หลักการและเหตุผล
ปัญหาคือ “การมีเป้าหมายบางอย่างที่ต้องการ แต่ในปัจจุบันยังไม่บรรลุผลสำเร็จ” หรือ “ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ตรงกับความคาดหวังหรือสิ่งที่ควรจะเป็น” โดยธรรมชาตินั้นการคิดและตัดสินใจแก้ปัญหา มีกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองและพฤติกรรมที่ใช้แก้ปัญหา เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นผ่านเข้าสู่ระบบการรับรู้ของมนุษย์ (Sensing) มนุษย์แต่ละคนจะมีวิธีจัดการกับปัญหาแตกต่างกัน ซึ่งทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการพัฒนาทักษะการคิดและตัดสินใจอย่างเป็นระบบจึงมีความสำคัญ และส่งผลให้การตัดสินใจแก้ปัญหามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
การตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยแผนผัง PDPC (Process Decision Program Chart) หรือแผนผังขั้นตอนการตัดสินใจ อยู่บนพื้นฐานว่าการบรรลุเป้าหมายอาจมีอุปสรรคขวางทาง (Obstacle) ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน ดังนั้นเทคนิค PDPC จะช่วยให้นักตัดสินใจแก้ปัญหาจินตนาการอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น เพื่อเตรียมแผนสำรองป้องกัน ซึ่งช่วยให้การตัดสินใจแก้ปัญหามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
การตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยแผนผัง PDPC (Process Decision Program Chart) หรือแผนผังขั้นตอนการตัดสินใจ อยู่บนพื้นฐานของปัญหาอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการปฏิบัติงาน (Process) ดังนั้นนักตัดสินใจแก้ปัญหาต้องสามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการไหลภายในกระบวนการว่า (Flow) มีเหตุการณ์ใดบ้างที่ไม่เป็นสาเหตุของปัญหา และมีเหตุการณ์ใดได้บ้างที่เป็นสาเหตุอันก่อให้เกิดปัญหานี้ขึ้นในกระบวนการ เพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรการแก้ปัญหาในปัจจุบันและป้องกันปัญหาในอนาคต
เครื่องมือและเทคนิคประกอบการตัดสินใจอย่างเป็นระบบด้วยแผนผัง PDPC มีดังนี้
- การระดมสมอง (Brainstorming)
- เทคนิคการตั้งคำถามทำไม 5 ครั้ง (5 Why Technique)
- แนวคิด 3 จริง (3G – Genba, Genbutsu, Genjitsu)
- การตั้งคำถามแบบ 5W+1H (Open – ended Questions)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักแผนผังขั้นตอนการตัดสินใจ (PDPC) และความคิดเชิงระบบ
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้แผนผัง PDPC (Process Decision Program Chart) 6 ขั้นตอน เพื่อวางแผนและตัดสินใจบรรลุเป้าหมาย
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้แผนผัง PDPC (Process Decision Program Chart) 4 ขั้นตอน เพื่อค้นหามาตรการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานของแผนผังขั้นตอนการตัดสินใจ (PDPC)
Module - 2 ขั้นตอนของ PDPC เพื่อวางแผนและตัดสินใจบรรลุเป้าหมาย
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- เหตุผลสำคัญที่สนับสนุนให้เกิดการคิด
- ความหมายของการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ
- ความคิดเชิงระบบกับแผนผังขั้นตอนการตัดสินใจ
- แผนผังขั้นตอนการตัดสินใจ (PDPC) 2 แบบ
แบบที่ 1: ใช้เพื่อวางแผนและตัดสินใจเพื่อบรรลุเป้าหมาย
แบบที่ 2: ใช้เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น- Activity I: กิจกรรมอุ่นเครื่องก่อนการเรียนรู้
Module - 3 ขั้นตอนของ PDPC เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น
- ขั้นตอนที่ 1: กำหนดสถานะปัจจุบันและเป้าหมาย
- ขั้นตอนที่ 2: กำหนดเส้นทางสู่เป้าหมาย
- ขั้นตอนที่ 3: จินตนาการอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น
- ขั้นตอนที่ 4: กำหนดแผนสำรอง
- ขั้นตอนที่ 5: ดำเนินตามแผนตามขั้นตอน
- ขั้นตอนที่ 6: การประเมินผลและปรับปรุงแผนผัง
- ตัวอย่างเพื่อการเรียนรู้
- Activity II: ฝึกปฏิบัติการวางแผนและตัดสินใจ
- PDPC กับวงจร PDCA (PDCA Cycle)
Module - 4 เครื่องมือและเทคนิคประกอบการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
- ขั้นตอนที่ 1: กำหนดสถานะปัจจุบันและปัญหา
- ขั้นตอนที่ 2: จินตนาการสาเหตุของปัญหา
- ขั้นตอนที่ 3: กำหนดสาเหตุที่ไม่ส่งผลกระทบ
- ขั้นตอนที่ 4: กำหนดมาตรการป้องกันปัญหา
- ตัวอย่างเพื่อการเรียนรู้
- Activity III: ฝึกปฏิบัติกำหนดมาตรการป้องกันปัญหา
- PDPC กับแผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram)
- การระดมสมอง (Brainstorming)
- เทคนิคการตั้งคำถามทำไม 5 ครั้ง (5 Why Technique)
- แนวคิด 3 จริง (3G – Genba, Genbutsu, Genjitsu)
- การตั้งคำถามแบบ 5W+1H (Open – ended Questions)
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)