COURSE CONTENT | PUBLIC CALENDAR | APPLY NOW
วันที่ 4 มีนาคม หรือ 9 กันยายน 2562 | Arize Hotel สุขุมวิท 26 (BTS พร้อมพงษ์)
หลักการและเหตุผล
ปัญหาคือ “ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและไม่ตรงกับความคาดหวังหรือสิ่งที่ควรจะเป็น” การแก้ปัญหาเป็นกระบวนการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง (การคิด) และพฤติกรรมที่ใช้แก้ปัญหา เมื่อมีปัญหาผ่านเข้ามาสู่ระบบการรับรู้ของมนุษย์ (Sensing) มนุษย์แต่ละคนมีวิธีการจัดการกับปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งส่งผลให้เกิดการสะสมเป็นประสบการณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละคน ดังนั้นการให้ความสำคัญกับแต่ละปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Experience) ในการแก้ปัญหาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก
หนึ่งในการคิดแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพคือ “การคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking)” เนื่องจากเหตุผล 9 ข้อ ดังนี้
- การคิดเชิงตรรกะให้ความสำคัญกับการมองภาพรวมของปัญหา (Big Picture)
- การคิดเชิงตรรกะมุ่งเน้นการกำหนด Framework ในการแก้ปัญหา
- การคิดเชิงตรรกะมีการกำหนดเป้าหมายที่ต้องการบรรลุอย่างชัดเจน (Goal)
- การคิดเชิงตรรกะแสดงลำดับขั้นตอนของความเป็นเหตุและผล (Cause and Effect)
- การคิดเชิงตรรกะวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อหาทางป้องกัน
- การคิดเชิงตรรกะประเมินอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นเพื่อหาทางหลีกเลี่ยง
- การคิดเชิงตรรกะหลีกเลี่ยงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
- การคิดเชิงตรรกะเน้นการจัดลำดับแก้ปัญหากับสิ่งที่ให้ผลผลัพธ์สูง
- การคิดเชิงตรรกะเน้นการแสวงหาความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา
การคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking) ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์หาเหตุผลแท้จริงของความสำเร็จและล้มเหลว แสดงลำดับขั้นตอนของเรื่องราวอย่างชัดเจน และอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหาในทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด อาจกล่าวได้ว่าการคิดเชิงตรรกะคือ “การตัดสินใจแบบมีเหตุผลรองรับ” ดังนั้นความคิดเชิงตรรกะถือว่าเป็นกระบวนการสร้างนิสัยการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ การตัดสินใจใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ และหลีกเลี่ยงการคิดแก้ปัญหาที่ยึดติดกับกรอบความคิดเดิม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการทำงานของสมองและพฤติกรรมแก้ปัญหาโดยธรรมชาติของมนุษย์ และความสำคัญของ Logical Thinking
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเสริมสร้าง Logical Thinking ของตนเองให้สูงขึ้นด้วยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาปัจจัย 6 ประการ
- เพื่อให้ผู้เรียนมีกระบวนการแก้ปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบของ Logical Thinking โดยเรียนรู้ความสำคัญและประโยชน์ของการใช้ Framework and Technique ในการแก้ปัญหา
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานการคิดเชิงตรรกะและการแก้ปัญหาเชิงระบบModule - 2 ปัจจัย 6 ประการส่งเสริมการสร้างการคิดเชิงตรรกะ
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- กระบวนการทำความเข้าใจปรากฏการณ์
- หลักการสำคัญของการแก้ปัญหาเชิงระบบ
- ความหมายของการคิดเชิงตรรกะ
- ทำไมต้องเรียนรู้ความคิดเชิงตรรกะ
- ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของความคิดเชิงตรรกะ
- Activity I: สำรวจปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของตนเอง
Module - 3 การคิดเชิงตรรกะและแก้ปัญหาด้วย Framework and Technique
- ฝึกก้าวข้ามอุปสรรคของตนเอง
- ความแตกต่างระหว่างวัตถุประสงค์และวิธีการ
- การฝึกค้นหาสาเหตุที่แท้จริง
- การมองภาพใหญ่ก่อนแก้ปัญหา (Big Picture)
- การขยายกรอบความคิดให้ใหญ่ขึ้น
- แนวคิดการจัดการข้อมูลด้วย Keyword และการจัดกลุ่ม
- กระบวนการแก้ปัญหาและตัดสินใจ
- ความสำคัญและประโยชน์ของ Framework
- Framework แบบการวิเคราะห์ปัญหา
- Framework แบบการจัดระเบียบข้อมูล
- Framework แบบค้นหาแนวทางการแก้ปัญหา
- Framework แบบแสดงความสัมพันธ์
- Framework แบบเพื่อการตัดสินใจ
- Main Technique ของทุก Framework
สภาพการณ์ที่ไม่มีการตกหล่นหรือความซ้ำซ้อน (MECE - Mutually Exclusive Collectively Exhaustive)
Option Thinking and Brainstorming
การจัดลำดับสิ่งที่ให้ผลลัพธ์สูง (Priority – ABC Concept)Module - 4 การพัฒนานิสัยการคิดเชิงตรรกะอย่างยั่งยืน
- Technique ของแต่ละ Framework
- ตัวอย่างเพื่อเรียนรู้การแก้ปัญหา Framework and Technique
- Activity II: การแก้ปัญหาด้วยความคิดเชิงตรรกะ
- แนวคิด “Knowledge is not Understanding”
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณอ้อย (ฝ่ายดูแล Public Training)
02 กุมภาพันธ์ 2562
ผู้ชม 128859 ครั้ง