หลักการและเหตุผล
องค์การจะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน นอกจากการให้ความสำคัญกับ “คุณภาพ” ในสินค้าและบริการแล้ว ผู้ปฏิบัติงานควรมุ่งมั่นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการ ความมีประสิทธิภาพต้องเกิดจากการวิเคราะห์และวางแผนปรับปรุงกระบวนการ หนึ่งในกรอบแนวคิดที่สำคัญคือ “การวิเคราะห์กระบวนการด้วย ECRS” (ECRS Analysis) ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือการกำจัดความสูญปล่าที่อยู่ในกระบวนการ (Waste in Process) โดยถ้าความสูญเปล่าลดลง ความมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นทันทีโดยอัตโนมัติ และมีตัวเลขทางสถิติน่าสนใจกล่าวว่า “ความสูญเปล่าในกระบวนการของอุตสาหกรรมหนึ่งต่อปีมีประมาณ 10% - 35%” นับว่าสูงมาก ดังนั้นการบริหารจัดการ ECRS อย่างมีประสิทธิภาพย่อมส่งผลต่อต้นทุนผลิตภัณฑ์อย่างแน่นอน
การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการด้วยแนวคิด ECRS ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าใจความหมายของแต่ละตัว และต้องเข้าใจว่าแต่ละตัวมีเป้าหมายอะไรที่ต้องการจากการปรับปรุงกระบวนการ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนต่อไปคือการเลือกเครื่องมือ (Tools for ECRS) ที่เหมาะสมต่อการแก้ปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพของกระบวนการ ซึ่งเราสามารถสรุปเครื่องมือต่าง ๆ ได้ดังนี้
- การวางแผนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ (Production Planning & Control)
- การกำหนดปริมาณที่เหมาะสมของสินค้าและวัตถุดิบ (Inventory & WIP)
- การลดการเคลื่อนไหวด้วยหลักการ 5ส และหลักการยศาสตร์ (5S & Ergonomic)
- การปรับปรุงกระบวนการด้วย Flow Process Chart & Flow Diagram
- การควบคุมด้วยสายตา (Visual Control)
- การป้องกันความผิดพลาดด้วย Poka Yoke
ความสำเร็จของกิจกรรมปรับปรุงกระบวนการด้วยแนวคิด ECRS จะสำเร็จได้ต้องเกิดจากการสนับสนุนอย่างจริงจังจากฝ่ายบริหาร ผู้ปฏิบัติงานต้องมองเห็นประโยชน์จากการปรับปรุง และที่สำคัญต้องมีความต่อเนื่องของกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นหัวใจสำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพด้วย ECRS
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกที่ถูกต้องต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการ และเข้าใจเป้าหมายและความหมายของ ECRS แต่ละตัว
- เพื่อให้ผู้เรียนมีเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการ โดยอยู่ในกรอบแนวคิดของ ECRS และสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับงานของตนเอง
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 การสร้างจิตสำนึกการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการModule - 2 หลักการและเครื่องมือของการเพิ่มประสิทธิภาพด้วย ECRS
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- ทางเลือกในการเพิ่มผลกำไรในภาคธุรกิจ
- กรณีศึกษา : เพื่อปลูกจิตสำนึกการเพิ่มผลผลิต
- จิตสำนึกความเป็นเจ้าของกับการเพิ่มผลผลิต (Ownership Quotient)
Module - 3 การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการอย่างยั่งยืน
- คุณค่าของผลิตภัณฑ์ในมุมมองของลูกค้า
- แนวคิดของการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในกระบวนการ
- เป้าหมายของ ECRS กับการสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์
- การสร้างคุณค่าด้วยการกำจัดกิจกรรมที่ไม่จำเป็น (E – Eliminate)
เป้าหมาย: กำจัดความสูญเปล่าในกระบวนการ (Waste)
ประเภทของกิจกรรมที่ไม่จำเป็นต่อกระบวนการ
เครื่องมือสำหรับการกำจัดกิจกรรมที่ไม่จำเป็น- Activity I: การค้นหาและกำจัดกิจกรรมที่ไม่จำเป็น
- การสร้างคุณค่าด้วยการรวมกิจกรรมเข้าด้วยกัน (C – Combine)
เป้าหมาย: ลดสถานีที่มากเกินความจำเป็น
ข้อควรระวังในการรวมกิจกรรมเข้าด้วยกัน- การสร้างคุณค่าด้วยการจัดเรียงกิจกรรมใหม่ (R – Rearrange)
เป้าหมาย : ลดรอบเวลาปฏิบัติงาน (Cycle Time) & เพิ่ม ส.สะดวก
ข้อควรระวังในการจัดเรียงกิจกรรมใหม่
เครื่องมือสำหรับการจัดเรียงกิจกรรมใหม่Activity II: การปรับปรุงกระบวนการด้วย R - Rearrange
- การสร้างคุณค่าด้วยการทำให้การปฏิบัติงานมีความง่ายขึ้น (S – Simplify)
เป้าหมาย: ความง่ายและความถูกต้องในการปฏิบัติงาน
เครื่องมือสำหรับการทำให้การปฏิบัติงานมีความง่ายขึ้นActivity III: การทำให้การปฏิบัติงานมีความง่ายขึ้น
- หัวใจสำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพด้วย ECRS
- แนวคิด “Knowledge is not Understanding”
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)