หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันสูง องค์กรต้องปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด กลยุทธ์ที่สามารถทำได้ผลดีคือ “การลดต้นทุนด้วยการมุ่งลดความสูญเปล่าในกระบวนการ” ซึ่งความสูญปล่าสามารถเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า การทำงานใด ๆ ที่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับสินค้าและบริการ ซึ่งแนวคิดหนึ่งในการบริหารความสูญเปล่าได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ “Lean Management” โดยมีตัวเลขทางสถิติน่าสนใจได้กล่าวว่า “ความสูญเปล่าในกระบวนการของอุตสาหกรรมหนึ่งต่อปีมีประมาณ 10% - 35%” ตัวเลขดังกล่าวนับว่าสูงมาก ดังนั้นการบริหารจัดการความสูญเปล่าอย่างมีประสิทธิภาพย่อมส่งผลต่อต้นทุนรวม (Total Cost) ของสินค้าอย่างแน่นอน
หลักการ Lean Management เป็นกรอบทางความคิดการผลิตที่มุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถระบุและกำจัดความสูญเปล่า 7 ประเภท ในกระบวนการผลิตได้ (7 Wastes in Manufacturing Process) โดยความสูญเปล่าถูกจำแนกไว้เป็น 7 ประเภท ดังนี้
1.ความสูญเปล่าจากการผลิตที่มากเกินไป (Overproduction)
2.ความสูญเปล่าจากสินค้าคงคลัง (Inventory)
3.ความสูญเปล่าจากการรอคอย (Waiting)
4.ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหว (Motion)
5.ความสูญเปล่าจาการเคลื่อนย้าย (Transportation)
6.ความสูญเปล่าของผลิตภัณฑ์บกพร่อง (Defects)
7.ความสูญเปล่าจากกระบวนการมากเกินไป (Overprocessing)การลดความสูญเปล่าในกระบวนการให้ได้ผลเชิงประสิทธิภาพ ผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าใจความสูญเปล่าแต่ประเภทและสามารถระบุความสูญเปล่าได้ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนต่อไปคือการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมต่อการลดความสูญเปล่าในกระบวนการ ซึ่งเราสามารถสรุปเครื่องมือต่าง ๆ ได้ดังนี้
- การพยากรณ์ยอดขายและการวางแผนการผลิตรวม
- การจัดสมดุลสายการผลิต (Production Line Balancing)
- การวิเคราะห์และปรับปรุงการไหลของงาน
(Flow Process Chart & Flow Diagram)- การวิเคราะห์งานเพื่อวางอุปกรณ์ตามหน้าที่ปฏิบัติงาน (Functional Storage)
- การดำเนินกิจกรรม OJT และกิจกรรมกล่มคุณภาพ QCC
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความสูญเปล่าด้วยแนวคิด “Lean Management” และสามารถระบุความสูญเปล่าในกระบวน 7 ประการ (Identifying Waste) ได้อย่างถูกต้อง
- เพื่อให้ผู้เรียนมีเครื่องมือกำจัดความสูญเปล่า 7 ประเภทในกระบวนการผลิต และสามารถปรับใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานและแนวคิดการลดความสูญเปล่าในกระบวนการModule - 2 หลักการสำคัญของการลดความสูญเปล่าในกระบวนการ
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- แนวคิดการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- ทางเลือกในการเพิ่มผลกำไรในภาคธุรกิจ
- การประเมินมูลค่าความสูญเปล่าของอุตสาหกรรม
- กรณีศึกษา : สร้างจิตสำนึกในการลดความสูญเปล่า
Module - 3 เครื่องมือและเทคนิคเพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการ
- ความหมายของความสูญเปล่าในกระบวนการ
- การบริหารความสูญเปล่าด้วยแนวคิด Lean Management
- ความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต 7 ประการ
ความสูญเปล่าจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction)
ความสูญเปล่าจากสินค้าคงคลัง (Inventory)
ความสูญเปล่าจากการรอคอย (Waiting)
ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหว (Motion)
ความสูญเปล่าจากการขนส่ง (Transportation)
ความสูญเปล่าจากผลิตภัณฑ์บกพร่อง (Defects)- ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความสูญเปล่าแต่ละประเภท
- สาเหตุของความสูญเปล่าแต่ละประเภท
- Activity I: การค้นหาความสูญเปล่า 7 ประการ
Module - 4 การค้นหาและลดความสูญเปล่าอย่างยั่งยืน
- การพยากรณ์ยอดขายและการวางแผนการผลิตรวม
- การจัดสมดุลสายการผลิต (Production Line Balancing)
- การวิเคราะห์และปรับปรุงการไหลของงาน
Flow Process Chart & Flow Diagram
- การวิเคราะห์งานเพื่อวางอุปกรณ์ตามหน้าที่ปฏิบัติงาน (Functional Storage)
- การดำเนินกิจกรรม OJT และกิจกรรมกล่มคุณภาพ QCC
- Activity II: การลดความสูญเปล่าในกระบวนการ
- หัวใจสำคัญของการลดความสูญเปล่า
- แนวคิด “Knowledge is not Understanding”
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)