หลักการและเหตุผล
องค์การจะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน บุคลากรต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง “คุณภาพ” ของสินค้าในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต ซึ่งการให้ความสำคัญดังกล่าวต้องเกิดจากจิตสำนึกคุณภาพภายในบุคลากร โดยเราไม่สามารถบังคับให้จิตสำนึกคุณภาพเกิดขึ้น ด้วยการออกนโยบาย กฎระเบียบ หรือสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานแต่เพียงด้านเดียว แม้จะกระทำได้ในระดับหนึ่ง แต่จิตสำนึกคุณภาพที่แท้จริงคงเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นการปลูกฝังแนวคิดคุณภาพที่ถูกต้อง เช่น ให้เข้าใจว่าคุณภาพคืออะไร (What is Quality?) จะเกิดความสูญเสียอะไรถ้าบุคลากรละเลยคุณภาพ เป็นต้น โดยการปลูกฝังจะทำให้จิตสำนึกคุณภาพของบุคลากรถูกต้องและดีขึ้น
การพัฒนาจิตสำนึกคุณภาพ (Quality Awareness) ควรกำหนดกรอบการพัฒนาตามบทบาทและหน้าที่ เนื่องจากบุคลากรทุกคนภายในองค์กร มีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกัน แต่ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันคือร่วมผลักดันให้องค์กรมีผลกำไรอย่างยั่งยืน โดยสามารถพัฒนาจิตสำนึกคุณภาพได้จากบทบาทและหน้าที่ ตามมิติคุณภาพและหลักการควบคุมคุณภาพ ดังนี้
- คุณภาพกับการประกันคุณภาพ
- คุณภาพกับการบริหารคุณภาพ
- คุณภาพกับวิศวกรรมคุณภาพ
- คุณภาพกับการบริหารธุรกิจ
- หลักการควบคุมคุณภาพ
การพัฒนาจิตสำนึกคุณภาพ (Quality Awareness) ต้องมีเครื่องมือและเทคนิคที่เหมาะสมเป็นตัวช่วยพัฒนา ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในระดับบุคคลและกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ (QCC) โดยการพัฒนานั้นออกมาในรูปแบบของการปรับปรุงคุณภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- หลักการแก้ปัญหาโดยอาศัยข้อเท็จจริง (3G)
- การปรับปรุงคุณภาพด้วยเทคนิค ECRS
- การปรับปรุงคุณภาพด้วยระบบ Poka Yoke
- การแก้ปัญหาคุณภาพด้วยการทำให้ถูกต้อง (Correction)
- การแก้ปัญหาคุณภาพด้วยการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action: CA)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงคำว่า “คุณภาพ” ว่ามีความสำคัญอย่างไรในโลกธุรกิจที่มีการแข่งขัน
- เพื่อให้ผู้เรียนใช้บทบาทและหน้าที่ของตนเองในการพัฒนาจิตสำนึกคุณภาพ
- เพื่อให้ผู้เรียนมีเครื่องมือและเทคนิคในการปรับปรุงคุณภาพ (ระดับบุคคลและกลุ่มคุณภาพ QCC) อันนำไปสู่การส่งเสริมให้จิตสำนึกคุณภาพดีขึ้น
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานจิตสำนึกคุณภาพและความหมายคุณภาพ
Module - 2 การพัฒนาจิตสำนึกคุณภาพตามบทบาทและหน้าที่
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- กรณีศึกษา: สายการบิน JAL (อินาโมริ)
- แนวคิดความเป็นเจ้าของ (OQ) กับจิตสำนึกคุณภาพ
- คุณภาพคืออะไร (What is Quality?)
- คุณภาพในมุมมองของลูกค้า
- ความสูญเสียเมื่อพนักงานขาดจิตสำนึกคุณภาพ
Module - 3 เครื่องมือและเทคนิคของการพัฒนาจิตสำนึกคุณภาพ
- ความหมายของจิตสำนึกคุณภาพ
- บทบาทและหน้าที่ตามมิติคุณภาพ
คุณภาพกับการประกันคุณภาพ
คุณภาพกับการบริหารคุณภาพ
คุณภาพกับวิศวกรรมคุณภาพ
คุณภาพกับการบริหารธุรกิจ- บทบาทและหน้าที่ตามหลักการควบคุมคุณภาพ
- ขั้นตอนการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ
- Activity I: ทบทวนจิตสำนึกคุณภาพ
- การทำไคเซ็นระดับบุคคล
- กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC
- หลักการแก้ปัญหาโดยอาศัยข้อเท็จจริง (3G)
- การปรับปรุงคุณภาพด้วยเทคนิค ECRS
- การปรับปรุงคุณภาพด้วยระบบ Poka Yoke
- การค้นหาปัญหาชั่วคราวและเรื้อรัง
- การแก้ปัญหาคุณภาพด้วยการทำให้ถูกต้อง (Correction)
ตัวอย่างการทำให้ถูกต้อง
- การแก้ปัญหาคุณภาพด้วยการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action: CA)
ข้อกำหนด 10 ประการของการปฏิบัติการแก้ไข
- Activity II: ค้นหาปัญหาคุณภาพในกระบวนการ
- Activity III: การแก้ปัญหาคุณภาพ
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)