รายละเอียดการติดต่อเรา

รายละเอียดการติดต่อ

เทคนิคการออกแบบระบบตัววัดผลในองค์กร (KPI)
(Key Performance Indicator Design to Practice)

Download Course Content Download Brochure

หลักการและเหตุผล

การวัดผลความสำเร็จขององค์กร ในเบื้องต้นเราคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการวัดผลทางด้านการเงินได้ (Financial) เนื่องจากธุรกิจจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ถ้าดำเนินกิจการขาดทุน ดังนั้นตัววัดผล (KPI) ในยุคแรกจึงเน้นไปทางด้านวัดความสำเร็จการเงินเป็นหลัก ต่อมาการวัดผลการปฏิบัติงานได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เกิดตัววัดผลในด้านอื่น ๆ ตามมา แต่อย่างไรก็ตามแต่ ตัววัดผลดังกล่าวจะต้องมีความสอดคล้องและสนับสนุนให้องค์กรมีผลกำไรในที่สุด  

ตัววัดผลการปฏิบัติงานหลัก (KPI: Key Performance Indicator) หมายถึง การกำหนดตัววัดผลที่เฉพาะเจาะจง (Specific) เป็นตัวเลข (Quantifiable) อันสะท้อนผลการปฏิบัติงานระดับองค์กรหรือความสำเร็จของธุรกิจ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของการกำหนด KPIs คือ เพื่อทำให้องค์กรสามารถวัดสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จองค์กร (Organization’ s Critical Success Factors) และติดตามเป้าหมายของธุรกิจที่เป็นระยะยาว (Long-Term Business Goal) – (เครดิตข้อมูล : การบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ รศ.ดร.จิรประภา อัครบวร) -  จากความหมายข้างต้นสะท้อนว่า การกำหนดตัววัดผลการปฏิบัติงาน (KPI) เป็นเรื่องสำคัญมาก และต้องเป็นตัววัดผลที่มีความสำคัญจริง ๆ  

กระบวนการออกแบบตัววัดผลการปฏิบัติงานเชิงปฏิบัติ เพื่อให้ได้ตัววัดผลสำคัญและไม่เป็นการจินตนาการขึ้นเอง กระบวนการจะต้องมีความเชื่อมโยง สอดคล้อง และสนับสนุนกันอย่างต่อเนื่อง (Cascading) โดยใช้แนวคิดของการบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Performance Management) ดังนี้

  • การทำความชัดเจนในวิสัยทัศน์ (Vision Clarification)
  • การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในภายนอก (SWOT Analysis)
  • การพัฒนากลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy)
  • การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
  • การกำหนดตัววัดผลชี้วัดความสำเร็จ
  • การถ่ายทอดกลยุทธ์ด้วยตัววัดผล (องค์กร หน่วยงาน บุคคล)
  • การตั้งค่าเป้าหมายของตัววัดผล
  • โครงการสนับสนุนให้ KPI ประสบความสำเร็จ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการออกแบบตัววัดผลการปฏิบัติงาน (Process of KPI Design) ด้วยแนวคิดการบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Performance Management)
  • เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบตัววัดผลการปฏิบัติงานที่สำคัญ (Key) โดยเรียนรู้จากตัวอย่างและฝึกออกแบบตัววัดผลจากการตั้งวัตถุประสงค์ของแผนก
  • เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ KPI Cascading Template (Excel Form) ประกอบการออกแบบตัววัดผล

รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร

Module - 1 พื้นฐานของการออกแบบตัววัดผลการปฏิบัติงาน
  • สำรวจแนวคิดการใช้ตัววัดผลขององค์กร
  • ความคิดเชิงระบบกับการออกแบบตัววัดผล
  • ความหมายของตัววัดผลการปฏิบัติงาน (KPI)
  • ความแตกต่างระหว่าง KPI กับ PI (ตัววัดผลงาน)
  • กลยุทธ์ของการออกแบบตัววัดผล
Module - 2 กระบวนการออกแบบตัววัดผลการปฏิบัติงาน
  • การออกแบบตัววัดผลภายใต้ PM Model
  • การทำความชัดเจนในวิสัยทัศน์ (Vision Clarification)
  • การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในภายนอก (SWOT Analysis)
  • การพัฒนากลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy)
  • Activity I: การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
  • แนวทางการสร้างตัวผลการปฏิบัติงาน

      จากวัตถุประสงค์หลักและปัจจัยวิกฤติ (Objective & CSF)
      จากระบบการวัดผลองค์กรแบบสมดุล (BSC)

  • เทคนิคการถ่ายทอดกลยุทธ์ด้วยตัววัดผล
      KPI ระดับองค์กร (Corporate Level)
      KPI ระดับหน่วยงาน (Dept./Team Level)
      KPI ระดับบุคคล (Individual Level)
  • ลักษณะของตัววัดผลการปฏิบัติงานที่ดี
  • เทคนิคการตั้งค่าเป้าหมายของตัววัดผล
  • โครงการสนับสนุนให้ KPI ประสบความสำเร็จ
  • แผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map) กับการเชื่อมโยง KPI
  • ตัวอย่าง: การบันทึกตัววัดผลด้วย “KPI Cascading Template” (Excel Form)
  • Activity II: ฝึกปฏิบัติออกแบบตัววัดผลการปฏิบัติงาน
Module - 3 เครื่องมือประกอบการออกแบบตัววัดผลการปฏิบัติงาน
  • KPI Cascading Template (Excel Form)
      Vision, Mission and Core Competency
      Vision Clarification
      Cascading Performance

      Strategy Map
      Performance Appraisal Review

เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)

 sale@bananatraining.com

 080-626-9565

ฟอร์มติดต่อ

Engine by shopup.com