หลักการและเหตุผล
องค์กรในปัจจุบันต้องการให้พนักงานมี “จิตสำนึกรักองค์กร (Organization Awareness) และจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ (Ownership Quotient)” ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องปกติทั่วไปของแนวคิดดังกล่าวนี้ เพราะว่าถ้าปลูกจิตสำนึกความเป็นเจ้าของให้กับพนักงานได้นั่นย่อมหมายความว่า องค์กรนั้น ๆ มีโอกาสเติบโตได้อย่างยั่งยืน ภายในองค์กรมีความสามัคคีปรองดองกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และพนักงานรู้สึกว่าองค์กรเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเขา เปรียบเสมือนเป็นบ้านหลังที่สองของตนเอง ซึ่งต้องดูแลถนอมบ้านหลังนี้
การปลูกจิตสำนึกความเป็นเจ้าของคงไม่สามารถทำได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ออกนโยบายหรือเป็นคำสั่งของหัวหน้าแล้วให้พนักงานปฏิบัติตาม แต่สิ่งดังกล่าวต้องเกิดขึ้นจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยปัจจัยภายในนั้นเกิดจากการสร้าง “ความรักในงาน” ที่ทำอยู่ ซึ่งความรักในงานเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้พนักงานทุ่มเทแรงกายแรงใจทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ซึ่งแรงจูงใจดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้พนักงานต้องมีทัศนคติที่ถูกต้องต่องาน มองเห็นคุณค่าของงานที่ทำ และที่สำคัญที่สุดคือ การมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อตนเอง
การมองเห็นคุณค่าในงานที่ทำและตระหนักในคุณค่าของตนเอง จะก่อให้เกิดการใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ส่งผลดีต่อการพัฒนาตนเองโดยตรง พร้อมกันนี้จะต้องมองเห็นว่างานที่ทำอยู่เป็นโอกาสแห่งการพัฒนาตนเองในทุก ๆ ด้านของชีวิต มิใช่แค่เพียงพัฒนาทักษะ (Skill) ในการทำงานเท่านั้น แต่ยังสามารถพัฒนาด้านอื่น ๆ อันได้แก่ การพัฒนาความสัมพันธ์, การเสียสละ หรือความอดทน เป็นต้น ซึ่งเป็นการพัฒนาการยกระดับจิตใจ (Mind) อีกด้วย
การปลูกจิตสำนึกความเป็นเจ้าของต้องสร้างปัจจัยภายนอกให้เกิดขึ้น พนักงานจะรักและผูกพันกับองค์กรต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้นได้ ตัวของพนักงานควรมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจแก้ปัญหา และเป็นผู้รับผิดชอบผลของความคิดดังกล่าว นอกจากนี้องค์กรยังสามารถสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ โดยการพัฒนาประเด็นความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน (Employee Engagement) และการพัฒนาองค์กรด้วยทฤษฎีสองปัจจัย (Two – Factor Theory) ซึ่งใช้ได้ผลในเชิงรูปธรรมต่อการพัฒนางาน ที่สุดแล้วผลลัพธ์จากการสร้างปัจจัยภายในและภายนอกคือ “จิตสำนึกความเป็นเจ้าของ” จะเกิดขึ้นอัตโนมัติโดยไม่ต้องมีใครบังคับ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนมีแนวคิดที่ถูกต้องต่อการพัฒนาจิตสำนึกความเป็นเจ้าของในตนเอง สามารถบ่มเพาะจิตสำนึกความเป็นเจ้าของผ่านการมองเห็นคุณค่าในงาน การเพิ่มศักยภาพตนเอง และยกระดับจิตใจ
- เพื่อให้ผู้เรียนมีแนวทางพัฒนาตนเองให้มีจิตสำนึกความเป็นเจ้าของมากขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากคำสำคัญเพื่อพัฒนาจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ (Keywords to Ownership Quotient)
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ ผ่านกิจกรรมการทำงานเป็นทีม (Teamwork Activity) และสรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานของการสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของModule - 2 แนวทางการพัฒนาจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่ของสมองก่อนการเรียนรู้
- แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- สร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของด้วย “กรณีศึกษา”
- สำรวจแนวความคิดของจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ
- ความหมายของจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ (Ownership Quotient)
- ปัจจัยภายในสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ
การมองเห็นคุณค่าของงาน
การพัฒนาศักยภาพตนเอง
การพัฒนาจิตใจปัญหาคุณภาพในมิติของความบกพร่อง (Defect)- ปัจจัยภายนอกสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ
การพัฒนาองค์กรด้วยทฤษฎีสองปัจจัย (Two – Factor Theory)
การสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน (Employee Engagement)
การพัฒนาการมีส่วนร่วมของพนักงานการมองเห็นคุณค่าของงาน- Workshop I: การพัฒนาปัจจัยภายในและภายนอกของตนเอง
Module - 3 การเรียนรู้จิตสำนึกความเป็นเจ้าของผ่าน Teamwork Activity
- กับดักทางความคิดปิดกั้นการพัฒนา Ownership Quotient
- คำสำคัญ (Keywords) เพื่อการพัฒนา Ownership Quotient
เป้าหมายองค์กร (Organization Goal)
เป้าหมายตนเอง (My Goal)
ทัศนคติเชิงบวก (Positive Thinking)
ศักยภาพ (Potential)
พื้นฐานนิสัยที่ดี (Behavior)
การทำงานเป็นทีม (Teamwork)- Workshop II: การพัฒนาตนเองจากคำสำคัญ
Module - 4 การเปลี่ยนแปลงตนเองสู่ความมีจิตสำนึกความเป็นเจ้าของอย่างยั่งยืน
- Activity I: รวมพลังความคิดพิชิตเป้าหมาย
สรุปข้อคิดที่ได้จาก Activity I - กำไรและการลดต้นทุน
- Activity II: คนเวิร์ค ทีมเวิร์ค องค์กรเวิร์ค
สรุปข้อคิดที่ได้จาก Activity II - การวิเคราะห์คุณสมบัติของทีมทำงาน
บทสรุปของ Teamwork ที่มีประสิทธิภาพ
- แนวคิด “Knowledge is not Understanding”
- การให้ความสำคัญกับคำว่า “ปัจจุบัน”
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)