วนทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งแนวคิดดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาในกระบวนการหน้างานถัดไป
เครื่องมือวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่หน้างานที่สำคัญคือ แผนผังสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) การประสบความสำเร็จในการใช้แผนผังดังกล่าว ผู้ปฏิบัติงานหน้างานและหัวหน้างานต้องเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และวิธีการใช้แผนผัง ซึ่งเราสามารถแยกประเภทของแผนผังได้ดังนี้
- แผนผังเพื่อ “การวิเคราะห์การกระจายของสาเหตุปัญหา (Dispersion Analysis)”
- แผนผังเพื่อ “การจำแนกตามกระบวนการผลิต (Process Classification)”
- แผนผังเพื่อ “การกำหนดรายการสาเหตุ (Cause Enumeration)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจมิติและประเภทของปัญหาที่ปรากฏหน้างาน โดยสามารถนิยามปัญหาที่ต้องการแก้ไขออกมาเป็นเชิงรูปธรรมและเฉพาะเจาะจงได้
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ด้วยเครื่องมือและเทคนิคแก้ปัญหา โดยผ่านกระบวนการแก้ปัญหาแบบคิวซีสตอรี่ (QC Story)
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานของการวิเคราะห์ปัญหาในกระบวนการModule - 2 เครื่องมือและเทคนิคของการแก้ปัญหาหน้างาน
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- ความหมายและประเภทของปัญหา (Sporadic & Chronic Problem)
ปัญหาคุณภาพในมิติของความบกพร่อง (Defect)
ปัญหาคุณภาพในมิติของความไม่ตรงข้อกำหนด (NC-Nonconformity)
ปัญหาคุณภาพในมิติของความผิดปกติของกระบวนการ (Abnormality)- Activity I: ค้นหาปัญหาเรื้อรัง (Chronic Problem) ในกระบวนการ
Module - 3 กระบวนการแก้ปัญหาคุณภาพแบบ QC Story
- เครื่องมือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ (QC Tools)
- แผนผังสาเหตุและผล 3 ประเภท กับเทคนิคแก้ปัญหาหน้างาน
การวิเคราะห์การกระจายของสาเหตุปัญหา (Dispersion Analysis)
การจำแนกตามกระบวนการผลิต (Process Classification)
การกำหนดรายการสาเหตุ (Cause Enumeration)เทคนิคแก้ปัญหา 5 Why, How-How & Brainstorming
ความจำเป็นของหลักการ 3G ในการแก้ปัญหา
เทคนิคการพิสูจน์ด้วยหลัก 3 จริง (Genba, Genbutsu & Genjitsu)
- มาตรการแก้ปัญหาคุณภาพและปรับปรุงกระบวนการ
การทำให้ถูกต้อง (Correction)
การปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action : C/A)
การปฏิบัติการป้องกัน (Preventive Action : P/A)
- การคัดเลือกหัวข้อ
- การทำความเข้าใจกับสภานการณ์และตั้งเป้าหมาย
- การวางแผนกิจกรรมแก้ไขปัญหา
- การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
- การพิจารณามาตรการตอบโต้และนำไปใช้
- การยืนยันผลลัพธ์
- การจัดทำมาตรฐานและกำหนดระบบควบคุม
- Activity II: การแก้ปัญหาคุณภาพแบบ QC Story (1)
- Activity III: การแก้ปัญหาคุณภาพแบบ QC Story (2)
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)