รายละเอียดการติดต่อเรา

รายละเอียดการติดต่อ

การบริหารผลการปฏิบัติงานด้วยแนวคิด OKRs
(Objectives and Key Results)

Download Course Content Download Brochure

หลักการและเหตุผล

Objectives and Key Results หรือเรียกว่า OKRs เป็นวิธีการหนึ่งของการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) ที่ได้รับการพัฒนาหรือมีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ยุคแรกคือการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal - PA), การบริหารโดยวัตถุประสงค์ (Management by Objectives – MBO), การวัดผลการปฏิบัติงาน (Performance Measurement) หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า Balanced Scorecard (BSC) จนถึงยุคปัจจุบันคือ OKRs ซึ่งแนวคิด OKRs ได้นำหลักการของ MBO มาใช้ โดยผู้ที่นำมาปรับใช้คือ Andy Grove (CEO of Intel) และบริษัทที่นำไปใช้จนสร้างผลงานก้องโลกคือ Google ซึ่งนำไปใช้โดย John Doerr  

OKRs เป็นการบริหารผลงานในเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเน้นในเรื่องที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กร และปรับองค์กรให้ไปในทิศทางเดียวกันและสร้างให้มีการทำงานเป็นทีม (Align and Connect for Teamwork) ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ (Objectives) ในทุกระดับอย่างสอดคล้องกันตามโครงสร้างองค์กร ดังนั้นทุกคนจะทำงานไปในทิศทางเดียวกัน และรู้ว่างานอะไรมีความสำคัญต่อความสำเร็จ ตลอดจนช่วยเพื่อนร่วมงานอย่างเต็มใจ โดยรู้ว่างานนั้นส่งผลให้ตนเองประสบความสำเร็จเช่นกัน โดยสรุปประเด็นสำคัญของการเชื่อมโยงทั่วทั้งองค์กร (Alignment) บนแนวคิด OKRs มีดังนี้

  • การวิเคราะห์และพัฒนากลยุทธ์องค์กร
  • การกำหนด OKRs ระดับองค์กร
  • การเชื่อมโยง OKRs ระดับองค์กรสู่ระดับหน่วยงาน
  • การเชื่อมโยง OKRs ระดับหน่วยงานสู่ระดับบุคคล

การขับเคลื่อน OKRs ให้ประสบความสำเร็จมีความสำคัญมาก เนื่องจาก OKRs เป็นเครื่องมือที่มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตให้กับการทำงาน (Productivity) ดังนั้นวงรอบในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน  จึงมีความแตกต่างจากในอดีตที่อาจมีการประเมินผลปีละครั้ง  โดยปกติวงจรขับเคลื่อน OKRs เริ่มต้นด้วยการทบทวน (Review), การกำหนด (Set), การปฏิบัติ (Implement), การติดตาม (Tracking) และการประเมินผล (Evaluate) และใช้ร่วมกับแนวคิด CFR (Conversation, Feedback & Recognition) ซึ่งรวมเรียกว่าการบริหารผลงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Performance Management)

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการบริหารผลการปฏิบัติงานด้วยแนวคิด OKRs อย่างถูกต้อง
  • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ (Objectives) ในทุกระดับตั้งแต่องค์กรถึงตัวบุคคล และการกำหนดผลลัพธ์หลัก (Key Results)
  • เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในการวิเคราะห์และจัดทำ Objectives and Key Results

รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร

Module - 1 พื้นฐานของการบริหารผลการปฏิบัติงาน
  • ประวัติและวิวัฒนาการของ OKRs

      ยุค 1.0 การบริหารผลงานแบบ PA
      ยุค 2.0 การบริหารผลงานแบบ MBO
      ยุค 3.0 การบริหารผลงานแบบ BSC
      ยุค 4.0 การบริหารผลงานแบบ OKRs

  • OKRs คืออะไร (What is OKRs?)
  • ความเหมือนและความต่างของ OKRs กับ KPIs
  • ปัญหาของการใช้ตัววัดผลแบบ KPIs
  • ความสำคัญและประโยชน์ของ OKRs (OKRs Superpower)
Module - 2 การออกแบบระบบ Objectives and Key Results
  • การวิเคราะห์และพัฒนากลยุทธ์องค์กร
  • การกำหนด OKRs ระดับองค์กร
  • การเชื่อมโยง OKRs ระดับองค์กรสู่ระดับหน่วยงาน
  • การเชื่อมโยง OKRs ระดับหน่วยงานสู่ระดับบุคคล
  • แนวทางการจัดทำ Key Activities ระดับบุคคล
  • ข้อกำหนดสำคัญในการจัดทำ Objective
  • ข้อกำหนดสำคัญของการสร้าง Key Results
  • ปัญหาของการนำ OKRs ไปใช้งาน
  • ตัวอย่างเรียนรู้: การจัดทำ OKRs
  • Activity I: การวิเคราะห์และจัดทำ OKRs  
Module - 3 ขั้นตอนการนำระบบ OKRs ไปใช้งาน
  • การอธิบายและทำความเข้าใจแนวคิด OKRs
  • การออกแบบระบบ OKRs ให้เชื่อมโยงกัน (Alignment)
  • การสื่อสารถึงวิธีการใช้ OKRs
  • การนำไปใช้ปฏิบัติจริง
Module - 4 การติดตามผลและประเมินผล OKRs
  • วงจรการขับเคลื่อน OKRs (OKRs Cycle)
  • การขับเคลื่อน OKRs ด้วยแนวคิด CFR 
     
    C - Conversation
      F - Feedback
      R - Recognition

เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)

 sale@bananatraining.com

 080-626-9565

ฟอร์มติดต่อ

Engine by shopup.com