COURSE CONTENT | PUBLIC CALENDAR | APPLY NOW
วันที่ 18 มีนาคม หรือ 16 กันยายน 2562 | Arize Hotel สุขุมวิท 26 (BTS พร้อมพงษ์)
หลักการและเหตุผล
องค์การจะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง “คุณภาพ” ในสินค้าและบริการ ต้องมีกลยุทธ์หรือวิธีการในการพัฒนาบุคลากร มีขั้นตอนสำหรับการแก้ไขปัญหา และการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง หรือเรียกอีกชื่อว่า “กระบวนการแก้ไขปัญหาแบบคิวซีสตอรี่ (QC Story)” เพื่อสร้างความพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งการพัฒนาให้ได้มาซึ่งคุณภาพนั้นสามารถทำได้โดยการลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วย “บุคลากร” อันหมายถึงการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะการทำงานของพนักงาน
กระบวนการแก้ไขปัญหาคุณภาพแบบคิวซีสตอรี่ (QC Story) มีขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และมีเหตุมีผล ในปัจจุบันนี้พบว่ามีแนวทางการแก้ปัญหาเกิดขึ้นหลายค่าย อุตสาหกรรมของประเทศไทยมีการใช้ตามความเหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์กร อย่างไรก็ตาม วิธีการของแต่ละค่ายมีขั้นตอนต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะมีความใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันเล็กน้อยในบางประเด็น สามารถแยกประเภทของกระบวนการแก้ปัญหาได้ดังนี้
- ตัวแบบ DISC ของ JURAN
- กระบวนการแก้ปัญหาที่สมเหตุสมผลของ Kepner – Tregoe
- วิธีการแก้ปัญหาแบบ Six Sigma ของ MOTOROLA
- คิวซีสตอรี่ของ JSA – ระบบบริหาร TQM
- คิวซีสตอรี่ของ JUSE - กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QC Circle
การบริหารคุณภาพด้วยวงจร PDCA (Deming Cycle) นับว่าเป็นกระบวนการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง หรือเรียกว่า Continuous Improvement ซึ่งมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับกระบวนการแก้ปัญหาคิวซีสตอรี่ของ JUSE (Japanese Union of Scientists and Engineers) อย่างเหมาะสมและลงตัว ทำให้ผู้เรียนเข้าใจและมีรูปแบบที่คุ้นเคยต่อการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยอาศัย “เครื่องมือคุณภาพอันทรงพลัง 7 ชนิด (7 QC Tools)” นำมาเรียงร้อยและประยุกต์ใช้เครื่องมือเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพ พร้อมกับสร้าง (แก้ไข) มาตรฐานการปฏิบัติงานใหม่ (ACT) ตามวิถีหรือแนวทางการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่มีที่สิ้นสุดของวงล้อคุณภาพ PDCA
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและตระหนักถึงคำว่า “คุณภาพ” ในมิติต่าง ๆ และหลักการของการควบคุมคุณภาพ (Quality Control Principle)
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงคุณภาพ (QC Story) ตามมาตรฐาน JUSE โดยผ่านการฝึกแก้ปัญหาโจทย์ที่ออกแบบมาในลักษณะการเชื่อมโยงเครื่องมือ
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพ (7 QC Tools) ได้จริง
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานและแนวคิดของการเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพModule - 2 ความหมายและแนวความคิดของคุณภาพ
- แนวคิดของการปรับสู่องค์กรแห่งคุณภาพ (Quality Organization)
- แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- จิตสำนึกความเป็นเจ้าของกับการปรับปรุงคุณภาพ (Ownership Quotient)
- ความหมายของการเพิ่มผลผลิต (Productivity)
- องค์ประกอบที่สำคัญของการเพิ่มผลผลิต (PQCDSMEE)
- ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI) กับมาตรฐาน PQCDSMEE
- Activity I: ทบทวนนโยบายคุณภาพและดัชนีชี้วัดความสำเร็จ
Module - 3 กรอบทางความคิดของขั้นตอนแก้ปัญหาด้วย QC Story
- ความหมายของคุณภาพและคุณภาพตามมิติต่าง ๆ
- ความหมายของการควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
- แนวความคิดของการควบคุมคุณภาพ (เชิงเทคนิคและเชิงจัดการ)
- หลักการของการควบคุมคุณภาพ (Quality Control Principle)
- แนวคิดของการบริหารงานสมัยใหม่
- Management = Standardization + Improvement Activity
- ความเป็นระบบ (System) และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement - PDCA)
Module - 4 เครื่องมือและเทคนิคสำหรับการแก้ปัญหาด้วย QC Story
- วงจร SDCA และวงจร PDCA (Deming Cycle) กับการแก้ปัญหาคุณภาพ
- ความหมายและประเภทของปัญหา (Sporadic & Chronic Problem)
- ปัญหาคุณภาพในมิติของความบกพร่อง (Defect)
- ปัญหาคุณภาพในมิติของความไม่ตรงตามข้อกำหนด (NC-Nonconformity)
- การปรับปรุงคุณภาพอย่างเป็นระบบด้วย QC Story ตามมาตรฐาน JUSE
- การคัดเลือกหัวข้อ (Select Topic)
- การทำความเข้าใจกับสภานการณ์ (Understanding Situation) และตั้งเป้าหมาย (Set Target)
- การวางแผนกิจกรรมแก้ไขปัญหา (Plan Activities)
- การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (Analyze Causes)
- การพิจารณามาตรการตอบโต้และนำไปใช้ (Consider and Implement Countermeasure)
- การยืนยันผลลัพธ์ (Check Results)
- การจัดทำมาตรฐานและกำหนดระบบควบคุม (Standardization and Control System)
- เครื่องมือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ (QC Tools)
- เทคนิคแก้ปัญหาด้วย 5 Why, 3G & Brainstorming Technique
- Activity II: โจทย์ประยุกต์การแก้ปัญหาด้วย QC Story
- Activity III: แก้ปัญหาคุณภาพของผู้เรียนด้วย QC Story
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณอ้อย (ฝ่ายดูแล Public Training)
02 กุมภาพันธ์ 2562
ผู้ชม 17534 ครั้ง