(Performance Appraisal and Feedback Technique)
หลักการและเหตุผล
การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal) หมายถึง กระบวนการประเมินค่าของบุคคลผู้ซึ่งปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ทั้งมิติผลงานและคุณลักษณะอื่น ๆ ที่มีคุณค่าต่อการปฏิบัติงานภายในระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน ภายใต้การสังเกต การจดบันทึก และการประเมินโดยหัวหน้างาน โดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นระบบและมีมาตรฐานเดียวกัน และมีเกณฑ์การประเมินที่มีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติ ซึ่งให้ความเป็นธรรมโดยทั่วกัน (เครดิตข้อมูล : การประเมินผลการปฏิบัติงาน - อลงกรณ์ มีสุทธา)
การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาองค์กร (OD – Organization Development) และเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารองค์กรและทรัพยากรบุคคล ซึ่งต้องมีความเชื่อมโยงกับองค์ประกอบอื่น ๆ และมีความสอดคล้อง (Relevance) กับแผนกลยุทธ์ขององค์กร เนื่องจากวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานมีหลากหลายวิธี ดังนั้นการออกแบบระบบและการเลือกวิธีประเมินผลการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสมกับลักษณะองค์กร จึงมีความสำคัญมาก โดยปกติแล้วสามารถแบ่งประเภทของการประเมินผลการปฏิบัติงานได้ดังนี้
- แบบคุณลักษณะของบุคคล (Trait Rating Based Approach)
- แบบพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (Job Performance or Behavior Based Approach)
- แบบผลสำเร็จของงาน (Result or Objective Based Approach)
- แบบผสมผสาน (Hybrid Approach)
การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) สามารถนำผลการประเมินไปใช้ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะที่ดียิ่งขึ้น (KSAA) และนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจทางการบริหาร เช่น การบริหารผลตอบแทน (Remuneration Management) หรือการบริหารสายอาชีพ (Career Management) เป็นต้น โดยการสื่อสารผลการประเมินดังกล่าว ผู้ประเมินหรือผู้จัดการต้องมีเทคนิคการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อให้ผู้ถูกประเมินได้ตระหนักรู้และเต็มใจยอมรับผลการประเมิน มีความรู้สึกที่ดี พร้อมกับปรึกษาร่วมกันในการค้นหาแนวทางต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนมีแนวความคิด (Growth Mindset) ที่ถูกต้องและเติบโตกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน อันส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันขององค์กร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจประเภทของการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบต่าง ๆ และสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับองค์กร
- เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการประเมินสำคัญและเป็นเป็นที่นิยมในปัจจุบัน (KPI and Competency) ว่ามีแนวทางในการกำหนดดัชนีวัดผลงานหลักและสมรรถนะอย่างไร
- เพื่อให้ผู้เรียนมีเทคนิคในการให้ข้อมูลป้อนกลับผลการปฏิบัติงาน (Feedback) อันนำไปสู่การปรับปรุงผลการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานของการประเมินผลการปฏิบัติงาน
Module - 2 แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- สำรวจแนวคิดการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ความหมายของการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- Growth Mindset ของผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย
- หลักการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- กรณีศึกษา: เรียนรู้การบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์
- Activity I: การวิเคราะห์แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
Module - 3 การปริหารผลการปฏิบัติงานและการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
- ประเภทของการประเมินผลการปฏิบัติงาน
แบบคุณลักษณะของบุคคล (Trait Rating Based Approach)
แบบพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (Job Performance or Behavior Based Approach)
แบบผลสำเร็จของงาน (Result or Objective Based Approach)
แบบผสมผสาน (Hybrid Approach)
ตัวอย่างเรียนรู้ในแต่ละแบบพอสังเขป- การประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยดัชนีวัดผลงานหลัก (KPI)
กระบวนการถ่ายทอดกลยุทธ์จากดัชนีวัดผลงานหลัก
แนวทางการจัดทำดัชนีวัดผลงานหลัก
ลักษณะของตัววัดผลที่ดี
หลักการสำคัญในการตั้งค่าเป้าหมาย- การประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยสมรรถนะ (Competency)
วิธีการกำหนดสมรรถนะ
ส่วนประกอบของสมรรถนะ
วิธีการประเมินสมรรถนะของพนักงาน- ส่วนประกอบสำคัญของแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ข้อควรระวังในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- Activity II: ทบทวนแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
- การบริหารผลการปฏิบัติงานกับการพัฒนาบุคลากร
- การบริหารผลการปฏิบัติงานกับการตัดสินใจทางการบริหาร
- หลักการสำคัญของการ Feedback ผลการปฏิบัติงาน
- เทคนิค 9 ข้อ ในการให้ Feedback ผลการปฏิบัติงาน
- Activity III: ทบทวนการให้ Feedback ในอดีต
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)