COURSE CONTENT | PUBLIC CALENDAR | APPLY NOW
วันที่ 24 มิถุนายน หรือ 23 ธันวาคม 2562 | Arize Hotel สุขุมวิท 26 (BTS พร้อมพงษ์)
หลักการและเหตุผล
องค์การจะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง “คุณภาพ” ในผลิตภัณฑ์สูงขึ้น ต้องมีกลยุทธ์หรือวิธีการในการพัฒนาบุคลากร ต้องมีขั้นตอนการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างเป็นรูปธรรม หรือมีลักษณะของการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic Problem Solving) ซึ่งทั้งหมดมีวัตถุประสงค์เพื่อ “ลดต้นทุนในกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์” โดยแนวทางที่นิยมใช้มากในอุตสาหกรรมคือ “การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วยวงจร PDCA” หรือที่เราคุ้นเคยในชื่อ “วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle)”
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วยวงจร PDCA เป็นกระบวนการของการเชื่อมต่อกิจกรรม ที่คำนึงถึง “สิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิมเสมอ” ด้วยการใช้กิจกรรมการแก้ปัญหาเพื่อปรับปรุงคุณภาพ (Improvement Activity) มาเป็นตัวขับเคลื่อนวงจร และวงจร PDCA ยังเป็นส่วนหนึ่งของแนวความคิดของการบริหารงานสมัยใหม่ ที่มีวัตถุประสงค์ให้แต่ละแผนกปฏิบัติงานด้วย “มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standardization)” ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การปฏิบัติงานมีความเป็นระบบ (System) มากขึ้น ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาคุณภาพขึ้นในกระบวนการ การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาจึงสามารถใช้รูปแบบ วิธีการ หรือขั้นตอนแก้ปัญหาที่มีความเหมือนกันกับบริบทของปัญหาที่เปลี่ยนไป
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วยวงจร PDCA มีองค์ประกอบและขั้นตอนดังนี้
- Plan (การวางแผน) มีรายละเอียดดังนี้
- การนิยามปัญหา – เพื่อการเลือกปัญหาและระบุปัญหาให้ชัดเจน
- การวิเคราะห์ปัญหาและตั้งเป้าหมาย – เพื่อกำหนดขอบเขตและตั้งเป้าหมายของการแก้ปัญหา
- การวิเคราะห์สาเหตุ – เพื่อค้นหารากสาเหตุที่แท้จริง (Root Cause Analysis)
- การกำหนดมาตรการแก้ไข - เพื่อค้นหาแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุด
- Do (การลงมือปฏิบัติ) – 5. การนำมาตรการแก้ไขไปใช้
- Check (การตรวจสอบ) – 6. การตรวจสอบเพื่อยืนยันผลลัพธ์
- ACT (การปฏิบัติการแก้ไข) – 7. การป้องกันการเกิดซ้ำของปัญหาด้วยการปรับมาตรฐาน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของการลดต้นทุนและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในมิติของวงจร PDCA
- เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการบริหารงานสมัยใหม่ อันประกอบไปด้วยมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standardization) และกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Improvement Activity)
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคนิคของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง PDCA ด้วยการเรียนรู้จากการแก้ปัญหาที่มอบหมายให้ภายในชั้นเรียน
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 พื้นฐานและแนวคิดการปรับปรุงคุณภาพ (PQC Mindset)Module - 2 พื้นฐานการควบคุมคุณภาพและปรับปรุงคุณภาพ
- กิจกรรมปรับคลื่นความถี่สมองก่อนการเรียนรู้
- แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
- กรณีศึกษา: เรียนรู้จิตสำนึกการลดต้นทุน
- จิตสำนึกความเป็นเจ้าของกับการปรับปรุงคุณภาพ (Ownership Quotient)
- เครื่องมือและเทคนิคเพื่อการลดต้นทุนการผลิต
- แนวคิดของการบริหารงานสมัยใหม่
Management = Standardization + Improvement Activity
หลักการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement - PDCA)
หลักการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic Problem Solving)
- ความหมายของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- การควบคุมคุณภาพของกระบวนการด้วยวงจร SDCA
- ความหมายและประเภทของปัญหา (Sporadic & Chronic Problem)
ปัญหาคุณภาพในมิติของความบกพร่อง (Defect)
ปัญหาคุณภาพในมิติของความไม่ตรงตามข้อกำหนด (NC-Nonconformity)
- การวิเคราะห์ต้นทุนของปัญหาคุณภาพด้วยแนวคิดเศรษศาสตร์
- การปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการด้วยวงจร PDCA
- ความสัมพันธ์ของวงจร SDCA และวงจร PDCA
- Activity I: ค้นหาปัญหาเรื้อรัง (Chronic Problem) ในกระบวนการ
Module - 3 เครื่องมือและเทคนิคของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- มาตรการแก้ปัญหาคุณภาพและปรับปรุงกระบวนการ
- ขั้นตอนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของวงจร PDCA
Plan (การวางแผน)
- การนิยามปัญหา
- การวิเคราะห์ปัญหาและตั้งเป้าหมาย
- การวิเคราะห์สาเหตุ
- กำหนดมาตรการแก้ไข
Do (การลงมือปฏิบัติ) – 5. การนำมาตรการแก้ไขไปใช้
Check (การตรวจสอบ) – 6. การตรวจสอบเพื่อยืนยันผลลัพธ์
ACT (การปฏิบัติการแก้ไข) – 7. การป้องกันการเกิดซ้ำของปัญหาด้วยการปรับมาตรฐาน
- เครื่องมือประกอบการปรับปรุงคุณภาพของวงจร PDCA
- Activity II: เรียนรู้ขั้นตอนการปรับปรุง PDCA ด้วยปัญหาที่กำหนดให้
เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณอ้อย (ฝ่ายดูแล Public Training)
02 กุมภาพันธ์ 2562
ผู้ชม 22829 ครั้ง