(Growth Mindset & Leadership Development)
หลักการและเหตุผล
กรอบความคิดแบบพัฒนาของผู้นำ (Growth Mindset) เป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้นำอาจมี Mindset ของการทำงานที่ไม่เหมาะสม หรือเป็การทำงานแบบ Fixed Mindset โดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้การกระทำต่าง ๆ ที่แสดงออกมาตรงกันข้ามกับความคาดหวังขององค์กร ดังนั้นผู้นำควรมี Growth Mindset และเข้าใจบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้นำ เพื่อแสดงพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม หรือเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางพัฒนา ให้มีทักษะภาวะความเป็นผู้นำสูงขึ้น
ชุดความคิดหรือกรอบความคิด (Mindset) มี 2 รูปแบบ – 1) กรอบความคิดแบบตายตัว (Fixed Mindset) หมายถึงการเชื่อว่าคุณสมบัติของตนเองเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ 2) กรอบความคิดแบบพัฒนาได้ (Growth Mindset) หมายถึงการเชื่อว่าคุณสมบัติของตนเองเป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาได้ด้วยความพยายาม ถึงแม้ว่าคนเราอาจมีความแตกต่างกันในหลาย ๆ ด้าน แต่ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงและเติบโตได้ด้วยความพยายามและการเก็บเกี่ยวจากประสบการณ์ (Effort and Experience) – (เครดิตข้อมูล: หนังสือ Mindset ใช้ความคิดเอาชนะโชคชะตา)
ภาระกิจสำคัญที่สุดของผู้นำ คือการนำพาให้องค์กรอยู่รอดและเติบโต ซึ่งไม่ว่าเราจะอยู่ในตำแหน่งผู้นำระดับใดในองค์กร ย่อมมีส่วนรับผิดชอบทั้งทางตรงและทางอ้อมกับภาระกิจดังกล่าว โดยการพัฒนาทักษะภาวะความเป็นผู้นำ ด้วยแนวคิดของภาวะผู้นำ 4 ระดับ จะเป็นกรอบในการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ให้กับผู้นำ นำไปใช้พัฒนาตนเองและทีมงาน เพื่อบรรลุภาระกิจองค์กร
ผู้นำระดับที่ 1: ต้องสร้างความสัมพันธ์ ผู้นำควรเข้าใจลักษณะของคน คนในแต่ละช่วงอายุ (Generation) มีประสบการณ์ชีวิตแตกต่างกัน ส่งผลให้มีความเชื่อและวิธีคิดไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ต้องเข้าใจบุคลิกของคนผ่านการแบ่งคนแบบ “ผู้นำสี่ทิศ” โดยทั้งหมดนั้นเราเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจลูกน้อง และปฏิบัติกับลูกน้องได้อย่างถูกจริต นอกจากนี้ต้องรู้จักสื่อสารเชิงบวกเพื่อให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ผู้นำระดับที่ 2: ต้องสร้างผลงาน นอกจากผู้นำจะต้องเข้าใจที่มาของกลยุทธ์และเป้าหมายทีมงาน พร้อมทำให้ KPI บรรลุตามเป้าหมายแล้ว ผู้นำควรส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและวิธีผลักดันให้ทีมประสบความสำเร็จ
ผู้นำระดับที่ 3: ต้องสร้างการเปลี่ยนแปลง การสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อองค์กรสูง คือการสร้างให้พนักงานเกิดความผูกพันกับองค์กร (Engagement) มีงานวิจัยชี้ชัดว่าความผูกพันของพนักงาน มีผลโดยตรงต่อความสำเร็จขององค์กร
ผู้นำระดับที่ 4: ต้องพัฒนาทีมงานแบบยั่งยื่น ใช้เครื่องมือพัฒนาองค์กรแบบ สุนทรียสนทนา (Dialogue) ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยสามารถนำไปปรับใช้กับเทคนิคทบทวนประสบการณ์ AAR (After Action Review)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของผู้นำ และมีกรอบความคิดแบบพัฒนาของผู้นำ (Growth Mindset)
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้นำ
- เพื่อให้ผู้เรียนแนวทางในการพัฒนาทักษะภาวะความเป็นผู้นำ โดยใช้แนวคิดภาวะผู้นำ 4 ระดับ
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานกรอบความคิดของการพัฒนาภาวะผู้นำ (Growth Mindset)Module - 2 การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำระดับที่ 1 – สร้างความสัมพันธ์
- ทำไมต้องสนใจพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ
- บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้นำ
- ตัวอย่างประกอบการเรียนรู้ Fixed Mindset
- ตัวอย่างประกอบการเรียนรู้ Growth Mindset
Module - 3 การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำระดับที่ 2 – สร้างผลงาน
- การแบ่งคนตามยุค (Generation)
- การแบ่งลักษณะคนแบบผู้นำ 4 ทิศ
- เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์
- สื่อสารเชิงบวกให้เข้ากับบุคลิกลักษณะของบุคคล
- Killing Word VS Magic Word
- เทคนิคการให้ Feedback แบบ WRI
- Workshop I: ค้นหาปัญหาระหว่าง Generation
- Workshop II: แบ่งคนแบบผู้นำ 4 ทิศ
- Workshop III: สื่อสารด้วย Magic Word และการให้ Feedback
Module - 4 การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำระดับที่ 3 – สร้างการเปลี่ยนแปลง
- เข้าใจที่มาของกลยุทธ์และเป้าหมายทีมงาน
- การทำงานเป็นทีมและผลักดันให้ทีมประสบความสำเร็จ
- การใช้ประโยชน์ KPI ในการพัฒนาทีมงาน
Module - 5 การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำระดับที่ 4 – การพัฒนาทีมงานแบบยั่งยืน
- วัฒนธรรมความไว้วางใจและสร้างความผูกพันกับพนักงาน
- วิธีบริหารคนแบบ BBQ Plaza
- กลยุทธ์สร้างผู้มีอิทธิพล (Influencer Strategy)
- Workshop IV: ร่วมกันคิดสร้างความผูกพันธ์ในองค์กร
Module - 6 กฎเหล็กแห่งการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ
- สุนทรียสนทนา (Dialogue)
- การทำ AAR (After Action Review)
- Workshop V: ร่วมกันแก้ปัญหา “เด็กสมัยนี้”
- กฎแห่งการสะสม (The Law of Process)
- กฎแห่งการฝึกฝน (The Law of Practice)
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)