หลักการและเหตุผล
หัวหน้างานเป็นบุคลากรที่มีความสามารถ มีความรู้และทักษะในการทำงานเป็นอย่างดี แต่โดยส่วนใหญ่รู้สึกว่ามีงานที่ต้องจัดการมากมาย เพราะคิดว่ามีเพียงตนเอง (หัวหน้า) คนเดียวเท่านั้นที่สามารถทำงานชิ้นนี้ได้ แม้ว่าจะมีลูกน้องที่ดูแลอยู่ แต่มีความรู้สึกว่าไม่สามารถมอบหมายงานได้ ทำให้ได้ผลงานไม่เป็นไปตามกำหนดเวลา และเกิดผลเสียด้านอื่นๆ ตามมา
จากปัญหาข้างต้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หัวหน้างานต้องเรียนรู้ “เทคนิคการมอบหมายงานและการให้อำนาจตัดสินใจ” ที่เหมาะสม เนื่องจากการมอบหมายงานสามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับองค์กร ตลอดจนประโยชน์อื่น ๆ ดังนี้
- หัวหน้างานมีเวลาใส่ใจมากขึ้นกับงานอื่น ๆ ที่ต้องใช้ทักษะและความชำนาญเป็นพิเศษของหัวหน้า หรืองานสร้างสรรค์อื่น เช่น การแก้ปัญหางาน การพัฒนางานใหม่ หรืองานที่เกี่ยงข้องกับกลยุทธ์และนโยบายองค์กร เป็นต้น
- ทำให้บรรลุเป้าหมายของงานได้ไวขึ้น เพราะได้รับความร่วมมือจากคนในทีม
- ได้พัฒนาทักษะและความรู้ใหม่ให้กับลูกน้อง
- ได้เพิ่มแรงจูงใจในการทำงานให้กับลูกน้อง เนื่องจากการมอบหมายงานใหม่ นับได้ว่าเป็นผลงานที่สร้างมูลค่าให้กับตัวลูกน้อง
- สร้างความไว้วางใจระหว่างหัวหน้าและลูกน้องมากขึ้น
- สามารถใช้เป็นเครื่องมือประเมินศักยภาพลูกน้อง และเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเลื่อนตำแหน่งลูกน้องอีกทางหนึ่งด้วย
การมอบหมายงานเป็นสิ่งที่หัวหน้างานควรปฏิบัติ แต่อาจมีหลุมพรางทางความคิดบางอย่าง ที่ทำให้หัวหน้ายังไม่กล้ามอบหมายงานให้กับลูกน้องมากขึ้น เช่น
- ทำเองเร็วกว่าและดีกว่า
- ไม่มั่นใจในตัวลูกน้อง
- เสียเวลาในการมาสอน บอกรายละเอียด และยังต้องติดตามการทำงานอีก
- สุดท้ายแล้วลูกน้องไม่ยอมตัดสินใจ ต้องให้เราตัดสินใจทุกครั้ง
หลุมพรางทางความคิดดังกล่าว อาจส่งผลให้การมอบหมายงานไม่ได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องและจริงจัง ดังนั้นหัวหน้างานต้องมีกรอบความคิด (Mindset) และหลักการพื้นฐานที่ถูกต้องเกี่ยวกับการมอบหมายงาน ตลอดจนเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว จึงเกิดผลดีต่อการมอบหมายงาน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้หัวหน้างานเข้าใจกรอบความคิด (Mindset) และหลักการของการมอบหมายงาน
- เพื่อให้หัวหน้างานเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการมอบหมายงาน
- เพื่อให้หัวหน้างานมีแนวทาง ขั้นตอนการมอบหมายงาน และเทคนิคการมอบอำนาจตัดสินใจ สามารถนำไปปรับใช้ได้ด้วยตนเอง
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 หลักการพื้นฐานของการมอบหมายงานModule - 2 หลุมพรางทางความคิดของการมอบหมายงาน
- แบบทดสอบความเข้าใจการมอบหมายงาน
- ภาวะผู้นำ 5 ระดับกับการมอบหมายงาน
- ความหมายของการมอบหมายงาน
- สำรวจแนวความคิดของการมอบหมายงาน
- วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการมอบหมายงาน
- หลักการมอบหมายงานอย่างมีประสิทธิผล
- Workshop I: ฝึกกำหนดลักษณะงานที่มอบหมาย
Module - 3 แนวทางการมอบหมายงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ตัวอย่างหลุมพรางทางความคิด
- เทคนิคการเอาชนะหลุมพรางทางความคิด
- Workshop II: การเอาชนะหลุมพรางทางความคิด
Module - 4 แนวคิดของการมอบหมายงานอย่างยั่งยืน
- สร้าง Growth mindset การมอบหมายงาน
- แนวทางการคัดเลือกลูกน้องเพื่อมอบหมายงาน
- การเลือกวิธีการมอบหมายงาน
มอบหมายงานเป็นชิ้น
มอบหมายงานเป็นโครงการ
มอบหมายงานเป็นหน้าที่- การชี้แจงวัตถุประสงค์และความคาดหวัง
- การอธิบายรายละเอียดของงาน
- เทคนิคการมอบอำนาจตัดสินใจให้ลูกน้อง
- เทคนิคการติดตามความคืบหน้าของงาน
- เครื่องมือสำหรับการมอบหมายงาน
รายการตรวจสอบทักษะการมอบหมายงาน
แบบฟอร์มเตรียมความพร้อมการมอบหมายงาน
แบบฟอร์มวิเคราะห์งานที่มอบหมาย
แบบฟอร์มติดตามความคืบหน้างาน- กรณีศึกษา: ช่วยแก้ปัญหาให้ผมหน่อยครับ
- Workshop III: ฝึกปฏิบัติการมอบหมายงาน
- กฎแห่งการฝึกฝน (The Law of Practice)
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณบุษกร สุขโรดม (ผู้จัดการฝ่ายขาย)