หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันสูง องค์กรต้องปรับตัวหลายๆ ด้าน เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด กลยุทธ์ที่สามารถทำได้ผลดีคือ การเพิ่มผลผลิตและการปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วยแนวคิดไคเซ็น (Kaizen) ซึ่งการทำไคเซ็นมีจุดประสงค์ให้พนักงานพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานได้ด้วยตนเอง โดยมีหลักคิดของการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น สะดวกสบายขึ้น ลดความสูญเปล่าต่าง ๆ ในกระบวนการ และสามารถสร้างวิธีการทำงานให้เป็นการทำงานที่เป็นมาตรฐาน (Act or Work Instruction)
บุคลากรทุกระดับควรมีจิตสำนึกไคเซ็นเพื่อการปรับปรุงงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง การทำไคเซ็นสามารถแบ่งระดับได้ดังนี้
- ไคเซ็นระดับบุคคล เน้นการปรับปรุงงานหรือแก้ปัญหาที่มีขอบเขตไม่ใหญ่เกินไป สามารถลงมือทำได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่ต้องคิดวิเคราะห์มาก ซึ่งพนักงานจะเกิดพฤติกรรมลักษณะนี้ได้ต้องได้รับการปลูกฝังจิตสำนึกของการพัฒนาและปรับปรุงงานอย่างเป็นรูปธรรมจากองค์กร
- ไคเซ็นระดับกลุ่มกิจกรรม QC Circle เน้นการปรับปรุงหรือแก้ปัญหางานที่มีความยากหรือซับซ้อนขึ้นและต้องใช้เครื่องมือคุณภาพทางสถิติมาช่วยแก้ไข ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและปรับปรุงงานด้วยคิวซีสตอรี่ตามมาตรฐาน JUSE ที่มีความสอดคล้องกับเครื่องมือการปรับปรุงงานที่ไม่สิ้นสุดคือ วงล้อ PDCA (Plan –Do – Check – Act) ของ Deming
การปรับปรุงงานมีเครื่องมือและเทคนิคหลายอย่าง แต่ที่มีประสิทธิภาพและนิยมใช้อย่างแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรมมีดังนี้
- แนวคิด 3G (Genba / Genbutsu / Genjitsu)
- การปรับปรุงงานด้วยเทคนิค ECRS
- การปรับปรุงงานด้วยระบบ Visual Control
- การปรับปรุงงานด้วยระบบ Poka Yoke
- ไคเซ็นแก้ปัญหาเฉพาะหน้า & แก้ปัญหาที่รากสาเหตุ
- แนวคิดไคเซ็นที่กระบวนการ (Process Kaizen)
- การปรับปรุงกระบวนการด้วยเทคนิค Logic Tree Diagram
การบริหารกิจกรรมไคเซ็นให้ประสบความสำเร็จควรมีระบบการจัดทำรายงานไคเซ็น (ระบบไคเซ็นโฮ-คก-ขุ) การแข่งขันและมอบรางวัลเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้พนักงานทำไคเซ็นมากขึ้น นอกจากนี้ผู้บริหารสามารถนำผลการปรับปรุงงานจากกิจกรรมไคเซ็นของพนักงานไปเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี (Performance Management) ได้อีกด้วย
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับปรุงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยแนวคิดไคเซ็น
- เพื่อให้ผู้เรียนมีเครื่องมือและเทคนิคในการทำไคเซ็นให้มีประสิทธิภาพ สามารถประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเองทั้งไคเซ็นระดับบุคคล และไคเซ็นระดับกลุ่มกิจกรรม QCC
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานและแนวคิดการปรับปรุงงานด้วยไคเซ็นModule - 2 เครื่องมือและเทคนิคในการทำไคเซ็นให้มีประสิทธิภาพ
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- สร้างจิตสำนึกการปรับปรุงงานด้วย “กรณีศึกษา”
- จิตสำนึกความเป็นเจ้าของกับการทำไคเซ็น (Ownership Quotient)
- ความหมายของไคเซ็นและการปรับปรุงงานด้วยวงจร PDCA
- ความแตกต่างของ “ไคเซ็น” กับ “ระบบข้อเสนอแนะ” (SS-Suggestion System)
- ระดับของไคเซ็นกับการปรับปรุงงาน
ไคเซ็นระดับบุคคล
ไคเซ็นระดับกลุ่มกิจกรรม QCC
ไคเซ็นระดับนวัตกรรม- ความแตกต่างของไคเซ็นระดับบุคคล กลุ่มกิจกรรม QCC และนวัตกรรม
- “ตัวอย่าง” รวมการเรียนรู้กิจกรรมไคเซ็น
Module - 3 การบริหารกิจกรรมไคเซ็นให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
- แนวคิด 3G (Genba / Genbutsu / Genjitsu) ก่อนทำไคเซ็น
- การปรับปรุงกระบวนการด้วยเทคนิค ECRS
ตัวอย่างการปรับปรุงด้วยเทคนิค ECRS
- การปรับปรุงกระบวนการด้วยระบบ Visual Control
ตัวอย่างการปรับปรุงด้วยระบบ Visual Control
- การปรับปรุงกระบวนการด้วยระบบ Poka Yoke
ตัวอย่างการปรับปรุงด้วยระบบ Poka Yoke
- ไคเซ็นแก้ปัญหาเฉพาะหน้า & แก้ปัญหาที่รากสาเหตุ
ตัวอย่างการปรับปรุงด้วยเทคนิค 5 Why Technique
- แนวคิดไคเซ็นที่กระบวนการ (Process Kaizen)
ตัวอย่างการปรับปรุงที่กระบวนการ
- การปรับปรุงกระบวนการด้วยเทคนิค Logic Tree Diagram
ตัวอย่างการปรับปรุงด้วยเทคนิค Logic Tree Diagram
- Activity I: กิจกรรมไคเซ็นเพื่อปรับปรุงกระบวนการ (แบบกลุ่ม)
- การทำรายงานไคเซ็น (ระบบไคเซ็นโฮ-คก-ขุ)
- การแข่งขันและมอบรางวัลเพื่อกระตุ้นกิจกรรมไคเซ็น
- ไคเซ็นกับการประเมินผลงานประจำปี (Performance Management)
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)