หลักการและเหตุผล
องค์การจะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง “คุณภาพ” ในสินค้าและบริการ ต้องมีแนวทางคาดการณ์และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ในกระบวนการ (Preventive Action : P/A) ที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหาคุณภาพหมายถึง ผลิตภัณฑ์ขาดลักษณะที่สอดคล้องกับความคาดหวังของลูกค้า ดังนั้นผลที่ตามมาคือ ลูกค้าขาดความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์เพราะผลิตภัณฑ์เกิดความไม่น่าไว้วางใจ (Reliability) การเพิ่มความไว้วางใจจึงต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการแก้ปัญหาจากเดิมใช้ “การค้นหาสาเหตุ” มาเป็น “การคาดการณ์และหาทางป้องกัน”
การคาดการณ์อาการขัดข้องที่น่าจะเกิดขึ้นและดำเนินการหาทางป้องกัน มีเทคนิคหลายประการเพื่อการเพิ่มความไว้วางใจในผลิตภัณฑ์ หนึ่งในเทคนิคที่สำคัญคือ การวิเคราะห์อาการขัดข้องและผลกระทบ (Failure Mode and Effect Analysis) หรือ FMEA ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกสำหรับโครงการอวกาศของ NASA และได้มีการขยายองค์ความรู้ไปยังอุตสาหกรรมยานยนต์โดยการนำของ Ford Motor และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ แต่ปัจจุบันปรับใช้มากขึ้นในธุรกิจบริการด้วยแนวทางการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ตามแนวทางของ FMEA
การประยุกต์ใช้แนวคิดของ FMEA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะดำเนินงานต้องมีความรู้ของกระบวนการแก้ปัญหาและการจัดการแบบข้ามสายงาน (Problem Solving Process & Cross Functional Team) พร้อมทั้งมีความเข้าใจในกระบวนการที่เป็นอยู่ ซึ่งผู้ทำงานต้องมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการวิเคราะห์หน้าที่ของกระบวนการและระบบ และความสามารถในการวิเคราะห์แนวโน้มของสาเหตุของข้อบกพร่อง ดังนั้นเครื่องมือที่จำเป็นต่อการดำเนินการ FMEA ได้แก่
- แผนผังของการไหลของกระบวนการผลิต (Flow Process Chart & Flow Diagram)
- แผนผังสาเหตุและผล (Why – Why Diagram)
- แบบฟอร์มต่าง ๆ ประกอบการสร้าง FMEA
ขั้นตอนการจัดทำ FMEA สำหรับกระบวนการ ดำเนินการแบบทีละขั้นตอน (Step by step) โดยอ้างอิงจากคู่มือของ AIAG (Automotive Industry Action Group) พร้อมกับการใช้แบบฟอร์มประกอบการสร้าง FMEA ทำให้ผู้เรียนสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นระบบ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการแก้ปัญหาคุณภาพด้วยแนวคิดของ “การคาดการณ์และหาทางป้องกัน” (Preventive Action : P/A) ซึ่งส่งผลต่อปัญหาที่มีผลต่ออันตรายและความเสี่ยง
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับประยุกต์ใช้แนวคิดของ FMEA ได้จริง ผ่านการเรียนรู้จากตัวอย่าง และลงมือปฏิบัติจริงด้วยโจทย์ฝึกฝนภายในห้องเรียน
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานและแนวคิดสำคัญต่อการพัฒนาองค์ความรู้Module - 2 ความหมายและแนวคิดของคุณภาพในกระบวนการ
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- จิตสำนึกความเป็นเจ้าของกับการพัฒนา FMEA (Ownership Quotient)
Module - 3 ความหมายและแนวความคิดของ Failure Mode and Effect Analysis
- ความหมายของคุณภาพและการประกันคุณภาพ
- ความไว้วางใจในผลิตภัณฑ์ (Reliability) และวิศวกรรมคุณภาพ
- การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการแก้ปัญหาในกระบวนการ
- มาตรการการแก้ไขปัญหาคุณภาพในกระบวนการ
การทำให้ถูกต้อง (Correction)
การปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action : C/A)
การปฏิบัติการป้องกัน (Preventive Action : P/A) ด้วยเทคนิค FMEAModule - 4 เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์หน้าที่ของกระบวนการและวิเคราะห์สาเหตุของข้อบกพร่อง
- องค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อความจำเป็นในการใช้ FMEA
- ความหมายของ FMEA ตามมาตรฐาน AIAG
- แนวคิดของการดำเนินการ FMEA อย่างมีประสิทธิภาพ
การดำเนินการโดยความเป็นทีม (Problem Solving Process & Cross Functional Team)
การดำเนินการผ่านการวิเคราะห์หน้าที่ของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
โครงสร้างของการวิเคราะห์หน้าที่ของกระบวนการ (Flow Chart)
ความรุนแรงของผลกระทบ (S – Severity) / โอกาสที่เกิดขึ้นของลักษณะข้อบกพร่อง (O- Occurrence) / ความสามารถในการตรวจจับลักษณะข้อบกพร่อง (D - Detection)
การดำเนินการด้วยหลักการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)- แนวทางการพิจารณาเลือกลักษณะข้อบกพร่องเพื่อนำมาแก้ไข (RPN / S / O / D)
- แผนภาพแสดงลำดับขั้นตอนของกระบวนการ FMEA ตามมาตรฐาน AIAG
- ขั้นตอนทั่วไปการจัดทำ FMEA และความสัมพันธ์กับวงจร PDCA
Module - 5 การประยุกต์ใช้งาน Failure Mode and Effect Analysis
- แผนผังของการไหลของกระบวนการผลิต (Flow Process Chart & Flow Diagram)
- แผนผังสาเหตุและผล (Why – Why Diagram)
- แบบฟอร์มต่าง ๆ ประกอบการสร้าง FMEA
- ลำดับขั้นตอนการสร้าง FMEA สำหรับกระบวนการ (Step by Step)
- Activity I: ตัวอย่างการวิเคราะห์อาการขัดข้องและผลกระทบ
- Activity II: โจทย์ฝึกฝนการวิเคราะห์อาการขัดข้องและผลกระทบ
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)